กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลด ละ เลิก การใช้โฟม
รหัสโครงการ 60-L5209-1-25
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลท่าช้าง
วันที่อนุมัติ 11 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2560
งบประมาณ 4,310.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวลลิตาสุวรรณมณี
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววารีญาบิลตาลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.048,100.378place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามนโยบายการบริหารจัดการขยะของรัฐบาล ที่ได้กำหนดนโยบายในการรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่องดการใช้ภาชนะโฟมใส่อาหาร เพราะนอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากมีสารก่อให้เกิดโรคมะเร็งแล้ว ยังเป็นปัญหาอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ย่อยสลายนานเกิน 100 ปี และหากเผาไหม้จะก่อให้เกิดภาวะก๊าซเรือนกระจกอีก

โฟม (Fome) เป็นผลิตภัณฑ์จากพลาสติกที่ทำการใช้สารเร่ง (additive) หรือยางพอง (Blowing Agents) ทำให้เกิดการฟูและพองตัว จาการใช้ความร้อนสูง ประกอบกับการอัดลงในแม่พิมพ์ (Mold) ที่มีรูปร่างต่างๆ ที่ต้องการคุณสมบัติที่ได้คือ มีน้ำหนักเบา ทำเป็นรูปลักษณะต่างๆ ได้ดี และเป็นฉนวนความร้อนจึงทำให้โฟมเป็นที่นิยมในการนำมาเป็นภาชนะบรรจุหรือหีบห่ออาหารทั่วไป ทั้งอาหารสด ผักสด อาหารพร้อมปรุง และอาหารปรุงสำเร็จรูป ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการถนอมอาหารที่คงสภาพอยู่ได้นานสะดวกในการขนส่งและวางจำหน่าย ปัจจุบันพบว่า ผู้ประกอบการค้าอาหารมักนิยมใช้กล่องโฟมเป็นภาชนะบรรจุอาหาร เช่น ข้าวผัด ข้าวผัดกระเพราไข่ดาว กระเพาะปลา เป็นต้น เนื่องจากสะดวก ใช้ง่าย รวดเร็ว และราคาถูก อย่างไรก็ตามการนำภาชนะโฟมมาบรรจุอาหารร้อนจำเป็นต้องใช้อย่างระมัดระวัง เนื่องจากภาชนะโฟมที่สัมผัสกับอาหารร้อนจัดเป็นเวลานาน อาจทำให้โฟมเสียรูปทรงและอาจหลอมละลายจนมีสารสไตรีน ปนเปื้อนมากับอาหารได้ โดยปริมาณการละลายออกมาของสารสไตรีน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ชนิด คือ ไขมันในอาหารระยะเวลา และอุณหภูมิระหว่างการสัมผัสของอาหารกับภาชนะ ซึ่งอาหารที่มีไขมันสูงจะทำให้มีการละลายของสารสไตรีนออกมามากกว่าอาหารที่ไม่มีไขมันเป็นส่วนประกอบ ดังนั้น การเลิกใช้ภาชนะโฟมในการบรรจุอาหารร้อน หรืออาหารทอด หันมาใช้วัสดุธรรมชาติเช่น ใบตอง ชานอ้อย กระดาษ foodgrade พลาสติกชีวภาพ ก็มีความจำเป็นอย่างมากที่จะช่วยลดอันตรายจากการใช้ภาชนะโฟม
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลท่าช้างเล็งเห็นถึงความสำคัญของภัยร้ายที่เกิดจากโฟม จึงได้จัดทำโครงการลด ละ เลิก การใช้โฟม เพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจของอันตรายที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์จากโฟม และการส่งเสริมการลดการใช้ภาชนะโฟมบรรจุอาหาร เพราะนอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากมีสารก่อให้เกิดโรคมะเร็งแล้ว ยังเป็นปัญหาอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจให้กับองค์กรในการลด ละเลิก การใช้โฟมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของผู้บริโภค

1.กลุ่มผู้บริโภค ได้แก่ สถานที่ราชการ และเอกชนมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการให้กับองค์กรในด้านการลด ละเลิก การใช้โฟมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค

2 2. เพื่อลดปัญหาขยะที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์โฟม

2.ลดปัญหาขยะที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์โฟม และหันมาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติแทนการใช้โฟม

3 3. เพื่อลดค่านิยมแบบเดิมจากการใช้ผลิตภัณฑ์จากโฟมและหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติแทน

3.ผู้บริโภคหันมาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติแทนการใช้โฟม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการฯ เสนอขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าช้าง
  2. ดำเนินการอบรมตามแผนการอบรมให้ความรู้การลด ละเลิก การใช้โฟมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของผู้บริโภคจำนวน50 คน
  3. ความรู้จากแผ่นพับประชาสัมพันธ์ในการขยายผลความรู้ในการลด ละ เลิกการใช้โฟมเพื่อลดผลกระทบ ต่อสุขภาพของผู้บริโภค
  4. รวบรวมรายงานผลการดำเนินงาน และประเมินผลการดำเนินงาน
  5. รายงานผลการดำเนินงานให้กองทุนหลักประกันสุขภาพทราบหลังจากเสร็จโครงการ 1เดือน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มผู้บริโภค ได้แก่ สถานที่ราชการ และเอกชนมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการให้กับองค์กรในด้านการลด ละเลิก การใช้โฟมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค
  2. เพื่อลดปัญหาขยะที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์โฟม และหันมาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติแทนการใช้โฟม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2561 14:23 น.