กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาเครือข่ายชุมชน ร่วมใจ ห่วงใย ผู้ป่วยจิตเวช ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 58-L5303-2-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) หมู่ที่ 6 ต.เจ๊ะบิลัง
วันที่อนุมัติ 30 ตุลาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 23,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) หมู่ที่ 6 ต.เจ๊ะบิลัง
พี่เลี้ยงโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เจ๊ะบิลัง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.687,99.965place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ย. 2567 30 ก.ย. 2568 23,300.00
รวมงบประมาณ 23,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านสุขภาพจิตและการใช้สารเสพติดนับเป็นปัญหาที่สำคัญไม่ต่างจากปัญหาสุขภาพกาย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วโลก องค์การอนามัยโลกระบุว่าประชากร 1 ใน 4 จะได้รับผลกระทบจากความผิดปกติทางจิตใจหรือระบบประสาทในบางช่วงของชีวิต และมีประชากรทั่วโลก ราว 450 ล้านคนที่ทนทุกข์ทรมานจากสภาพดังกล่าว ทั้งนี้อาการฉุกเฉินทางจิตมีลักษณะอารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว อาละวาด เสี่ยงทำร้ายตนเอง ทำร้ายผู้อื่นหรือทำร้ายข้าวของ  ปัญหาสุขภาพจิตหรือจิตเวช เช่น มีอาการหูแว่ว ประสาทหลอน โรคซึมเศร้ารุนแรง ทำให้เกิดความพิการและสูญเสียเป็นจำนวนมาก ปัญหาสุขภาพจิตไม่ใช่จะส่งผลกระทบแค่เฉพาะผู้ป่วยเท่านั่นแต่ยังส่งผลกระทบไปสู่บุคคลในครอบครัว ผู้ดูแล และคนในชุมชนอีกด้วย ผู้ป่วยจิตเวชมักขาดโอกาสการสนับสนุนในสังคมหรือชุมชน และยังพบว่าครอบครัวและญาติหรือผู้ดูแลได้รับผลกระทบด้านสุขภาพกาย สุขภาพจิต เศรษฐกิจและสังคมตามมา
    การที่ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการดุแลที่ต่อเนื่องและได้ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับคนในชุมชน ภายหลังการบำบัดรักษากลับสู่ชุมชนแล้วยังมีอุปสรรคเนื่องจากภายหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังขาดโอกาสจากชุมชนในการพัฒนาศักยภาพตนเองให้มีชีวิตในสังคมเช่นบุคคลทั่วไป ซึ่งปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากตังผู้ป่วยเอง เช่นการขาดความมั่นใจในการดำเนินชีวิตร่วมกับครอบและผู้อื่น นอกจากนี้ชุมชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจหรือไม่เห็นความสำคัญของกลุ่มผู้ป่วยทางจิตที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นและความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ประชาชนในชุมชนรู้สึกกลัว รังเกียจ ไม่เชื่อมั่นในความสามารถของผู้ป่วย มีทัศนคติในทางลบต่อผู้ป่วย สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยทาจิตไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมและขาดโอกาสในการพัฒนาตนเองในการอยู่ร่วมในสังคมมากยิ่งขึ้น จึงส่งผลให้ผู้ป่วยจิตเวชเหล่านี้กลายเป็นภาระและปัญหาของครอบครัวและสังคมต่อไป อีกทั้งครอบครัวผู้ป่วยเองยังขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่ถูกต้อง จึงทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการกำเริบและสร้างปัญหาในสังคมตามมาด้วย สำหรับในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปาเต๊ะ มีผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมด 70 ราย ซึ่งแบ่งเป็นผู้ป่วยจิตเวชทั่วไป 35 คน คิดเป็นร้อยละ 50  จิตเวชจากยาเสพติด 35 คน คิดเป็นร้อยละ 50 จากการติดตามเยี่ยมบ้านของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพบปัญหาดังนี้ 1.ผู้ป่วยขาดยาเนื่องจากรับประทานยาแล้วดีขึ้นจึงหยุดยาเอง 2. ผุ้ป่วยรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง เนื่องจาก ไม่ได้ไปพบแพทย์ตามนัดเพราะดูแลไม่ได้อยู่ในพื้นที่หรือผู้ดูแลไม่สะดวกพาคนไข้ 3. ผู้ดูแลขาดความรู้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช 4.เพื่อนบ้านหวาดระแวงกลัวผู้ป่วยจิตเวชจะทำร้าย 4.แกนนำขาดความรู้ในการนำส่งรพ.ในกรณีผู้ป่วยอาละวาด ทำร้ายร่างกายหรือสิ่งของ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกระตุ้นการขับเคลื่อนงานสุขภาพจิตในชุมชน

มีการขับเคลื่อนงานด้วยเครือข่ายในชุมชนเพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการดูแลที่ต่อเนื่องร้อยละ 80

2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชอย่างถูกต้องเหมาะสม

กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน ครอบคลุมร้อยละ 80

3 เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการค้นหาและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน

กลุ่มผู้ป่วยจิตเวชรายใหม่ในชุมชนลดลงร้อยละ 80

4 เพื่อให้เกิดการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างต่อเนื่องในชุมชนและลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ โดยแกนนำสุขภาพจิตในชุมชน

อุบัติการณ์การเกิดอาการกำเริบของผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนลดลง ร้อยละ 80

5 เพื่อให้ผู้เข้าอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ โทษของยาเสพติดที่นำไปสู่การป่วยเป็นจิตเวช

ผู้เข้าอบรมมีความรู้  ความเข้าใจ โทษของยาเสพติดที่นำไปสู่การป่วยเป็นจิตเวช ครอบคลุมร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
13 มิ.ย. 68 กิจกรรมอบรมส่งเสริมให้ความรู้แก่ผู้ป่วยจิตเวชและญาติ หรือผู้ดูแล 60 8,100.00 -
27 มิ.ย. 68 กิจกรรมอบรมส่งเสริมความรู้แก่อสม. ผู้นำชุมชน แกนนำ 60 8,100.00 -
4 ก.ค. 68 กิจกรรมอบรมส่งเสริมความรู้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านบันนังปุเลา 40 7,100.00 -
รวม 160 23,300.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังได้รับการดูแลต่อเนื่องในชุมชน ๒.ผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน มีอาการกลับเป็นซ้ำของโรคลดลง ๓.ผู้ป่วยจิตเวชมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถดูแลตนเองได้ดีขึ้นอีกทั้งลดการพึ่งพาดูแลจากครอบครัว ๔.ภาคีสุขภาพในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2567 11:01 น.