โครงการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อแบบเรื้อรังของผู้ที่ประกอบอาชีพ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อแบบเรื้อรังของผู้ที่ประกอบอาชีพ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 58-L5303-2-6 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 ต.เจ๊ะบิลัง |
วันที่อนุมัติ | 30 ตุลาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 ต.เจ๊ะบิลัง |
พี่เลี้ยงโครงการ | กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เจ๊ะบิลัง |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.687,99.965place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ต.ค. 2567 | 30 ก.ย. 2568 | 20,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 20,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประชากรกว่า 1.5 พันล้านคนทั่วโลกต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
เป็นปัญหาสุขภาพต่อผู้ป่วย สำหรับประเทศไทยมีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อจากรายงานผู้ป่วยนอกพบสถิติการเจ็บป่วยเท่ากับ เท่ากับ 309.06 ต่อพันคน สูงเป็นลำดับที่ 3 ของสาเหตุการเจ็บป่วย ตำแหน่งที่มีอาการปวดมากที่สุด คือ หลัง คอ บ่า และไหล่ และพบมากในกลุ่มอายุระหว่าง 20 – 60 ปี ซึ่งเป็นวัยทำงานซึ่งเป็นกำลังสำคัญหลักในการพัฒนาประเทศ และพบว่าประชากรโดยทั่วไป ประมาณร้อยละ 30 % มีอาการปวดที่มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อ เป็นอาการปวดที่พบได้ในชีวิตประจำวัน ในการทำงานทำกิจกรรมต่าง ๆอาการปวดจากกล้ามเนื้อ จะมีลักษณะได้หลายแบบ เช่น ปวดมากจนขยับร่างกายส่วนนั้น ๆ ไม่ได้เลย ปวดหนักๆ ปวดเสียว ปวดเมื่อยล้าง่าย ปวดตึงเมื่อเอื้อมแขนหรือยกแขนในบางอิริยาบถ ปวดเมื่อเอี้ยวตัว เช่น เอื้อมหยิบของที่อยู่สูง เอี้ยวหยิบของไกลตัว เป็นต้น อาการปวดดังกล่าวอาจไม่ได้เกิดตลอดเวลา อาจเกิดบางครั้งบางคราว เป็นๆ หายๆ ปวดเวลาใดก็ได้ เช่น เช้าตื่นขึ้นรู้สึกตึงขยับลำบาก หรือเมื่อยล้ามากในช่วงเย็นในบางคนอาจมีอาการชายิบ ๆ บริเวณที่ปวดร่วมด้วย จนทำให้กลัวว่าจะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคและอันตรายต่างๆ ของประชาชน
จากการสำรวจข้อมูลการประกอบอาชีพ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น จำนวน 720 ครัวเรือน พบว่าโดยส่วนใหญ่ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน มักประกอบอาชีพ ประมงพื้นบ้าน ทำสวนยางพารา อาชีพทำขนม และรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 70.20 อาชีพดังกล่าวนี้มีความเสียงที่จะเกิดโรคอันตรายหรืออุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพและสภาพแวดล้อมจากการทำงานที่ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะโรคจากระบบกล้ามเนื้อ ซึ่งบางครั้งทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน จนต้องหาชื้อยาหรือเข้ารับการรักษา และเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งบางครั้งประชาชนมีการรับประทานยาแก้ปวด แก้อักเสบ และการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ และจากข้อมูลการมารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง ปีงบประมาณ 2564-2566 พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เข้ารับจากโรคระบบกล้ามเนื้อสูงเป็นอันดับต้นๆของโรคทั่วๆไป โดยมีอัตราการเข้ามารับบริการร้อยละ 35.15,41.04,46.28 ตามลำดับ จากข้อมูลดังกล่าวหากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม
ในการนี้ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านกาลันยีตัน ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ได้เล็งเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวังป้องกันโรคและและอาการปวดกล้ามเนื้อจากการประกอบอาชีพ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคและอันตรายต่อสุขภาพและส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และทักษะในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพในการประกอบอาชีพ และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสม ถูกต้อง จึงได้จัดทำโครงการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อแบบเรื้อรังของผู้ที่ประกอบอาชีพ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ ๒๕68 โดยมีกิจกรรมอบรมให้ความรู้การใช้ท่าทางที่เหมาะสม ที่ช่วยลดอาการปวดเมื่อย การประเมินความเสี่ยง และฝึกปฏิบัติตนในการเฝ้าระวังป้องกันโรคและอาการปวดเมื่อย การออกกำลังกายยืดเหยียด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและการเกิดโรคและอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และทักษะในการดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย ที่เข้ารับการอบรม อย่างน้อยละ 80 |
||
2 | ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนานวัตกรรมสุขภาพในชุมชน มีนวัตกรรม เช่น ยางยืดเหยียดกล้ามเนื้อ |
||
3 | เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อ 1.ผลการประเมินสุขภาพผู้ประกอบอาชีพ 2.ชมรมการออกกลำกายในชุมชน |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 70 | 20,000.00 | 0 | 0.00 | 20,000.00 | |
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้เรื่องโรค | 70 | 20,000.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 70 | 20,000.00 | 0 | 0.00 | 20,000.00 |
หลังจากดำเนินโครงการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อแบบเรื้อรังของผู้ที่ประกอบอาชีพ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประจำปีงบประมาณ ๒๕68 ทำให้ชุมชนมีความรู้และทักษะในการเฝ้าระวังป้องกันโรคและอาการปวดกล้ามเนื้อจากการประกอบอาชีพ ประชาชนในชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อ มีการใช้ท่าทางการในการประกอบอาชีพที่เหมาะสม ลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยจากโรคและอาการกล้ามเนื้ออักเสบและมีสุขภาพที่ดีต่อไป
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2567 11:00 น.