กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านจันนา ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-50105-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา
วันที่อนุมัติ 22 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,270.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพ็ญศรี โอภาส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ 7 และหมุ่ 8 ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 480 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
43.50
2 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
41.25
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (CVA)
1.25

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่มีอัตราป่วยเพิ่มมากขึ้น และเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ นอกจากปัจจัยทางกรรมพันธุ์ที่ส่งเสริมการเกิดโรคแล้ว การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ทั้งด้านอาหาร โดยรับประทานอาหารรสเค็ม มัน หวาน ขาดการออกกำลังกาย มีความเครียดสูงเรื้อรัง ดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่เป็นประจำ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคดังกล่าว ซึ่งร้อยละ 50ของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่2 สามารถป้องกันได้ เบาหวานประเภท2 ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุมากแต่ในปัจจุบันจะพบมากขึ้นในคนอายุน้อยลง สำหรับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่โรคหลอดเลือดหัวใจโรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง ตาบอด ปลายประสาทเสื่อม เกิดแผลเรื้อรัง เป็นสาเหตุของการ ตัดเท้า ซึ่งนำมาความพิการและเสียชีวิตได้
จังหวัดพัทลุงมีอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ3.95อำเภอควนขนุนมีอัตราตาย ร้อยละ 4.39 และ มีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นทุกๆปี จากสถิติตั้งแต่ 2565 – 2567ความชุกของผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนี้ 169.01 ,174.68, 181.45 ต่อแสนประชากร ตามลำดับหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านจันนา ตำบลดอนทราย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปี ๒๕67 ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,298 คนได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 1,220 คน คิดเป็นร้อยละ 93.76 พบว่าประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรอง จำนวน 333 คน โดยประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการเจาะโลหิตซ้ำ จำนวน 281 คน คิดเป็นร้อยละ 84.38 และมีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ1.20ในส่วนดำเนินงานป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ในปี 2567ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,122 คน ได้รับการคัดกรอง จำนวน 1,065 คน คิดเป็นร้อยละ 94.92พบประชากรกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 110 คน ได้รับการวัดความดันที่บ้าน จำนวน 104 คน คิดเป็นร้อยละ 4.54จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแม้ในแต่ละปี ประชากรกลุ่ม อายุ 35 ปี ขึ้นไป รวมทั้งผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจะต้องได้รับการดูแลและการตรวจสุขภาพประจำปี ตามเกณฑ์มาตรฐาน ตามแนวทางการดำเงินที่กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำไว้เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามตัวชี้วัด (KPI) เพื่อตอบสนอง Service plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD,DM,HT,CVD) ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ตระหนักในการดูแลสุขภาพ เข้ารับการคัดกรองภาวะสุขภาพ รวมทั้งมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม จะสามารถดูแลตนเอง ครอบครัว และชุมชน เพื่อลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงได้ ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน และชะลอความรุนแรงของโรคได้ จึงได้จัดทำโครงการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ควบคุมป้องกันโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายสุขภาพรวมทั้งประชาชนหรือผู้ป่วย การพัฒนาระบบบูรณาการการป้องกันและจัดการโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรครายใหม่ และเพิ่มอัตราการควบคุมโรคได้ ต้องดำเนินการอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องต่อไปทุกปี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองโรคเบาหวานในประชาชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป ที่ยังไม่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน

ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป ยังไม่เป็นโรคเบาหวานได้รับการคัดกรองร้อยละ 92

0.00 95.00
2 เพื่อคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชากรที่่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง

ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป ยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 92

0.00 95.00
3 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อ 2 ส ในกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จากการคัดกรอง

กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เข้าร่วมรับการอบรม ร้อยละ 90

0.00 60.00
4 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วย(SBP=120-130mmHgหรือDBP=80-89 mmHg ) ได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้านหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จากการคัดกรองได้รับการติดตามวัดความดันที่บ้าน ร้อยละ 80

0.00 90.00
5 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และเข้าสู่ระบบรักษา

กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และเข้าสู่ระบบการรักษา ร้อยละ 100

0.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
2 - 10 ม.ค. 68 คัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน โดยการวัดความดันและเจาะเลือดปลายนิ้วโดย อสม และเจ้าหน้าที่ 470 10,920.00 10,920.00
1 มี.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 ติดตามเจาะ FBS กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 0 0.00 0.00
9 พ.ค. 68 สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตามหลัก 3 อ 2 ส 65 3,425.00 3,425.00
16 พ.ค. 68 สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพกลุ่มป่วย เพื่อป้องกันและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน 40 5,925.00 5,925.00
รวม 575 20,270.00 4 20,270.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต. บ้านจันนา หมู่7 และหมู่ 8 ตำบลชะมวง 1. อัตราการป่วยโรคเบาหวาน รายใหม่ ไม่เกิน ร้อยละ 1.75 2. อัตราการป่วยโรคความดันโลหิตสูง รายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 5 3.กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่เป็นผู้ป่วยรายใหม่ ร้อยละ 5

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2567 14:05 น.