กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีใส่ใจป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
รหัสโครงการ 68–L2518-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไม้ฝาด
วันที่อนุมัติ 2 ตุลาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 20,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรัตนาภรณ์ บือราเฮง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ ๒ ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย รองจากมะเร็งเต้านมปัจจุบันในประเทศไทยแต่ละปีจะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ราย และเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก ๕,๐๐๐ ราย อัตราการเสียชีวิตของสตรีไทยเพิ่มขึ้นจาก ๗ คน/วัน เป็น ๑๔คน/วัน สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์ เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมและครอบครัวตามมาอย่างมากมายแต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ร้อยละ ๓๐ – ๔๐ สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งตั้งแต่ระยะแรก จะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงที ดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ได้ตั้งเกณฑ์ตัวชี้วัด ร้อยละ 20 ในแต่ละปี เป็นเวลา 5 ปี ให้ได้ตามเกณฑ์ร้อยละ 100 การคัดกรองตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรีตำบลกายูคละเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไม้ฝาดในกลุ่ม เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายปีงบประมาณ 2566 ทั้งหมด 704 คนต้องได้รับการตรวจ ร้อยละ 20 ในปีงบประมาณ 2566ได้คัดกรองมะเร็งปากมดลูกไปแล้ว 27 คน คิดเป็นร้อยละ 3.83 กลุ่มเป้าหมายปีงบประมาณ 2567 ทั้งหมด 704 คน ต้องได้รับการคัดกรองในปีงบประมาณ 2567 จำนวน 140 คน กลุ่มเป้าหมายปีงบประมาณ 2568 จำนวน 90 คนการดำเนินงานคัดกรองตรวจมะเร็งปากมดลูกมีความยากลำบากในการติดตามเนื่องจากกลุ่มเป้าหมายมีความรู้สึกเขินอาย ไม่กล้าที่จะมาตรวจคัดกรองที่สถานบริการ วิตกกังวลกับผลของการตรวจ และไม่เห็นความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูกเป้าหมายในแต่ละปี มีความยากลำบากในการติดตามทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไม้ฝาดต้องมีการรณรงค์และจำเป็นต้องใช้เครือข่ายด้านสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนช่วยในการ ดำเนินงานดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไม้ฝาด ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการสตรีใส่ใจป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ในกลุ่มเสี่ยงให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA TEST และตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

ร้อยละ 60 ของกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี  HPV DNA TEST  และตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

90.00 90.00
2 สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม

60.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,800.00 0 0.00
2 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 อบรมให้ความรู้ 0 20,800.00 -
2 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 กิจกรรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV TEST และตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ที่ผ่านระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมสามารถดูแลตนเองและป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้ และมีการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก 5 ปี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2567 00:00 น.