โครงการสูงวัย ใส่ใจ ไร้โรคา
ชื่อโครงการ | โครงการสูงวัย ใส่ใจ ไร้โรคา |
รหัสโครงการ | 68-L8367-01-07 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลจะนะ |
วันที่อนุมัติ | 6 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 15,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายหมัด หีมเหม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 6 ก.พ. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 15,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 15,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ผู้สูงอายุขาดความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเอง | 0.00 | ||
2 | ผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพิงเพิ่มมากขึ้น | 0.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรโลก ทำให้สัดส่วนของประชากรกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน เป็นเป้าหมายที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีย่อมหมายถึงบุคคลนั้นมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี มีศักยภาพในการช่วยเหลือตนเองและครอบครัว ให้ดำรงอยู่อย่างปกติสุขตามศักยภาพแห่งตน ปัจจุบันจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว ส่งผลให้ประชากรไทยเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุหรือ“ภาวะประชากรผู้สูงอายุ” อันจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง เพิ่มมากขึ้น และมีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลปัญหาสุขภาพ
ปัจจุบันมีผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้น เป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข โดย สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าประชากรผู้สูงอายุจะเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ ในอนาคตอันใกล้นี้ประกอบกลุ่มผู้สูงอายุมักเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ สูง โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน ข้อเข่าเสื่อม โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคความจำเสื่อม ฯลฯ โดยส่วนใหญ่มักพบว่าผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวเรื้อรังมากกว่า ๑ โรคขึ้นไป ดังนั้นผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ตามนโยบายรัฐบาลด้านสาธารณสุข ซึ่งเน้นการดำเนินการด้านสาธารณสุขเชิงรุกให้ทั่วถึงและครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ และการพัฒนาการบริการสาธารณสุข โดยเน้นการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
ดังนั้น กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวและให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่กับครอบครัวและบุตรหลานอย่างปกติสุขและมีสุขภาพสมบูรณ์ตามควรแก่วัย
จึงได้จัดทำ “โครงการสูงวัย ใส่ใจ ไร้โรคา” ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง ADL คัดกรองความถดถอย 9 ด้าน ภาวะสมองเสื่อมและคัดกรองความเสี่ยงต่อการหกล้ม ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเอง > 80 % |
||
2 | เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแล สุขภาพตนเอง ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ > 50 % |
||
3 | เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ลดภาวะพึ่งพิงผู้สูงอายุ ติดสังคม > 50 % |
||
4 | เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมและภาวะหกล้มได้รับการส่งต่อไปยังคลินิกผู้สูงอายุ รพ. ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมและภาวะหกล้มได้รับการดูแลในคลินิกผู้สูงอายุ 100 % |
||
5 | เพื่อสร้างผู้สูงอายุต้นแบบด้านสุขภาพ เกิดบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพอย่างน้อย ชุมชนละ 3 คน |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- ผู้สูงอายุได้รับความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเอง
- ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองและปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้
- ลดภาวะพึ่งพิงผู้สูงอายุติดสังคม ติดบ้าน และติดเตียง
- ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมและภาวะหกล้มได้รับการดูแลในคลินิกผู้สูงอายุ รพ.
- เกิดบุคคลต้นแบบด้านสุขภาพอย่างน้อยชุมชนละ 3 คน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2567 15:44 น.