โครงการ อย.น้อย แก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเกินในเด็กนักเรียนโรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์
ชื่อโครงการ | โครงการ อย.น้อย แก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเกินในเด็กนักเรียนโรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ |
รหัสโครงการ | 68-L8291-02-16 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ |
วันที่อนุมัติ | 18 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 18,488.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอาคม โพชสาลี ผู้อำนวยการโรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลย่านตาขาว อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.406,99.674place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
อาหารเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ อาหารช่วยเสริมสร้างให้ร่างการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนสึกหรอของร่างกาย และควบคุมการทำงานของร่างกายให้ปกติ การกินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ คือ อาหารดี มีประโยชน์ สะอาด ปลอดภัย และมีปริมาณเพียงพอโดยคำนึกถึงคุณค่าของอาหาร ปัจจุบันภาวะโภชนาการยังเป็นปัญหาสำคัญในเด็กวัย เรียน ทั้งโภชนาการเกิน น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน (เริ่มอ้วน และอ้วน) และภาวะโภชนาการขาด (ผอม) น้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน การที่เด็กมีภาวะโภชนาการเกินจนอ้วนทำให้เด็กต้องรับน้ำหนักตัวมากกว่า ปกติส่งผล ให้เด็กเหนื่อยง่าย เป็นโรคไขข้อ หรือโรคที่เกี่ยวกับ ข้อกระดูก ลักษณะการเดินผิดปกติ ขาโก่ง ขาแป มีผื่นคันบริเวณข้อพับจากการอับชื้นเกิดเป็นแผลได้ มีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ หายใจ ลำบาก และมีปัญหาสุขภาพจิตได้จากการถูกเพื่อนล้อเลียน ขาดความมั่นใจ เด็กที่อ้วนมากจะมีระดับ อิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าร้อยละ 90 ตลอดเวลา ครึ่งหนึ่งของการนอนหลับทำ ให้มีอาการง่วงซึม ในเวลากลางวัน ปวดศีรษะในตอนเช้า ผลการเรียน และความจำต่ำกว่าเด็กที่ไม่มีปัญหา จากการสำรวจนักเรียนโรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ พบว่า มีนักเรียนจำนวนมากที่เลือกรับประทานอาหารจนเกิดภาวะโภชนาการเกิน ซึ่งส่งผลให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการเกิน (น้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์) จึงจัดทำโครงการนี้เพื่อควบคุม ดูแล และส่งเสริมการออกกำลังกาย ให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้กลุ่มนักเรียนภาวะโภชนาการเกินได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเลือกรับประทานอาหาร และออกกำลังกายได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80 ของกลุ่มนักเรียนมีปัญหาภาวะโภชนาการเกินได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเลือกรับประทานอาหารและออกกำลังกาย ได้อย่างถูกต้อง |
||
2 | เพื่อให้กลุ่มนักเรียนภาวะโภชนาการเกิน ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองด้านภาวะโภชนาการ ได้อย่างถูกต้อง กลุ่มนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน มีดัชนีมวลกายและรอบเอวลดลง อย่างน้อยร้อยละ 80 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 100 | 18,488.00 | 0 | 0.00 | 18,488.00 | |
1 พ.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | อบรม ให้ความรู้ | 100 | 18,488.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 100 | 18,488.00 | 0 | 0.00 | 18,488.00 |
- นักเรียนกลุ่มภาวะโภชนาการเกิน ได้รับความรู้เรื่องการเลือกรับประทานอาหาร ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย
- นักเรียนกลุ่มภาวะโภชนาการเกิน ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองด้านภาวะโภชนาการ ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนได้อย่างถูกต้อง
- นักเรียนกลุ่มภาวะโภชนาการเกิน ได้รับความรู้เรื่องการออกกำลังกายและเคล็ดลับการควบคุมน้ำหนัก เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2567 12:39 น.