กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเข้าค่ายอบรมเยาวชนปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L5312-2-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการมัสยิดตะโละใส
วันที่อนุมัติ 19 พฤษภาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มิถุนายน 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 72,989.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมพร เหมรา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอนัญญา เเสะหลี
พื้นที่ดำเนินการ ม.4 บ้านตะโละใส ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็ก และเยาวชน ทราบถึงพิษภัยของยาเสพติดและรู้จักวิธีป้องกันให้ห่างไกลจากยาเสพติด
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบัน ปัญหายาเสพติดและอบายมุขยังคงเป็นภัยร้ายแรงต่อเยาวชน โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนช่วงอายุ 10-12 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีความอยากรู้อยากลองและขาดวุฒิภาวะในการไตร่ตรองพฤติกรรมที่เหมาะสม ปัญหานี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ และอนาคตของเยาวชน รวมถึงกระทบต่อครอบครัวและสังคมโดยรวม ดังนั้นเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและเสริมสร้างทักษะชีวิตที่ดีให้แก่เยาวชน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดกิจกรรมอบรมให้เยาวชนตระหนักถึงโทษภัยของยาเสพติดและอบายมุข รวมถึงส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์และการเรียนรู้เชิงบวกภายในค่ายอบรมครั้งนี้ ปัญหายาเสพติดในพื้นที่หมู่ ๔ บ้านตะโละใส จังหวัดสตูล เป็นประเด็นที่มีส่งผลกระทบในหลายมิติ
เยาวชนในพื้นที่บางคนขาดโอกาสทางการศึกษา ทำให้บางคนหลงผิดเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดทั้งในฐานะผู้เสพและผู้ค้ายา การเข้าถึงยาเสพติดได้ง่ายในพื้นที่มีเครือข่ายของผู้ค้ายาที่แทรกซึมเข้ามาในชุมชน ซึ่งอาศัยช่องว่างของการบังคับใช้กฎหมายและความยากจนเป็นปัจจัยหนุน การใช้ยาเสพติดเพื่อหลีกหนีความเครียดและปัญหาชีวิต ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่จำนวนไม่น้อยเผชิญกับภาวะความยากจน ปัญหาครอบครัว หรือความไม่มั่นคงทางสังคม ส่งผลให้บางคนใช้ยาเสพติดเป็นทางออกชั่วคราว จงมีผลกระทบ อาจนำไปสู่การเกิดอาชญากรรม เช่น การลักขโมยหรือปล้นจี้ เพื่อหาเงินไปซื้อยา ซึ่งก็เกิดขึ้นมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านสุขภาพ: ผู้ที่ติดยาเสพติดมักประสบปัญหาสุขภาพ เช่น โรคตับ โรคหัวใจ ซึ่งมีผลกระทบต่อชุมชน ความไม่ปลอดภัย ความหวาดกลัว และความเสื่อมโทรมของสังคมในชุมชน ส่งผลให้คุณภาพชีวิตโดยรวมของคนในพื้นที่ลดลงการขาดกลไกของครอบครัวและชุมชนบางครอบครัวอาจไม่สามารถดูแลหรือให้คำแนะนำที่ดีแก่สมาชิกในบ้าน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เข้มงวดการควบคุมยาเสพติดในพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่อาจทำได้ยาก เนื่องจากขาดเจ้าหน้าที่หรือทรัพยากรที่เพียงพอ ดังนั้นทางองค์กรศาสนา มัสยิดบ้านตะโละใสร่วมกับคณะนักศึกษาเอกการสอนอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีและผุ้เกี่ยวข้อง จึงเล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการสร้างโอกาสทางการศึกษา สนับสนุนการศึกษาทั้งด้านศาสนาและสามัญเพื่อให้เยาวชนในชุมชนมีทางเลือกที่ดีขึ้น การส่งเสริมชุมชนเข้มแข็งสร้างเครือข่ายของเยาวชนผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง อาสาสมัคร และครอบครัวให้มีส่วนร่วมในการดูแลและแก้ไขปัญหายาเสพติด ส่งเสริมให้มีการลด ละเลิกการใช้ยาเสพติดในหมู่เยาวชนโดยการสนับสนุนการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดกับทางศูนย์ที่จัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูหรือโปรแกรมบำบัดยาเสพติดในพื้นที่และนอกพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องการเลิกยา การสนับสนุนให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เพิ่มความเข้มงวดในการปราบปรามเครือข่ายค้ายาเสพติด และป้องกันไม่ให้ยาแพร่ระบาดในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เยาวชนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติดและอบายมุข

เด็กและเยาวชนมีความรู้เเละตระหนักถึงโทษของยาเสพย์ติด ร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและแนวคิดเชิงบวกในการป้องกันตนเองจากยาเสพติดและอบายมุข

เด็กและเยาวชนมีทักษะชีวิตและแนวคิดเชิงบวกในการป้องกันตนเองจากยาเสพติดและอบายมุข โดยใช้เเบบสอบถาม

80.00
3 เพื่อส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และปลูกฝังจิตสำนึกในการเป็นคนดีของสังคม

มีเครือข่ายเยาวชนที่มีความเข้มแข็ง คือกลุ่มเยาวชนมัสยิดบ้านตะโละใส

1.00
4 4.เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเยาวชนในชุมชนผ่านกิจกรรมกลุ่ม

เด็กและเยาวชนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ร้อยละ 100

0.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 72,989.00 0 0.00 72,989.00
10 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ประชุมคณะดำเนินงานโครงการเข้าค่ายอบรมเยาวชนปลอดยาเสพติดและอบายมุข 0 150.00 - -
10 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 เข้าค่ายอบรมเยาวชนปลอดยาเสพติดและอบายมุข ระยะเวลา ๓ วัน ๒ คืน 0 72,839.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 72,989.00 0 0.00 72,989.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เยาวชนเข้าร่วมโครงการครบตามเป้าหมายจำนวน ๘0 คน ๒. เยาวชนอย่างน้อย 90% มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติดและอบายมุขเพิ่มขึ้น
(จากการประเมินก่อนและหลังอบรม) ๓. เยาวชนอย่างน้อย 85% สามารถระบุแนวทางการป้องกันตนเองจากยาเสพติดและอบายมุขได้ถูกต้อง ๔. เยาวชนอย่างน้อย 90% มีความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรมและเนื้อหาในค่ายอบรมในระดับ "มาก" ถึง "มากที่สุด" ๕. เกิดการเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเยาวชนในกลุ่มเป้าหมาย และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2567 00:00 น.