โครงการผมสะอาดปราศจากเหาในนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดชนาธิปเฉลิม)
ชื่อโครงการ | โครงการผมสะอาดปราศจากเหาในนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดชนาธิปเฉลิม) |
รหัสโครงการ | 68-L8008-02-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดชนาธิปเฉลิม) |
วันที่อนุมัติ | 10 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 พฤษภาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 มิถุนายน 2568 |
งบประมาณ | 28,565.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางโสภาวรรณ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 3 ก.พ. 2568 | 31 พ.ค. 2568 | 28,565.00 | |||
รวมงบประมาณ | 28,565.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 204 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนนักเรียนหญิง ร.ร. เทศบาล 2 (วัดชนาธิปเฉลิม) (คน) | 433.00 | ||
2 | จำนวนนักเรียนหญิง ที่เป็นเหา (คน) | 204.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การเป็นเหาในเด็กนักเรียนนับว่าเป็นปัญหาสำคัญสำหรับประเทศไทย เนื่องจากนักเรียนที่เป็นเหาจะขาดสมาธิในการเรียนและสูญเสียบุคลิกภาพที่ดี พบว่าคนที่เป็นเหาจะมีอาการคันศีรษะอย่างมาก เนื่องจากน้ำลายของตัวเหาที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อหนังศีรษะ การเกาหนังศีรษะอย่างมากอาจทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อเรื้อรังได้ โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดชนาธิปเฉลิม) มีเด็กนักเรียนที่เป็นเหาจำนวนมาก จึงมีการติดต่อโดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการใกล้ชิดหรือใช้ของร่วมกัน นอกจากนี้เหายังเพิ่มจำนวนและขยายพันธ์อย่างรวดเร็วได้ตลอดปี โอกาสหายจากโรคนี้ จึงค่อนข้างยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดโรคซ้ำ การติดเห็บพบได้มากในเด็กที่รักษาความสะอาดของศีรษะไม่ดีพอ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดูและเอาใจใส่จากผู้ปกครองและครูอีกด้วย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดผม นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดผมร้อยละ 80 |
50.00 | 80.00 |
2 | เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่เป็นเหาให้น้อยลง จำนวนนักเรียนที่เป็นเหาลดลง ร้อยละ 80 |
204.00 | 87.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
3 ก.พ. 68 - 31 มี.ค. 68 | ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดผม | 0 | 9,045.00 | - | ||
3 มี.ค. 68 - 30 เม.ย. 68 | กำจัดเหาในโรงเรียน | 0 | 19,520.00 | - | ||
1 - 31 พ.ค. 68 | ติดตามประเมินผลสุขภาพผมนักเรียน | 0 | 0.00 | ✔ | 28,565.00 | |
รวม | 0 | 28,565.00 | 1 | 28,565.00 |
- นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดผม
- นักเรียนหญิงเป็นเหาลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 00:00 น.