โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อน้ำร้อน ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อน้ำร้อน ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L1467-04-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | สำนักงานเลขาฯกองทุน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สำนักงานเลขานุการกองทุน |
วันที่อนุมัติ | 12 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 129,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | สำนักงานเลขานุการกองทุน |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.425,99.474place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] | 35 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพ และประสานหน่วยงานองค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาค้นหาปัญหา และความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ ที่เกี่ยวกับการสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยได้มีการนำแผนที่ยุทธศาสตร์(Strategy Map) หรือแผนสุขภาพชุมชนมาเป็นเครื่องมือบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่แบบบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค และการติดตามผลการดำเนินงานกองทุนสุขภาพ ฯ ซึ่งบริหารจัดการกองทุนฯ โดยรูปแบบของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
การบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ คือการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2567 ข้อ 10 (๔) เพื่อสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ ๗ ในแต่ละปีงบประมาณนั้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดได้รับเงิน เพิ่มตามข้อ ๘ อาจสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้อีกไม่เกินร้อยละ ๕ และกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อจัดหาครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนได้ในวงเงินตามความจำเป็นและครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ให้เป็นทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของสำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการและพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อน้ำร้อน สำนักงานเลขานุการกองทุนฯ จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อน้ำร้อน ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บ่อน้ำร้อน โดยการจัดประชุมคณะกรรมการกองทุน อย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง ประชุมอนุกรรมการ (LTC) อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
|
||
2 | 2. เพื่อวางแผนการบริหารจัดการงบประมาณกองทุน โดยการจัดประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำแผนสุขภาพกองทุนฯ จำนวน 1 ครั้ง
|
||
3 | 3. เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนฯ โดยการจัดส่งเข้าอบรม/ประชุม/ดูงาน
|
ได้ดำเนินการบริหารจัดการกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพบรรลุวัตถุประสงค์
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2567 13:16 น.