โครงการครอบครัวสดใส ใส่ใจวัยรุ่น
ชื่อโครงการ | โครงการครอบครัวสดใส ใส่ใจวัยรุ่น |
รหัสโครงการ | 68-L8367-01-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลจะนะ |
วันที่อนุมัติ | 6 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 15,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายหมัด หีมเหม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 3 ก.พ. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 15,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 15,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการต่าง ๆ หลาย ๆ ด้าน พร้อม ๆ กัน ทำให้เกิดปัญหาในการปรับตัวค่อนข้างสูง วัยรุ่นที่สามารถปรับตัวได้ดีก็จะผ่านช่วงวัยนี้ไปได้สำเร็จ ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายเกิดจากฮอร์โมนไปกระตุ้นให้เกิดการแสดงออกทางเพศที่ชัดเจนขึ้น วัยรุ่นชายหญิงมีความสนใจในเพศตรงข้ามมากขึ้น และพร้อมเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ พัฒนาการทางด้านจิตใจ วัยรุ่นมีความเป็นตัวตนสูง แสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง เป็นวัยที่อยากรู้ อยากลอง อยากเห็น รักความเป็นอิสระ ทำให้วัยรุ่นสนใจ อยากรู้และอยากลองเรื่องเพศ เกิดการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นทำให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์และการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ตามมา ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในจังหวัดสงขลาจากสถิติ (HDC จังหวัดสงขลา ) มีวัยรุ่นตั้งครรภ์ย้อนหลังใน 3 ปี 2565 - 2567 มีจำนวน 793 , 489 และ 401 คน สถิติการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอำเภอจะนะย้อนหลัง 3 ปี 2565 - 2567 มีจำนวน 20 , 29 และ 26 คน ซึ่งการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น เกิดปัญหาต่อตัววัยรุ่นเอง ทั้งการดูแลทารกในครรภ์ การเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ปัญหาการเรียน ปัญหาครอบครัว ครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่สร้างภูมิคุ้มกันและให้ความรู้เรื่องเพศแก่วัยรุ่น แต่สังคมไทยไม่เปิดรับการพูดคุยเรื่องเพศในครอบครัว ทำให้วัยรุ่นขาดที่ปรึกษาเมื่อมีปัญหาเรื่องเพศ และรับคำปรึกษาในทางที่ผิดจากเพื่อน หรือสื่อต่าง ๆ ทำให้ปัญหายิ่งบานปลาย เช่น การทำแท้ง การตั้งครรภ์ปกปิด การหนีออกจากบ้านและอื่น ๆ ดังนั้นครอบครัวจึงเป็นหน่วยพื้นฐานทางสังคมที่สำคัญในการดูแลวัยรุ่นให้พัฒนา เติบโตขึ้นมาเป็นประชากรที่มีคุณภาพของประเทศ แต่ด้วยสภาพสังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงเรื่องเพศได้ง่ายขึ้น รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงลักษณะครอบครัว จากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยวและครอบครัว พ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวมากขึ้น ส่งผลให้การดูแลลูกวัยรุ่นสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองต้องเผชิญความยุ่งยากมากขึ้น พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยต้องมีความเข้าใจตนเอง มีทักษะในการจัดการอารมณ์และความเครียดของตนเอง รวมทั้งต้องมีทักษะในการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกวัยรุ่น เพื่อประคับประคองลูกวัยรุ่นสู่ลูกวัยผู้ใหญ่ได้อย่างเหมาะสม และกล้าให้วัยรุ่นกล้าพูดคุยเรื่องเพศในครอบครัวมากยิ่งขึ้น เพื่อลดปัญหาทางเพศของวัยรุ่นให้น้อยลง และวัยรุ่นมีทางออกจากปัญหาดังกล่าวได้ถูกต้อง ปลอดภัย มากยิ่งขึ้น กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ปกครองที่มีบุตรวัยรุ่น มีความรู้ ความเข้าใจพัฒนาการของวัยรุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติให้เหมาะสมกับวัยรุ่น พ่อแม่/ผู้ปกครองที่มีบุตรวัยรุ่นมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการดูแลบุตรหลานวัยรุ่นได้อย่างถูกต้องมากกว่าร้อยละ 80 |
||
2 | เพื่อลดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่นไม่เกินร้อยละ 5 |
||
3 | เพื่อลดปัญหาเรื่องเพศในวัยรุ่น ปัญหาเรื่องเพศได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องเหมาะสมมากกว่าร้อยละ 70 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- พ่อแม่/ผู้ปกครองที่มีบุตรวัยรุ่นมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการดูแลบุตรหลานวัยรุ่นได้อย่าง ถูกต้อง
- ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่นลดลง
- ปัญหาเรื่องเพศในวัยรุ่นลดลงและได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องเหมาะสม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2567 14:49 น.