เยาวชนรุ่นใหม่ เด็กวังประจัน ห่างไกลบุหรี่
ชื่อโครงการ | เยาวชนรุ่นใหม่ เด็กวังประจัน ห่างไกลบุหรี่ |
รหัสโครงการ | 6 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านวังประจัน |
วันที่อนุมัติ | 25 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 20 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 7,932.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวสุนทรี ณ นคร |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 140 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบัน ปัญหาจากการสูบบุหรี่ทำให้เกิดผลกระทบในระบบสุขภาพของประชาชนทั้งทางตรงคือ ผู้สูบบุหรี่เอง และทางอ้อมคือ ผู้ที่รับพิษจากควันบุหรี่ที่ผู้ใกล้ชิดเป็นผู้สูบ คือบุหรี่มือสองทั้งที่ประเทศไทยมีการรณรงค์ควบคุมการบริโภคยาสูบเกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2517 แต่ในปี พ.ศ. 2551 บุหรี่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกมากกว่า 5 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่มากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรควัณโรค โรคเอดส์และไข้มาลาเรียรวมกัน และคาดว่าในปีพ.ศ. 2573 จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านคนต่อปีโดยพบว่ามะเร็งที่มีอุบัติการณ์สูงขึ้นในผู้สูบบุหรี่ได้แก่ มะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายไทย อีกทั้งการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องจะทำให้ผู้สูบเกิดภาวะหลอดเลือดตีบตัน และเกิดปัญหาการสูญเสียการทำงานของหลอดเลือดโคโรนารีที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ การสูบบุหรี่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยงทำให้ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก และหัวใจวาย ความดันโลหิตสูงและหัวใจเต้นผิดปกติ ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมจะมีโอกาสเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสูงกว่าคนที่ไม่เคยได้รับ 1.3 เท่า และจะมีโอกาสเกิดมะเร็งปอดได้มากขึ้นประมาณ 1.8 เท่า โดยกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษในการได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมได้แก่ ทารกในครรภ์และเด็ก หากมารดาตั้งครรภ์สูบบุหรี่หรือได้รับควันดังกล่าวจะมีโอกาสเกิดผลเสียต่อทารกในครรภ์และเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูง เช่นทารกน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด เด็กหากได้รับควันดังกล่าวจะมีโอกาสเกิดภาวะไหลตาย ปอดอักเสบติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดได้มากกว่าเด็กทั่วไป
การสูบบุหรี่ เป็นพฤติกรรมที่พบเห็นได้ในทุกด้านตั้งแต่วัยรุ่นเป็นต้นไป จนถึงวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ พฤติกรรมของการสูบบุหรี่ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากวัยรุ่น โดยเฉพาะในกลุ่มเพื่อน ซึ่งจะนำไปสู่การมีพฤติกรรมของการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นพบว่ามีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เกิดจากวัยรุ่นมีความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ ขาดความตระหนักในพิษภัยของบุหรี่ วัยรุ่นเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ด้วยตนเอง อยากรู้ อยากลอง ต้องการเรียนรู้ในกลุ่มเพื่อนสนิทอีกทั้งยังต้องการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม และปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้าเป็นทางเลือกใหม่สำหรับนักสูบหน้าใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในชุมชน
โรงเรียนบ้านวังประจันได้เล็งเห็นถึงปัญหาการสูบบุหรี่ที่อายุของนักสูบบุหรี่หน้าใหม่มีอายุน้อยลง จึงต้องมีมาตรการเฝ้าระวังในกลุ่มเยาวชนมากขึ้น จึงได้จัดทำโครงการเยาวชนรุ่นใหม่ เด็กวังประจัน ห่างไกลบุหรี่ เพราะบุหรี่เป็นอันตรายต่อทุกคนทั้งที่เป็นผู้สูบบุหรี่ และผู้ไม่สูบบุหรี่ แต่ได้รับควันบุหรี่มือสอง โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้สร้างแรงจูงใจ รับรู้ถึงพิษภัยของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า สร้างความตระหนักในการเลิกบุหรี่เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองและบุคคลรอบด้าน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนตระหนักสนใจและมีส่วนร่วมในการควบคุมการบริโภคยาสูบและร่วมรณรงค์ เพื่อการลด ละ เลิก บุหรี่่
|
0.00 | |
2 | เพื่อให้เด็กและเยาวชนในโรงเรียนเพิ่มพูนความรู้ ทักษะการเผยแพร่แนะนำการควบคุมการบริโภคยาสูบและการรณรงค์เพื่อการลด ละ เลิกบุหรี่
|
0.00 | |
3 | เพื่อให้เด็กและเยาวชนในโรงเรียนได้เห็นคุณค่าในตนเองและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 7,932.00 | 0 | 0.00 | |
1 - 10 เม.ย. 68 | ประชุมคณะครู เพื่อวางแผนเตรียมจัดกิจกรรม | 0 | 0.00 | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | ให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของบุหรี่ | 0 | 7,932.00 | - |
- นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษและอันตรายจากบุหรี่
- นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีความตระหนัก สนใจและมีส่วนร่วมในการควบคุมการบริโภคยาสูบ และร่วมรณรงค์ เพื่อการลด ละ เลิก บุหรี่่
- นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนได้เห็นคุณค่าในตนเองและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2567 00:00 น.