กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมป้องกันและลดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงวัยเจริญพันธุ์ด้วยยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
รหัสโครงการ 68-L1513-01-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลควนเมา
วันที่อนุมัติ 12 ธันวาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 ธันวาคม 2567 - 15 เมษายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 15 พฤษภาคม 2568
งบประมาณ 19,340.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายทวี จบสองชั้น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนเมา อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ไม่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพและไม่มีความพร้อมทางด้านร่างกายในการตั้งครรภ์
80.00
2 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธ์ุมีระดับผลตรวจเลือดที่มีภาวะโลหิตจาง
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หญิงวัยเจริญพันธุ์เป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง เนื่องจากมีการสูญเสียธาตุเหล็กไปกับประจำเดือน ประมาณ ๑๒.๕-๑๕ มิลลิกรัมต่อเดือน หรือเฉลี่ยวันละ ๐.๔-๐.๕ มิลลิกรัม ซึ่งปกติร่างกายจะสูญเสียธาตุเหล็กจากการขับถ่ายวันละ ๐.๕-๑.๐ มิลลิกรัม และยังมีการสูญเสียธาตุเหล็กออกไปทางปัสสาวะ ผิวหนัง บาดแผล และการบริจาคโลหิต นอกจากนี้พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องทำให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ผู้ที่มีภาวะโลหิตจางจะมีอาการแตกต่างกันออกไปตามสาเหตุ ตั้งแต่อาการเล็กๆน้อยๆไปจนถึงรุนแรงหรือในบางรายอาจไม่พบอาการผิดปกติใดๆ จนกว่าภาวะโลหิตจางรุนแรงมากขึ้น ซึ่งอาการผิดปกติเป็นผลมาจากการทำงานของหัวใจที่หนักขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนจากเลือดมากขึ้น โดยอาการที่พบส่วนมาก ได้แก่ รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย แม้จะเป็นการทำกิจกรรมปกติในชีวิตประจำวัน มีอาการตัวซีด อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น หายใจลำบากขณะออกแรง มึนงง วิงเวียนศีรษะ ปวดหัว มือเท้าเย็น ผิวซีดหรือผิวเหลือง เจ็บหน้าอก ใจสั่น ในขั้นรุนแรงอาจทำให้หัวใจทำงานหนักจนหัวใจล้มเหลว นอกจากนี้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะโลหิตจางก่อนตั้งครรภ์ จะส่งผลเมื่อตั้งครรภ์ต่อการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและสมองของทารกในครรภ์มีพัฒนาการด้านร่างกายล่าช้า ดังนั้นเพื่อลดภาวะโลหิตจางในขณะตั้งครรภ์ควรมีการป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดธาตุเหล็กในวงกว้างให้ครอบคลุมกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีโอกาสตั้งครรภ์ องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำนิยามของหญิงวัยเจริญพันธ์ุ คือ ผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง ๑๕-๔๙ ปี โดยกรมอนามัยได้มีการรณรงค์ให้สาวไทยแก้มแดง โดยสาวไทยที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์จะต้องไม่มีภาวะโลหิตจาง โดยดูจากผลตรวจเลือด ค่าปกติคือ ค่าฮีโมโกลบิน (Hb) มากกว่าหรือเท่ากับ ๑๒ กรัมต่อเดซิลิตร หรือ ค่าฮีมาโตคริต (Hct) มากกว่าหรือเท่ากับ ๓๖% นอกจากนี้แล้วกรมอนามัยยังมีการส่งเสริมให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ในช่วงอายุระหว่าง ๒๐-๓๔ ปี ซึ่งอยู่ในช่วงวัยที่เหมาะกับการตั้งครรภ์ให้ได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางก่อนการตั้งครรภ์ โดยสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี จังหวัดตรัง หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุระหว่าง ๑๕-๔๙ ปี จำนวน ๙๙๐ คน และในช่วงอายุระหว่าง ๒๐-๓๔ ปี จำนวน ๓๘๐ คน จากการคัดกรองหญิงวัยเจริญพันธุ์ ในปี ๒๕๖๗ จำนวน ๗๙๒ คน พบว่าหญิงวัยเจริญพันธุ์มีภาวะโลหิตจาง จำนวน ๓๘๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๗๔ และจากการให้บริการคลินิกรับฝากครรภ์ จำนวน ๑๘ คน พบว่ามีภาวะซีดระหว่างตั้งครรภ์ จำนวน ๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๖ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันและลดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงวัยเจริญพันธ์ูด้วยยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติขึ้น เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีความพร้อมทางด้านร่างกายในการตั้งครรภ์ และเพื่อลดภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์โดยใช้ยาสมุนไพรจากบัญชียาหลักแห่งชาติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีความพร้อมทางด้านร่างการในการตั้งครรภ์

ร้อยละ 80 ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีความพร้อมทางด้านร่างกายในการตั้งครรภ์

80.00 80.00
2 เพื่อลดภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์โดยใช้ยาสมุนไพรจากบัญชียาหลักแห่งชาติ

ร้อยละ 80 ของหญิงวัยเจริญพันธ์ที่มีภาวะโลหิตจางมีระดับผลตรวจเลือด อยู่ในค่าปกติ หลังรับประทานยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ

80.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,340.00 2 19,340.00 0.00
1 - 15 ธ.ค. 67 จัดอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพเพื่อป้องการภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก 0 6,600.00 6,600.00 0.00
20 ธ.ค. 67 - 15 มี.ค. 68 ส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรจากบัญชียาหลักแห่งชาติในหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะโลหิตจาง 0 12,740.00 12,740.00 0.00
รวมทั้งสิ้น 0 19,340.00 2 19,340.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. หญิงวัยเจริญพันธุ์มีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีความพร้อมทางด้านร่างกายในการตั้งครรภ์

๒. หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะโลหิตจางมีระดับผลตรวจเลือด อยู่ในค่าปกติ หลังรับประทานยาครบ ๙๐ วัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2567 00:00 น.