โครงการขยับกายสบายชีวี โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดสตูลสันตยาราม)
ชื่อโครงการ | โครงการขยับกายสบายชีวี โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดสตูลสันตยาราม) |
รหัสโครงการ | 68-L8008-02-20 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดสตูลสันตยาราม) |
วันที่อนุมัติ | 26 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 28,400.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวปัญญลักษณ์ สุวรรณรัตน์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 พ.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 28,400.00 | |||
รวมงบประมาณ | 28,400.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | นักเรียนร้อยละ 60 มีกิจกรรมทางกายในโรงเรียนไม่เพียงพอ (คน) | 165.00 | ||
2 | นักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน (คน) | 10.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โครงการ "ขยับกายสบายชีวี" ในโรงเรียน เกิดจากความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและการออกกำลังกายในวัยเรียน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายและสมองของเด็กและเยาวชนกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอมีผลดีต่อการพัฒนาทางด้านร่างกายและจิตใจ เช่น การเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกระดูกการปรับสมดุลร่างกาย และการลดความเครียด รวมถึงช่วยในการพัฒนาทักษะทางสังคมผ่านการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น ในปัจจุบัน การศึกษามักให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ทางวิชาการเป็นหลัก ทำให้เด็กและเยาวชนบางส่วนขาดการเคลื่อนไหวหรือการออกกำลังกายที่เพียงพอ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์ การนั่งเรียนในห้องเรียนเป็นเวลานานโดยไม่ขยับตัวอาจทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ เช่น อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง และปัญหาภาวะอ้วน นักเรียนกว่าร้อยละ 60 ของนักเรียนทั้งหมด (276 คน) มีภาวะเนือยนิ่งหรือออกกำลังกายไม่เพียงพอ โครงการ "ขยับกายสบายชีวี" ในโรงเรียนจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในระหว่างการเรียนและนอกเวลาเรียน โดยมีกิจกรรมที่สามารถทำได้ง่ายและเหมาะสมกับวัย เช่น การยึดเหยียด การเล่นก็ฬาเบาๆ การเดินเล่นหรือการทำกิจกรรมที่เสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย การขยับร่างกายเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนมีสุขภาพดี มีความสุข และพร้อมสำหรับการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจตามเกณฑ์ที่กำหนด |
0.00 | 0.00 |
2 | เพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่งให้แก่นักเรียนกลุ่มเป้าหมายและนักเรียนกลุ่มทั่วไป 2.1 จัดกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียนเป็นประจำทุกวัน เป็นระยะเวลา อย่างน้อย 3 เดือน |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 28,400.00 | 1 | 28,400.00 | 0.00 | |
1 พ.ค. 68 - 30 มิ.ย. 68 | อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมในเด็กนักเรียน | 0 | 28,400.00 | ✔ | 28,400.00 | 0.00 | |
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | ขยับกายสบายชีวี | 0 | 0.00 | - | - | ||
1 - 30 ก.ย. 68 | ติดตามประเมินผลกลุ่มเป้าหมาย | 0 | 0.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 28,400.00 | 1 | 28,400.00 | 0.00 |
- นักเรียนได้ดูแลและส่งเสริมสุขภาพกายและจิตของตนเอง โดยการออกกำลังกาย
- นักเรียนได้เรียนรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพทางร่างกายและจิตใจด้วยตนเอง
- นักเรียนได้ออกกำลังกายที่ถูกต้อง ถูกวิธีและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 00:00 น.