โครงการควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่าหมอไทร ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่าหมอไทร ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-l5180-01-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหมอไทร |
วันที่อนุมัติ | 7 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 7 พฤศจิกายน 2567 - 31 ธันวาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ธันวาคม 2568 |
งบประมาณ | 50,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวอาริสา พันธุสะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายธนพนธ์ จรสุวรรณ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าหมอไทร อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 2000 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด | 264.15 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์ผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่าหมอไทรพบว่ามีผู้ป่วยต่อเนื่องในทุก ๆปี จากข้อมูลทางระบาดวิทยาของ รพ.สต.ท่าหมอไทร ข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี (ปี 2565-2567) พบผู้ป่วยตามลำดับดังนี้ ปี 2565 จำนวน 9 ราย ปี 2566 จำนวน19 ราย และปี 2567 ข้อมูลตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 – 31 ตุลาคม 2567 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 15 ราย และมีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแยกเป็นรายหมู่ ดังนี้ หมู่ที่ 1 จำนวน 5 ราย หมู่ที่ 2 จำนวน 2 ราย หมู่ที่ 3 จำนวน 1 ราย หมู่ที่ 4 จำนวน 3 ราย หมู่ที่ 7 จำนวน 1 ราย หมู่ที่ 8 จำนวน 2 ราย และหมู่ที่ 9 จำนวน 1 ราย และยังพบผู้ป่วยที่มีอาการเข้าข่ายโรคไข้เลือดออกจำนวนหนึ่ง รวมถึงผู้ป่วยจากนอกพื้นที่ที่เข้ามาอาศัยในพื้นที่ตำบลท่าหมอไทรร่วมด้วยด้วย ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคแบบเดียวกันกับการควบคุมโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยไข้เลือดออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี และยังคงมีการระบาดทุกปีประกอบกับตำบลท่าหมอไทรเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และมีลำคลองหลายสาย และด้วยสภาพอากาศร้อนชื้นและมีฝนตกต่อเนื่องเกือบตลอดทั้งปีทำให้มีน้ำขังและเกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในหมู่บ้านจึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกโดยการวางแผนงานกิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในทุก ๆปี กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าหมอไทรร่วมกับ อสม.ในพื้นที่ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าหมอไทร ได้ร่วมกันเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยกระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์ป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการควบคุมโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ตำบลท่าหมอไทรปี 2568 โดย ยึดหลัก มาตรการ 3-3-1 เพื่อการควบคุมโรคที่รวดเร็วและสามารถลดการแพร่กระจายของโรคได้ทันเวลา โดยให้ประชาชนเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกระบาด ด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เพื่อลดอัตราการป่วย การเสียชีวิตและการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่าหมอไทรต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออก อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกลดลงเมื่อเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี |
264.15 | 50.00 |
2 | ลดอัตราป่วยตายของโรคไข้เลือดออก อัตราป่วยตายของโรคไข้เลือดออกเป็นศูนย์ |
0.00 | 0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 50,000.00 | 0 | 0.00 | 50,000.00 | |
1 พ.ย. 67 - 31 มี.ค. 68 | จัดหาวัสดุและอุปกรณ์ในการลงพื้นที่ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก | 0 | 29,900.00 | - | - | ||
1 เม.ย. 68 - 31 ธ.ค. 68 | กิจกรรม big cleaning day ในพื้นที่ตำบลท่าหมอไทร | 0 | 3,500.00 | - | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 พ.ย. 68 | พ่นหมอกควันกำจัดยุงในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก | 0 | 6,600.00 | - | - | ||
1 พ.ค. 68 - 31 ธ.ค. 68 | การพ่นหมอกควันบ้านผู้ป่วยและบ้านในรัศมี 100 เมตรรอบบ้านผู้ป่วย | 0 | 10,000.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 50,000.00 | 0 | 0.00 | 50,000.00 |
1.เพื่อดำเนินการควบคุมโรคได้ทันเวลาตามมาตรการ 3-3-1
2.เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและภาชนะเสี่ยงในชุมชน โรงเรียน สถานประกอบการ เช่น โรงงาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัดและมัสยิดที่เป็นแหล่งรังโรค
3.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคไข้เลือดออก
4.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
5.การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการควบคุมและป้องกันโรค
6.เพื่อกำจัดยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านผู้ป่วยทุกหลังและรัศมี 100 เมตร รอบบ้านผู้ป่วย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2567 00:00 น.