กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตำบลบ้านควนมหัศจรรย์ 1000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L5307-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน
วันที่อนุมัติ 20 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มีนาคม 2568 - 29 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 9,440.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุหมาด ล่าดี้ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน เป็นกลไกที่มุ่งหวังให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน ที่เป็นรูปธรรมในการร่วมดำเนินงานดูแลส่งเสริมสุขภาพ และการได้รับสวัสดิการทางสังคมอย่างเท่าเทียม ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัยทุกคนในตำบลเพื่อให้เด็กปฐมวัยไทย มีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพพัฒนาการสมวัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีพร้อมส่งต่อทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ ซึ่งในพื้นที่ตำบลบ้านควนมีปัญหาในการดำเนินการให้ตำบลบ้านควนเป็นตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน ดังนี้ 1.หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ช้า 2. หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมขณะตั้งครรภ์ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การรับประทานอาหารตามใจปาก ไม่คำนึงถึงอาหารที่เหมาะสมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ 3. หญิงตั้งครรภ์ ขาดความรู้ด้านโภชนาการที่เหมาะสมและความรู้ในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ 4. หญิงตั้งครรภ์ใช้สารเสพติด 5.หญิงตั้งครรภ์มีความเชื่อผิดๆ เช่น ทานยาเสริมธาตุเหล็กทำให้เด็กตัวโตคลอดยาก 6.การเข้ารับบริการสาธารณสุข ไม่สะดวก การเดินทางลำบาก อีกทั้งไม่มีผู้นำส่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เนื่องจากคนในครอบครัวต้องออกไปทำงานนอกบ้าน 7. เด็กแรกเกิด ถึง 2 ปี ต้องอยู่กับผู้สูงอายุ (ปู่ ย่า ตา ยาย) ตามลำพัง เนื่องจากพ่อแม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน และ 8. การให้บริการการรับฝากครรภ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ มีการให้บริการเฉพาะวัน และไม่มีนอกเวลาทำการ ซึ่งไม่ตรงกับที่หญิงตั้งครรภ์ว่างและสะดวกมารับบริการ ซึ่งปัญหาเหล่านี้หากไม่เร่งแก้ปัญหา สุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี จะเกิดผลกระทบในเรื่องของเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัว เนื่องจากผู้ปกครอง (บิดา มารดา) หรือผู้ดูแลเด็ก ต้องพาเด็กที่มีปัญหาด้านโภชนาการ น้ำหนักตัวน้อย ไปติดตามการรักษาที่โรงพยาบาลบ่อยๆ ทำให้ทำงานได้ไม่เต็มที่ รายได้ลดลง ภาระค่าใช้จ่ายในการไปพบแพทย์ ในแต่ละครั้งประมาณ 300-400 บาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อรายได้ในแต่ละวัน ในระยะยาวส่งผลให้ผู้ปกครอง (บิดา มารดา) หรือผู้ดูแลเด็กมีภาวะเครียด จากสุขภาพของเด็กและภาระค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น อาจเกิดปัญหาครอบครัวตามมาได้ในระยะยาว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการตำบลบ้านควนมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วันของชีวิต ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูลขึ้น เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์และบุคคลในครอบครัว ผู้ดูแลเด็ก 0-5 ปี และชุมชนมีความรู้ ความสามารถในการดูแลสุขภาพครอบคลุมทุกด้านทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีแกนนำสร้างเสริมสุขภาพด้านอนามัยแม่และเด็ก
  1. เกิดคณะทำงาน ที่ประกอบด้วยอปท./รพ.สต/แกนนำชุมชน/ภาคประชาชน จำนวน 42 คน
  2. มีการกำหนดบทบาทของคณะทำงานที่ชัดเจน
  3. มีข้อมูลสถานการณ์ปัญหา เพื่อออกแบบแผนรายบุคคล
  4. มีข้อตกลงร่วมของคณะทำงานกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน
0.00
2 เพื่อให้ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม

1.เกิดการระดมทุนทรัพยากรที่ขับเคลื่อนการดำเนินการสนับสนุนการดูแลสุขภาพ
2.เกิดการสนับสนุนของภาคีเครือข่ายอย่างน้อย 2 เครือข่าย

0.00
3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และเด็กอายุ 0-2 ปีในพื้นที่ตำบลบ้านควนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

1.ร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ / ครบตามเกณฑ์
2.ร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์ได้บริโภคอาหารตามหลักโภชนาการและมีน้ำหนักตามเกณฑ์ในแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์
3.ร้อยละ 80 ของหญิงตั้งครรภ์ไม่มีภาวะซีด
4.ร้อยละ 80 เด็กแรกคลอดมีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม
5.ร้อยละ 80 เด็ก 0-5 ปีได้บริโภคอาหารตามวัยและมีมีน้ำหนักตามเกณฑ์ตามวัย
6.ร้อยละ 80 ของเด็ก 0-5 ปีมีพัฒนาการตามวัย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ม.ค. 68 - 29 ส.ค. 68 จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาเด็กและครอบครัวตำบลมหัศจรรย์ 1,000 Plus สู่ 2,500 วัน 0 5,040.00 -
1 มี.ค. 68 - 30 เม.ย. 68 ให้ความรู้ เรื่องการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ โภชนาการของหญิงตั้งครรภ์และการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุก เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด 0 2,500.00 -
1 - 31 ก.ค. 68 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน 0 1,900.00 -
รวม 0 9,440.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวและชุมชนในการดูแลกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และเด็ก 0-2 ปี สามารถดำเนินการต่อยอดในการดูแลต่อเนื่อง เด็กอายุ 2-5 ปี โดยชุมชนเป็นผู้ริเริ่มและดำเนินการต่อไป
2.เป็นจุดเริ่มต้นในการผลักดันให้ครอบครัวและชุมชนร่วมมือกันแก้ไขปัญหาสังคมของชุมชนอย่างแท้จริง
3.ชุมชนและภาคีเครือข่าย รับรู้ปัญหาร่วมกันและร่วมแก้ไขปัญหาตามความต้องการและบริบทของพื้นที่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2567 11:19 น.