โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลยะลา
ชื่อโครงการ | โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลยะลา |
รหัสโครงการ | 68 - L4138 – 04 - 01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | สำนักงานเลขาฯกองทุน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลยะลา |
วันที่อนุมัติ | 13 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 13 พฤศจิกายน 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 10 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 50,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอินดรา หามะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.523,101.181place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 50,000.00 | |||||
รวมงบประมาณ | 50,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] | 34 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคโดยประชาชนและชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วม ถือเป็นแนวทางหลักที่มีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขซึ่งได้มีการดำเนินการและพัฒนาการมาอย่างยาวนานกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยชุมชนเพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงเน้นการทำกิจกรรม โดยความคิดริเริ่มของประชาชนและชุมชนเอง กองทุนหลักประกันสุขภาพจึงเกิดขึ้นด้วยความร่วมมือของเครือข่ายองค์กรชุมชนกลุ่มและประชาชนเป้าหมาย การบริหารจัดการกองทุน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรง มีความสำคัญต่อการดำเนินงานของกองทุนฯ เริ่มตั้งแต่การวางแผนการดำเนินงานซึ่งเป็นตัวชี้ว่ากองทุนฯ จะเดินไปในทางทิศใดดังนั้นถ้าการวางแผนการดำเนินงานให้มีกิจกรรม / โครงการต่าง ๆ ที่ดี จะทำให้การดำเนินงานของกองทุนฯ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลาเป็นกองทุนขนาดกลางโดยได้ลงนามร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบลยะลา เพื่อเข้ามาดำเนินงานและบริหารจัดการเงินทุนระดับท้องถิ่น พร้อมทั้งจัดทำระเบียบข้อบังคับของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลยะลา เพื่อถือปฏิบัติ ในการนี้ เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สำนักงานปลัดได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ จึงขออนุมัติจัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนตำบลยะลา ประจำปีประมาณ พ.ศ.2568
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่ออนุมัติแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ มีการอนุมัติแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ |
80.00 | |
2 | เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มองค์กรประชาชนขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบลมากขึ้น กลุ่มองค์กรประชาชนขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบลมากขึ้น |
10.00 | |
3 | เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และแกนนำสุขภาพ คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และแกนนำสุขภาพได้รับการอบรมและเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ |
80.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
13 พ.ย. 67 - 30 ก.ย. 68 | จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ อย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี | 19 | 33,060.00 | - | ||
15 พ.ย. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมจัดประชุมคณะอนุกรรมการ LTC จำนวน 2 ครั้ง | 10 | 6,700.00 | - | ||
15 พ.ย. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมจัดประชุมคณะทำงานกองทุนฯ จำนวน 3 ครั้ง | 5 | 3,525.00 | - | ||
15 พ.ย. 67 | กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ และเพื่อจ่ายเป็นค่าเดินทางไปราชการ คณะกรรมการ อนุกรรมการ และคณะทำงานกองทุนฯ | 34 | 6,715.00 | - | ||
รวม | 68 | 50,000.00 | 0 | 0.00 |
- ขั้นตอนวางแผน
- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน
- กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ - ขั้นตอนการดำเนินงาน
- ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมาย
- จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน ตามระเบียบของหน่วยงานโดยอนุโลม
- จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน
- จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม - พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุน คณะอนุกรรมการ และองค์กรผู้รับทุน - ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด
- จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ อย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี
- จัดประชุมคณะอนุกรรมการ LTC อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี - จัดประชุมคณะทำงาน อย่างน้อย 3 ครั้งต่อปี - สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน
๑. การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลยะลา มีความต่อเนื่อง สามารถใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกองทุน
๒. คณะกรรมการรกองทุนมีศักยภาพและมีความพร้อมในการบริหารกองทุนฯ
๓. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกองทุนหลักประกันสุขภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2567 10:57 น.