กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กวัยเรียนตำบลปูโยะเหาตายสบายศรีษะ ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L2536-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ปูโยะ
วันที่อนุมัติ 13 ตุลาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 29,016.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางนงเยาว์ เกษกุล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.109,101.993place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 13 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 399 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เหา หรือ Louse เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่เป็นปรสิต (Parasite) ต้องอาศัยบนร่างกายคน หรือสัตว์ และดำรงชีวิตโดยการดูดเลือดเป็นอาหารสามารถแพร่กระจายจากคนหนึ่งไปสู่คนหนึ่งได้โดยการอยู่ใกล้ชิดกัน อาการหลัก คือ อาการคัน ส่วนปัญหาสำคัญของผู้เป็นเหาคือ อาจกลายเป็นที่รังเกียจของสังคม การติดเหา สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเชื้อชาติ โดยทั่วโลกพบผู้ที่เป็นเหามากกว่าร้อยล้านคนต่อปี และพบอัตราการเป็นเหาทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและในประเทศด้อยพัฒนาไม่แตกต่างกันนัก โดย เหาที่ศีรษะ (Pediculushumanuscapitisหรือ Pediculosiscapitis) พบได้ในคนทุกระดับตั้งแต่ฐานะยากจน กระทั่งฐานะร่ำรวย และมักพบในวัยเด็ก การเป็นเหาในเด็กนักเรียนนับว่าเป็นปัญหาสำคัญสำหรับประเทศไทย เนื่องจากอาการหลักคืออาการคันที่ศีรษะ ซึ่งเกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาต่อการกัดของเหาที่หนังศีรษะเวลาดูดเลือด และจะคันมากในช่วงกลางคืน เพราะเหามักดูดเลือดในช่วงนี้ ทำให้เด็กมีปัญหานอนหลับไม่สนิท และอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ได้นอกจากนี้การเกาหนังศีรษะอย่างมากอาจทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อเรื้อรังได้ และตัวเหายังเป็นพาหะนำโรคได้หลายโรค เช่น ไข้รากสาดใหญ่ชนิด Epidemic typhus โรคไข้เทรนซ์ (Trench fever) และโรคไข้กลับ (Relapsing fever) เป็นต้นการรักษาเหาสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้ยาเบนซิลเบนโซเอต ๒๕% การใช้ยาน้ำแขวนตะกอนสีขาวขุ่นและการใช้สมุนไพรรักษา เช่น เมล็ดหรือใบน้อยหน่า ซึ่งการใช้ยาสมุนไพรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเป็นการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์อีกด้วย จากการตรวจสุขภาพของนักเรียนระดับอนุบาล ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในตำบลปูโยะอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส พบว่า มีเด็กนักเรียนเป็นเหาร้อยละ ๔๖.๐๒ ซึ่งการเป็นเหาในเด็กวัยเรียนมีโอกาสหายค่อนข้างยาก และมีโอกาสติดโรคซ้ำ เนื่องจากภายในโรงเรียนมีเด็กนักเรียนเป็นจำนวนมากจึงมีการติดต่อโดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการใกล้ชิดหรือใช้ของร่วมกัน ทำให้เหาเพิ่มจำนวนและขยายพันธ์อย่างรวดเร็วได้ตลอดปี จึงได้จัดทำโครงการเด็กวัยเรียนตำบลปูโยะ เหาตายสบายศีรษะ โดยใช้น้ำยาสกัดจากใบน้อยหน่าขึ้น เพื่อลดโรคเหาในเด็กนักเรียน และเพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้ในการป้องกัน และรักษาโรคเหาเพิ่มขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 - เพื่อลดการเป็นเหาในเด็กนักเรียน
  • เด็กนักเรียนที่เป็นเหาได้รับการรักษาด้วยสมุนไพรกำจัดเหา ร้อยละ 100
  • เด็กนักเรียนที่หายขาดจากการเป็นโรคเหาร้อยละ80
2 -เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ในการป้องกันและรู้วิธีการกำจัดเหาเพิ่มขึ้น
  • ผู้ปกครองได้รับความรู้ในการป้องกัน กำจัดเหาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชาสัมพันธ์โครงการต่อชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น อบต. โรงเรียน 1.2 ประชาสัมพันธ์โดยการประชุม ถ่ายทอดโครงการสู่ชุมชนที่ประชุมชาวบ้าน ที่ประชุมองค์การบริหารส่วนตำบล 1.3 ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขเกี่ยวกับรายละเอียดและแผนการดำเนินงานตามโครงการ 1.4 การใช้ป้ายประชาสัมพันธ์ในชุมชน
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 กิจกรรมที่1 การตรวจคัดกรองนักเรียนที่เป็นเหา 1) สำรวจจำนวน และรายชื่อเด็กนักเรียนที่เป็นโรคเหา จากรายงานการตรวจสุขภาพนักเรียน 2) ตรวจคัดกรองเหาในเด็กที่นักเรียนสำรวจรายชื่ออีกรอบ และสำรวจเด็กนักเรียนที่เป็นเหาเพิ่มเติม 3) ประชุมปรึกษาหารือคณะทำงาน/ประสานผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน 2.2 กิจกรรมที่2การอบรมให้ความรู้กับเด็กนักเรียนและผู้ปกครอง 1) ให้ความรู้เรื่องการป้องกัน และรักษาโรคเหา แก่เด็กนักเรียน และผู้ปกครองที่เป็นเหาโดยให้ผู้ปกครองทำแบบสอบถาม ก่อนและหลังการให้ความรู้ 2) ดำเนินการกำจัดเหาในเด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย โดยการใช้น้ำยาสกัดใบน้อยหน่าชโลมให้ทั่วศีรษะโพกผ้าขนหนูทิ้งไว้ประมาณ ๑ ชั่วโมงจึงล้างออก 3) เด็กนักเรียนสระผมอีกครั้ง พร้อมใช้หวีเสนียดสางเอาตัวและไข่เหาออก 4) ดำเนินการกำจัดเหาในเด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ติดต่อกัน ๓ ครั้ง โดยเว้นระยะห่าง ๑ สัปดาห์ 5) เมื่อดำเนินการครบทั้ง ๓ ครั้ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียนของ รพ.สต. เข้าไปติดตาม ตรวจหาเหาในเด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย 6) สรุปผลการดำเนินงาน
  3. ขั้นประเมินผล 1) เมื่อดำเนินการครบทั้ง ๓ ครั้ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียนของ รพ.สต. เข้าไปติดตาม ตรวจหาเหาในเด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย 2) สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. จำนวนนักเรียนเป็นเหาลดลง และไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก
  2. ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการป้องกัน และวิธีกำจัดเหา สามารถนำไปปฏิบัติให้กับบุตรได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2559 14:44 น.