กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงวัยกายใจดีชีวีมีสุข

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงวัยกายใจดีชีวีมีสุข
รหัสโครงการ L90911801004
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการ
วันที่อนุมัติ 28 กันยายน 2560
ปี 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2560 - 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 74,100.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นายสละ พงษบุญ 2.นายปรานอม ไทยเจริญ 3.ดต.ทวี อรุณนพรัตน์ 4.นายวิเชียร เพ็งบุบผา 5.นายอาทิตย์ ยะหัตตะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองยาว อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ประเด็น
แผนงานกิจกรรมทางกาย
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) ขนาด 60.00
  2. ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) ขนาด 50.00
  3. ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายเช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน ขนาด 30.00
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่
  2. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ
  3. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมฟื้นฟูสุขภาพแก่ผู้สูงอายุประเภทติดสังคม
  2. กิจกรรมสำรวจเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ
  3. คัดกรองโรคในกลุ่มผู้สูงอายุ
วิธีดำเนินการ
  1. ขั้นตอนการวางแผน   -ร่วมประชุมวางแผน ทบทวนผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมา และวางแผนการจัดกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม   -ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองยาว   -แต่งตั้งผู้รับผิดชอบรายหมู่บ้าน
  2. สำรวจปัญหา ความต้องการด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสภาพ ผู้สูงอายุ
  3. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยาว
  4. ขั้นตอนดำเนินการ กิจกรรมที่ 1
      -จัดทำทะเบียนผู้สูงอายุและแยกประเภทผู้สูงอายุ ตามเกณฑ์ ADL   -รับสมัครสมาชิกชมรมผู้สูงอายุเพิ่มและจัดทำทะเบียนสมาชิกอย่างครบถ้วน   -ทบทวน/ปรับปรุงคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้พิการตำบล หนองยาว
    กิจกรรมที่ 2   -ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ภาวะซึมเศร้า ภาวะเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้สูงอายุ   -ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังทุกคน กิจกรรมที่ 3   -จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ ประเภทติดสังคม เดือนละ 1 ครั้ง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ร้อยละ 70 ของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) ร้อยละ 60 ของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) ร้อยละ 50 หน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย เช่น การออกกำลังกาย การมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน