โครงการดูแลเสริมสร้างสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ ตำบลเจ๊ะบิลัง ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการดูแลเสริมสร้างสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ ตำบลเจ๊ะบิลัง ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 58-L5303-2-7 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 ต.เจ๊ะบิลัง |
วันที่อนุมัติ | 30 ตุลาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 25 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 13,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 ต.เจ๊ะบิลัง |
พี่เลี้ยงโครงการ | กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เจ๊ะบิลัง |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.687,99.965place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 25 ต.ค. 2567 | 30 ก.ย. 2568 | 13,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 13,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ผู้สูงอายุนับเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมไทยที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ จำเป็นต้องให้ความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ สุขภาพช่องปากถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญกับสุขภาพทางด้านร่างกาย อาทิ การสูญเสียฟันจำนวนมากจะลดประสิทธิภาพการเคี้ยวอาหาร ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร การดำเนินชีวิตประจำวันและสุขภาพจิต เป็นต้น ดังกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ความว่า “เวลาไม่มีฟันกินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุขจิตใจก็ไม่สบายร่างกาย
ทำให้ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวลดลงอย่างชัดเจน แม้ว่ากลุ่มผู้สูงอายุตอนต้น จำนวนมากกว่าครึ่งที่มีฟันถาวรใช้งานได้ ๒๐ ซี่ แต่ฟันถาวรที่เหลืออยู่นั้น ยังมีปัญหารอยโรคและความผิดปกติในช่องปากที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการลุกลามที่นำไปสู่ความเจ็บปวดและการสูญเสียฟัน ซึ่งปัญหาสำคัญ ได้แก่ การสูญเสียฟัน จึงได้ยึดแนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อแก้ไขปัญหาทันตสุขภาพของผู้สูงอายุ กระตุ้นให้ผู้สูงอายุตระหนักถึงการดูแลทันตสุขภาพพร้อมทั้งได้ปรับระบบบริการสุขภาพเชิงรุกเน้นการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเพื่อลดปัญหาโรคในช่องปาก และทำให้ผู้สูงอายุ มีทันตสุขภาพที่ดีต่อไป
ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคในช่องปากจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริม กระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายวัยผู้สูงอายุ ตระหนัก รับรู้ถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น เป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพช่องปาก ประชาชนกลุ่มวัยผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ป้องกันและควบคุมพฤติกรรมด้านสุขภาพได้อย่างเหมาะสม ร้อยละ80 |
||
2 | เพื่อให้ผู้สูงอายุมีทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธีและสะอาด ประชาชนกลุ่มวัยผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ |
||
3 | เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้าถึงบริการทันตกรรมและได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ประชาชนกลุ่มวัยผู้สูงอายุเข้าถึงบริการทันตกรรมและได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 100 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
25 ต.ค. 67 - 30 ส.ค. 68 | อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่อง ปากในผู้สูงอายุ | 60 | 13,000.00 | - | ||
รวม | 60 | 13,000.00 | 0 | 0.00 |
- กลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากและการแปรงฟันที่ถูกต้อง มีพฤติกรรมเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้อง เข้าถึงบริการทันตกรรมและได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากทุกคน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2567 11:00 น.