กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารและพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.คลองแดน ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L5218-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อบต.คลองแดน
วันที่อนุมัติ 22 พฤศจิกายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 39,918.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพัฒยะ หิมลาภ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.912,100.319place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละคณะกรรมการมีความรู้เรื่องประกาศฯ และการดำเนินงานกองทุน

ที่มา: (จำนวนคณะกรรมการกองทุนที่ผ่านการทดสอบแล้วเข้าใจ/จำนวนคณะฯทั้งหมด)

70.00
2 ร้อยละของโครงการที่ส่งผลงานสำเร็จ

ที่มา: (จำนวนโครงการที่ส่งผลงาน/โครงการทั้งหมด)

20.00
3 จำนวนครั้งการประชุมคณะอนุ LTC ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง/ปี

ที่มา: (ประกาศฯ กำหนดให้ประชุมอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง)

10.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (The Community Health Security Fund)"กองทุนสุขภาพตำบล"นับเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผน และส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ สามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน ตามประกาศฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ.2567 และประกาศฯ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2567 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้บุคคลที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมี ส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ ดังนี้ (1) เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข โดยเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น (2) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคขององค์กร กลุ่มประชาชนหรือหน่วยงานอื่น ได้ดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ให้แก่สมาชิกหรือประชาชนในพื้นที่ และกรณีมีความจำเป็นต้องจัดซื้อวัสดุที่มีลักษณะเป็นครุภัณฑ์ให้สนับสนุนได้ในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาทต่อโครงการวัสดุที่มีลักษณะเป็นครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาของกลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่น ที่ได้รับการสนับสนุนนั้นๆ (3) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์ชื่ออื่นหรือหน่วยงานที่ดูแล ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ชื่ออื่นหรือหน่วยงานที่ดูแลดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด (4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 เงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในแต่ละปีงบประมาณนั้น และหน่วยงานเข้าร่วมจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จะได้รับสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้อีกร้อยละ 5 ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ครุภัณฑ์นั้นจะต้องมีราคาไม่เกิน 20,000 บาทต่อหน่วย โดยการจัดซื้อจัดจ้างให้ใช้ระเบียบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอนุโลม และครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ (5) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้ (6) เพื่อสนับสนุนเป็นค่าจ้างหรือค่าตอบแทนหรือค่าป่วยการของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจนำเงินไปใช้จ่ายเป็นค่าตอบแทนหรือป่วยการของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง (7) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขอื่นตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
(8) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการพาหนะรับส่งผู้ทุพพลภาพเพื่อเข้ารับบริการสาธารณสุขตามที่สำนักงานกำหนด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดสัดส่วนเงินคงเหลือสะสม(ยกมาจากปีผ่านมา/รายรับแต่ละปี) ลง

เงินคงเหลือสะสม(ยกมาจากปีผ่านมา/รายรับแต่ละปี)ลดลง

2 เพื่อเพิ่มสัดส่วนคณะกรรมการมีความรู้เรื่องประกาศฯ และการดำเนินงานกองทุนขึ้น

การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ

3 เพื่อเพิ่มสัดส่วนโครงการที่ส่งผลงานสำเร็จ

รายงานผลภายในระยะเวลาของการดำเนินงานที่ตั้งไว้

4 เพื่อเพิ่มการประชุมคณะอนุ LTC ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง/ปี

การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 67พ.ย. 67ธ.ค. 67ม.ค. 68ก.พ. 68มี.ค. 68เม.ย. 68พ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68
1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคลองแดน(1 ต.ค. 2567-30 ก.ย. 2568) 32,000.00                        
2 กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC(1 ธ.ค. 2567-31 ก.ค. 2568) 3,980.00                        
3 กิจกรรมที่ 3 ประชุมคณะอนุกรรมการ การพิจารณากลั่นกรองโครงการ(1 ม.ค. 2568-31 ม.ค. 2568) 2,300.00                        
4 กิจกรรมที่ 4 ประชุมคณะทำงานการติดตามประเมินผลโครงการ(1 ก.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) 1,638.00                        
รวม 39,918.00
1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคลองแดน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 76 32,000.00 0 0.00 32,000.00
1 ต.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคลองแดน ครั้งที่ 1 /2568 19 8,000.00 - -
1 ม.ค. 68 - 31 มี.ค. 68 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคลองแดน ครั้งที่ 2 /2568 19 8,000.00 - -
1 เม.ย. 68 - 30 มิ.ย. 68 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคลองแดน ครั้งที่ 3 /2568 19 8,000.00 - -
1 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคลองแดน ครั้งที่ 4 /2568 19 8,000.00 - -
2 กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 10 3,980.00 0 0.00 3,980.00
1 ธ.ค. 67 - 31 มี.ค. 68 ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC 10 3,980.00 - -
3 กิจกรรมที่ 3 ประชุมคณะอนุกรรมการ การพิจารณากลั่นกรองโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 8 2,300.00 0 0.00 2,300.00
1 - 31 ม.ค. 68 ประชุมคณะอนุกรรมการ การพิจารณากลั่นกรองโครงการ 8 2,300.00 - -
4 กิจกรรมที่ 4 ประชุมคณะทำงานการติดตามประเมินผลโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 7 1,638.00 0 0.00 1,638.00
1 ม.ค. 68 - 31 มี.ค. 68 กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานการติดตามประเมินผลโครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 7 1,638.00 - -
รวมทั้งสิ้น 101 39,918.00 0 0.00 39,918.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 10:58 น.