กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพสมองกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (Mild Cognitive Impairment : MCI) ประจำปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L8291-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลย่านตาขาว
วันที่อนุมัติ 18 พฤศจิกายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2568 - 31 มีนาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพ็ญบุญญา พานิช นายแพทย์ชำนาญการ (ด้านเวชกรรม) รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลย่านตาขาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.406,99.674place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความเจริญทางเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข เป็นเหตุให้มนุษย์ชาติมีอายุยืนยาวขึ้น ประชากรในวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากในเกือบทุกมุมโลก การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนประชากรจำเป็นที่จะต้องวางแผนดูแลประชากรในวัยสูงอายุอย่างรอบด้าน รวมถึงด้านสุขภาพ ทั้งนี้วัยสูงอายุเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จึงมีโอกาสที่จะต้องเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บหลากหลายรูปแบบ เช่น การพลัดตกหกล้ม กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นต้น อีกทั้งความสามารถของสมองที่มีแนวโน้มเสื่อมถอยลง แม้การหลงลืมที่เกิดกับผู้สูงอายุ ดูเหมือนกับเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น แต่ในทางกลับกัน “ การหลงลืม” อาจเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงอาการของภาวะสมองเสื่อม ซึ่งไม่ใช่ ภาวะปกติของผู้สูงอายุ ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) เป็นกลุ่มอาการ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเสื่อมลงในความจำ ความคิด การรับรู้เวลาสถานที่และบุคคล ภาษา ความสามารถในการเรียนรู้และการตัดสินใจ รวมถึงความสามารถที่จะปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน นอกจากนี้ สามารถเกิดร่วมกับการเสื่อมถอยของการควบคุมอารมณ์ พฤติกรรมทางสังคมหรือแรงจูงใจ ซึ่งบางกรณีอาจเกิดนำมาก่อน ภาวะสมองเสื่อมมักพบในผู้สูงอายุ และพบได้มากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ทั่วโลกมีอาการของภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยเพิ่มเป็นสองเท่าทุกอายุที่มากขึ้น 6.3 ปี กล่าวคือ จำนวน 3.9 ต่อ 1,000 คน เมื่ออายุ 60 - 64 ปี จะเพิ่มเป็นจำนวน 104.8 ต่อ 1,000 คน เมื่ออายุ 90 ปีขึ้นไป ส่วนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Alzheimer Disease international (ADI) รายงานจำนวนประชากรที่มีภาวะสมองเสื่อม ว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 23 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2558 เป็น 71 ล้านคน ในปีพ.ศ. 2593 โดยคาดว่า ประเทศไทย ในปีพ.ศ. 2558 มีผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม 600,000 ราย และในปีพ.ศ. 2573 จะมี 1,117,000 ราย และเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีพ.ศ. 2593 เป็นจำนวน 2,077,000 ราย ซึ่งใกล้เคียงกับ การรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559 คาดประมาณจำนวนผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทยในพ.ศ. 2559 มีจำนวน 617,000 คน และเพิ่มขึ้นในพ.ศ. 2580 จำนวน 1,350,000 คน สถานการณ์โรคสมองเสื่อมจังหวัดตรัง ปี 2566 พบเสี่ยงสมองเสื่อม 1,465 คน จากการคัดกรองผู้สูงอายุ จำนวน 86,903 คน ข้อมูลทางสถิติเหล่านี้แสดงให้เห็นถึง จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ซึ่งควรได้รับการดูแลรักษาที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับทั่วโลก จำเป็นที่จะต้องมีการตื่นตัวและมีการเตรียมพร้อมรองรับผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม ทั้งในด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม การรักษา และชะลอความเสื่อมของสมอง ภาวการณ์รู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (Mild Cognitive Impairment : MCI) การเปลี่ยนแปลงจากการเป็นผู้สูงอายุที่สุขภาพดี ไม่พบความบกพร่องใด จนเข้าสู่ระยะที่มีความบกพร่องของความสามารถของสมองอย่างชัดเจน มีจุดเปลี่ยนผ่านที่เรียกว่า “การรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย” ซึ่งระยะที่อยู่ระหว่างการเสื่อมถอยของการรู้คิดตามปกติหรือวัยสูงอายุปกติ กับการเสื่อมถอยอย่างรุนแรงมากของภาวะสมองเสื่อม ผู้ที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยจะมีความบกพร่องที่พบได้ในด้านต่างๆ เช่น หลงลืมบ่อย คิดตัดสินใจได้ช้าลง เสียสมาธิได้ง่าย สับสนทิศทาง ติดขัดในการนึกหาคำพูด เป็นต้น แต่ยังสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง ไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ผู้สูงอายุที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย เป็นผู้ที่เสี่ยงต่อเกิดภาวะสมองเสื่อมมากกว่าผู้สูงอายุทั่วไป พบว่าผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ร้อยละ 15-20 ที่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยไม่ว่าจากสาเหตุใด โดยเฉพาะการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยที่มีปัญหาความจำ มีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นอัลไซเมอร์หรือภาวะสมองเสื่อมอื่นๆ มากกว่าผู้ที่ไม่มีการรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย     การพัฒนาศักยภาพสมอง หรือการฝึกการทำงานของสมอง หรือที่เรียกว่า Cognitive training หรือการกระตุ้นสมอง (Cognitive Stimulation) ผู้ที่มีภาวการณ์รู้คิดบกพร่องเล็กน้อย เป็นผู้ที่ควรได้รับการดูแลและกระตุ้นศักยภาพของสมองเพื่อชะลอความเสื่อมโดยไม่รีรอ หรือมุ่งหวังแต่การใช้ยา เนื่องด้วยยังไม่มียาชนิดใดที่ใช้รักษาอัลไซเมอร์ได้หายขาด มีเพียงยาที่ใช้เพื่อชะลออาการของโรคให้ความเสื่อมช้าลง อย่างไรก็ตามยังคงมีวิธีการศึกษาถึงวิธีการป้องกันภาวะสมองเสื่อมโดยไม่ใช้ยา จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของ ธัญญาลักษณ์ อโณทัยสินทวีและคณะ พบว่า การฝึกการทำงานของสมอง หรือที่เรียกว่า Cognitive training เป็นการฝึกปฏิบัติที่กำหนดแนวทางชัดเจนต่อกิจกรรมที่มุ่งเน้นความสามารถของสมองอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น ความจำ ความใส่ใจจด หรือการแก้ปัญหา พบว่ากลุ่มที่ได้รับการฝึกสมองสมองมีคะแนนดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการฝึกสมอง ที่มีรูปแบบชัดเจนในการชะลอความเสื่อมถอย เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ ฝึกฝนสิ่งใหม่ ดังนั้น การพัฒนาศักยภาพสมองในผู้สูงอายุที่มีมีความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย จึงมีความจำเป็นเพื่อชะลอและป้องกันภาวะสมองเสื่อมหรือชะลอการเสื่อมถอยของสภาพสมองนั่นเอง     จากนโยบายด้านผู้สูงอายุของกระทรวงสาธารณสุข ที่มุ่งเป้าให้ผู้สูงอายุต้องได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบและทั่วถึง การดำเนินงานจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุในทุกระดับโรงพยาบาล เน้นการจัดบริการในกลุ่มภาวะสมองเสื่อมและการหกล้ม ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย เป็นกลุ่มที่ต้องให้ความสำคัญด้านการดูแลสุขภาพทางร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการตระหนักเห็นความสำคัญและจำเป็นในการป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ข้อมูลด้านประชากรของอำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ 2566 มีจำนวนประชากร 52,350 คน เป็นผู้สูงอายุ 11,136 คน โดยได้รับการคัดกรองภาวะสมองเสื่อมและสงสัยมีภาวะด้านความคิดและความจำผิดปกติ 268 คน คลินิกผู้สูงอายุโรงพยาบาลย่านตาขาวจึงนำกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย มาจัดกิจกรรมตามโปรแกรมการฝึกสมองที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะปริชานปัญญาบกพร่องเล็กน้อย เพื่อชะลอและป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม และกลไกการเกิดโรครวมทั้งรู้จักวิธีปฏิบัติตน เพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม

ผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม อย่างน้อยร้อยละ 80

2 เพื่อเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุทำให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

หลังเข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมได้คะแนน Montreal cognitive assessment test (MoCA) เท่าเดิม หรือมากกว่าเดิม

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 23,100.00 0 0.00 23,100.00
2 - 31 ม.ค. 68 กิจกรรมที่ 1 ประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่่อม การรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย (MCI) ความสามารถของสมอง การฝึกสมองอย่างเป็นระบบและรูปแบบการจัดกิจกรรมกลุ่มแก่ผู้สูงอายุ 20 1,800.00 - -
2 - 31 ม.ค. 68 กิจกรรมที่ 2 การประเมินความสามารถของสมอง(Cognitivefunction) ร่วมกับภาวะคัดกรองภาวะซึมเศร้า ก่อนร่วมกิจกรรมกลุ่ม 20 400.00 - -
2 ม.ค. 68 - 31 มี.ค. 68 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรวมกลุ่ม จำนวน 6 ครั้ง 0 20,900.00 - -
3 - 31 มี.ค. 68 กิจกรรมที่ 4 การประเมินความสามารถของสมอง(Cognitive function) หลัง ร่วมกิจกรรมกลุ่ม 0 0.00 - -
รวมทั้งสิ้น 40 23,100.00 0 0.00 23,100.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้ผู้สูงอายุเกิดความรู้ ตระหนักเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม
  2. เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีขณะทำกิจกรรมร่วมกัน
  3. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมประเมินมีภาวะความบกพร่องของสมองไม่มากกว่าเดิม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2567 10:01 น.