กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนักเรียนลาแล ใส่ใจมื้อเช้า ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 06-L2536-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ปูโยะ
วันที่อนุมัติ 13 ตุลาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,225.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ
พี่เลี้ยงโครงการ วาสนา การุณรักษ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.109,101.993place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 113 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารมื้อเช้า เป็นมื้อที่สำคัญที่สุด สำหรับการเริ่มต้นกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวันอย่างมีประสิทธิภาพ หลังจากร่างกายอดอาหารมาตลอดคืน โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียน จากรายงานการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการ ของประเทศไทย ครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๔๖ พบว่า เด็กวัยเรียนกินอาหารเช้าเป็นประจำทุกวัน ร้อยละ ๗๐.๗ และจากการศึกษาพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของเด็กวัยเรียน ในอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส พบว่า รับประทานอาหารเช้า ร้อยละ ๙๐.๙ ซึ่งการงดรับประทานอาหารมื้อเช้า ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นในการเสริมสร้างพลังงานและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ส่งผลต่อสติปัญญา ขาดสมาธิ ทำให้มีผลการเรียนต่ำ เหนื่อยเร็ว หงุดหงิดง่าย มีปฏิกิริยาตอบโต้กับสิ่งต่างๆ ช้ากว่าเด็กที่รับประทานอาหารเช้า และการเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์ จากรายงานรายงานภาวะการเจริญเติบโตของเด็กอายุ ๖-๑๘ ปี เทอมที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ของโรงเรียนที่มีเด็กส่วนสูงระดับดีและมีรูปร่างสมส่วนน้อยที่สุดคือ โรงเรียนลาแลตำบลปูโยะอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส มีเพียงร้อยละ ๑๗.๒๙ จึงได้จัดทำโครงการนักเรียนลาแล ใส่ใจมื้อเช้าขึ้น เป็นโรงเรียนนำร่องเพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้และรับรู้ประโยชน์ในการรับประทานอาหารมื้อเช้า และนักเรียนรับประทานอาหารมื้อเช้าทุกวันเพิ่มขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. กิจกรรมประชุมชี้แจงคณะทำงาน และตัวแทนผู้ปกครอง
  • เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และรับรู้ ประโยชน์ในการรับประทานอาหารมื้อ เช้าของนักเรียน
2 2. กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง กลุ่มเป้าหมาย
  • ผู้ปกครองมีความรู้ และรับรู้ประโยชน์ ในการรับประทานอาหารมื้อเช้า ของนักเรียนร้อยละ80
3 3. กิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ แก่นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
  • เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และรับรู้ ประโยชน์ในการรับประทานอาหาร มื้อเช้า
    • เพื่อเพิ่มจำนวนนักเรียนที่รับประทาน อาหารมื้อเช้าทุกวัน
    • นักเรียนรับประทานอาหารมื้อเช้า ทุกวันร้อยละ60
    • นักเรียนมีความรู้ และรับรู้ประโยชน์ ในการรับประทานอาหารมื้อเช้า ร้อยละ80
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. กิจกรรมประชุมชี้แจงคณะทำงาน และตัวแทนผู้ปกครอง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง กลุ่มเป้าหมาย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3. กิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ แก่นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย

รวม 0 0.00 0 0.00

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 1.2 ประสานผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน 1.3 ประชุมปรึกษาหารือคณะทำงาน และตัวแทนผู้ปกครอง

  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมปรึกษาหารือคณะทำงาน และตัวแทนผู้ปกครอง 1) จัดประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงการดำเนินงานโครงการ 2.2 กิจกรรมที่2 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมาย 1) จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมาย เรื่องประโยชน์และหลักการจัดอาหารมื้อเช้าแก่นักเรียน พร้อมทำแบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าในนักเรียน และแบบสอบถามเรื่องความรู้ และการรับรู้ประโยชน์ของอาหารมื้อเช้า (ก่อนและหลังการอบรม) 2) แจกสมุดเช็คลิสต์ (พร้อมเนื้อหาสาระความรู้) การรับประทานอาหารมื้อเช้า ในนักเรียนทุกวัน โดยทำการเช็คลิสต์เป็นเวลา ๓ เดือน 3) ส่งสมุดเช็คลิสต์ให้ครูประจำชั้นทุก ๑ เดือน เพื่อให้ครูประจำชั้นสรุปจำนวนวันที่รับประทานอาหารเช้า พร้อมเซ็นชื่อกำกับ 4) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขติดตามสมุดเช็คลิสต์ สอบถามปัญหาอุปสรรค จากครูประจำชั้นทุก ๑ เดือน 2.3 กิจกรรมที่2กิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย 1) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยแบ่งฐานการเรียนรู้จำนวน ๔ ฐาน ดังนี้

- ประโยชน์ของการรับประทานมื้อเช้า - ผัก ผลไม้ สำหรับหนูๆ - โทษของขนมกรุบกรอบ - ชนิดและปริมาณอาหารที่เหมาะสมตามวัย 2) นักเรียนทำแบบสอบถามเรื่องความรู้ และการรับรู้ประโยชน์ของอาหารมื้อเช้า ก่อนและหลังการอบรม 3) สรุปผลการดำเนินงาน/ประเมินผล

  1. ขั้นประเมินผล
    1. ประเมินภาวะโภชนาการเด็กนักเรียน
    2. จำนวนเด็กนักเรียนที่ได้รับการอบรม
    3. ประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนรับประทานอาหารมื้อเช้าทุกวัน
  2. นักเรียน มีความรู้และรับรู้ประโยชน์ในการรับประทานอาหารมื้อเช้า
  3. ผู้ปกครองมีความรู้ รับรู้ประโยชน์ในการรับประทานอาหารมื้อเช้า และสามารถเป็นแบบอย่าง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2559 15:40 น.