โครงการรักอย่างปลอดภัยเชิงรุกโรงพยาบาลพัทลุง ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการรักอย่างปลอดภัยเชิงรุกโรงพยาบาลพัทลุง ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 2568-L7572-01-004 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลพัทลุง |
วันที่อนุมัติ | 24 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 มกราคม 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 26,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางเจนจิรา รงเรือง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 2082 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนของนักเรียน ม.1ในเขตเทศบาลเมือง ทั้งหมด | 2,082.00 | ||
2 | อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ15-19ปี(ต่อ1000คน) | 21.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันปัญหาพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในเด็กวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับอดีต สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากพัฒนาการทางร่างกายและทางเพศที่เร็วขึ้นร่วมกับความอยากรู้อยากเห็น และอยากทดลอง ส่งผลให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย นอกจากนี้การขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคุมกำเนิด และการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นำมาซึ่งปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น การแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นส่วนใหญ่ลงเอยด้วยการทำแท้งเถื่อน ซึ่งมักไม่ปลอดภัย และหากทำแท้งเมื่ออายุครรภ์ค่อนข้างมากแล้ว มักพบภาวะแทรกซ้อนได้สูง วัยรุ่นหญิงไม่มีความพร้อมสำหรับการปรับตัวต่อการเป็นแม่ และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทำให้ไม่มีการแต่งงาน หรือมีการหย่าร้างสูง อาจต้องออกจากการเรียน กลายเป็นคนด้อยการศึกษา สุดท้ายบุตรที่เกิดมาจากวัยรุ่นนี้ต้องเผชิญปัญหาเช่นเดียวกัน ปัญหาลูกโซ่นี้ทำให้เกิดอัตราการว่างงาน รวมทั้งการเกิดปัญหาอาชญากรรมเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมตามมามากมาย
จากสถานการณ์ข้อมูลการให้บริการของโรงพยาบาลพัทลุง ตั้งแต่ปี 2566-2567 พบอัตราการคลอดมีชีพของแม่วัยรุ่นอายุ 15-19 ปี เท่ากับ 28.35 และ24.29 ต่อพันประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี(เป้าหมายไม่เกิน21ต่อหญิงอายุ 15-19ปี 1,000คน) โดยที่ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ทีมคณะทำงานวัยรุ่น ซึ่งประกอบด้วย บุคลากรจากกลุ่มงานเวชกรรมสังคม คลินิกฝากครรภ์ ห้องคลอด กลุ่มงานจิตเวช กลุ่มงานสุขศึกษา ได้จัดหลักสูตร “รักอย่างปลอดภัยในโรงเรียน” เพื่อรณรงค์ป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรโดยต่อเนื่อง
ในปีงบประมาณ 2558 ปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นได้รับการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา เป็นลำดับที่ 3 ของอำเภอเมืองพัทลุง เนื่องจากเป็นวัยรุ่นเสี่ยงต่อการมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม นอกจากนี้ยังพบปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการทำแท้ง จึงต้องพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โดยจัดตั้งศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น “Love Young Club คลับวัยรุ่น” เพื่อให้บริการสุขภาพ อาทิเช่น ให้คำปรึกษา ให้ความรู้ และให้บริการป้องกันการตั้งครรภ์ ด้านโครงสร้างผู้รับผิดชอบ ได้จัดตั้งคณะกรรมการศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น“Love Young Club คลับวัยรุ่น”ประกอบด้วยบุคลากรจากกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาลและเครือข่ายบริการสุขภาพ มีภาคีเครือข่าย และสถานศึกษาในพื้นที่อำเภอเมืองพัทลุงร่วมด้วย มีการจัดตั้งเวปเพจ Facebook ชื่อ “Loveyoungclub” และมีเบอร์โทรศัพท์ให้วัยรุ่นได้ปรึกษาได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่สรุปปัญหาการดำเนินงานในช่วง 1 เดือนหลังการเปิดศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นพบว่า วัยรุ่นเข้าไปใช้บริการน้อย ไม่เข้าใจถึงบริการสุขภาพที่จัดให้ นอกจากนี้ยังพบปัญหาการตั้งครรภ์ซ้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นโครงการรักอย่างปลอดภัย จึงเป็นกิจกรรมประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตในวัยรุ่นและป้องกันปัญหา วัยรุ่นการตั้งครรภ์ไม่พร้อม รวมทั้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์อีกด้วย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ และทัศนคติในการป้องกันและควบคุมปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร นักเรียนชั้น ม.1มีความรู้ และทัศนคติในการป้องกันและควบคุมปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร มากกว่าร้อยละ 80 |
80.00 | 85.00 |
2 | 2. ร้อยละของการตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุ 15- 19 ปี ไม่เกิน 21 ต่อ1,000 ของประชากรหญิง ในพื้นที่อำเภอ
เมืองพัทลุง อัตราการตั้งครรภ์วัยรุ่นอายุ 15-19 ปีน้อยกว่า21ต่อ1000ประชากร |
21.00 | 21.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
3 ม.ค. 68 - 28 ก.พ. 68 | 1. ขั้นเตรียมการ | 14 | 3,460.00 | ✔ | 3,460.00 | |
20 พ.ค. 68 - 5 มิ.ย. 68 | ดำเนินการอบรมความรู้เรื่องตามหลักสูตร รักอย่างปลอดภัยในโรงเรียนเป้าหมาย | 2162 | 22,740.00 | ✔ | 13,215.00 | |
12 - 30 มิ.ย. 68 | ขั้นประเมินผล | 4 | 0.00 | ✔ | 7,760.00 | |
รวม | 2,180 | 26,200.00 | 3 | 24,435.00 |
นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที1 ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองพัทลุงได้รับการเสริมสร้างความรู้ และทัศนคติในการป้องกันและควบคุมปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร มีทักษะชีวิต นำไปปฏิบัติเพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์วัยรุ่นได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2567 10:57 น.