โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ชีวิตเปลี่ยน
ชื่อโครงการ | โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ชีวิตเปลี่ยน |
รหัสโครงการ | 68-L8281-2-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่ม อสม.ตำบลสุคิริน |
วันที่อนุมัติ | 21 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 27,320.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางกรณัท สายแวว |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอายิ หะมาดุลลาห์ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน | 80.00 | ||
2 | ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง | 80.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชาชนไทยทั้งในแง่ภาระโรค และอัตราการเสียชีวิตอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (30 - 69 ปี) จากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคเบาหวาน, ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึง ปี พ.ศ. 2559 หลังจากนั้น มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยและคงที่ในปีพ.ศ. 2561 โดยโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงที่สุดเท่ากับ 44.3 รายต่อประชากรแสนคน และอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคหลอดเลือดสมองในผู้ชายสูงกว่าเพศหญิง (กรมควบคุมโรค, 2562) สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว มักเกิดจาก“กรรมพันธุ์และพฤติกรรม” เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยและผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่างๆ ซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเช่นคนปกติโดยปราศจากโรคแทรกซ้อน กลุ่ม อสม.ตำบลสุคิรินได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว และได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริม ป้องกัน และควบคุมโรค โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อสอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่ที่ดีขึ้นจึงได้จัดทำโครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ "รู้ตน ลดเสี่ยง เลี่ยงโรค" ตามหลัก 3อ2ส เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ทักษะในการจัดการตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดการเกิดโรคเรื้อรังได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง |
80.00 | 100.00 |
2 | เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง |
80.00 | 100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 27,320.00 | 1 | 11,220.00 | |
10 มี.ค. 68 | คัดกรองกลุ่มเสี่ยงเบื้องต้นโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. | 0 | 11,220.00 | ✔ | 11,220.00 | |
20 มี.ค. 68 | ให้ความรู้เรื่อง ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานและเรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2ส | 0 | 6,800.00 | - | ||
1 เม.ย. 68 | ประกวดปิ่นโตสุขภาพ | 0 | 4,300.00 | - | ||
1 - 31 พ.ค. 68 | ติดตามประเมินผล ครั้งที่ 1 เดือน พฤษภาคม 2568 | 0 | 2,500.00 | - | ||
1 - 31 ส.ค. 68 | ติดตามประเมินผลครั้งที่ 2 เดือน สิงหาคม2568 | 0 | 2,500.00 | - |
- ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้และทักษะในการจัดการภาวะสุขภาพตนเอง
- กลุ่มเสี่ยงรายใหม่ ไม่เกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้องและเข้าถึงบริการได้ตามเวลาที่กำหนด
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2567 00:00 น.