กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลำดวนบานสานพลัง
รหัสโครงการ 1/61
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองแหน
วันที่อนุมัติ 4 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 72,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัด ฉะเชิงเทรา
พี่เลี้ยงโครงการ นายบรรจบ จันทร์เจริญ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองแหน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ละติจูด-ลองจิจูด 13.661,101.335place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 4 ต.ค. 2560 28 ก.ย. 2561 72,300.00
รวมงบประมาณ 72,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
70.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
60.00
3 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
75.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหา สุขภาพของผู้สูงอายุมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สูงอายุต้อง  ได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพหลายๆด้านเพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลตนเอง ในครอบครัวและผู้สูงอายุด้วยกัน ในชุมชนหรือหมู่บ้านเมื่อถึงวัย การสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเป็นวิธีที่สร้างการมีส่วนร่วมในการรวมกลุ่มได้เป็นอย่างดีเนื่องจากผู้สูงอายุได้นำสิ่งดีที่ตนเองมีมาเล่าสู่เพื่อนผู้สูงอายุด้วยกัน สร้างความภาคภูมิใจและมีคุณค่าในตนเองขึ้น องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแหน มีพื้นที่รับผิดชอบ 15 หมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด 10,344 คน ชาย จำนวน 4,972 คน หญิง จำนวน 5,372  คน ผู้สูงอายุ จำนวน 1,652 คน คิดเป็น ร้อยละ15.97 ของประชากร มีสถานีอนามัย จำนวน 2 แห่ง บุคลากรสาธารณสุข จำนวน 7 คน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข
1 ชมรม มีสมาชิก จำนวน 200 คน ชมรมผู้สูงอายุ 1 ชมรม มีสมาชิก 1,400 คน คิดเป็น ร้อยละ 85 ของผู้สูงอายุ  ในจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด จำแนกตามสภาพร่างกายได้ 3 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มสุขภาพแข็งแรงไม่มีโรคประจำตัว กลุ่มสุขภาพแข็งแรงมีโรคประจำตัว และกลุ่มสุขภาพไม่แข็งแรงหรือมีโรคประจำตัว โรคประจำตัวที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จำนวน 856 คน คิดเป็นร้อยละ 51.82 ของผู้สูงอายุ ตำบลหนองแหนมีชมรมผู้สูงอายุ ที่รวมกลุ่มกันอย่างกระจัดกระจายมีกิจกรรมเป็นครั้งคราวได้ดำเนินการเป็นรูปธรรมและมีกิจกรรมที่ต่อเนื่องเมื่อเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2549 มีการขยายแกนนำผู้สูงอายุครบทุกหมู่บ้านในปี 2551 ทำให้ชมรมมีสมาชิกผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น จำนวน 1,140 คน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสุขภาพ เรื่องอาชีพเสริมซึ่งเป็นงานอดิเรกที่สร้างความเพลิดเพลิน รวมทั้งมีการเยี่ยมเยียนสมาชิกชมรมที่เจ็บป่วย เดือนละ 1 ครั้ง มีการช่วยเหลือจากชมรมหากสมาชิกผู้สูงอายุเสียชีวิต  จากการดำเนินกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุในรอบปีที่ผ่านมา พบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกของชมรมส่วนใหญ่อยู่บ้านซึ่งมีสมาชิกภายในครอบครัว 2-4 คน ซึ่งเป็นวัยแรงงานและทำงานนอกบ้าน ทำให้ผู้สูงอายุดังกล่าวขาดคนดูแลช่วยเหลือเบื้องต้น ขาดเพื่อนพูดคุยในช่วงเวลากลางวัน ชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองแหนเห็นความสำคัญของการมีเพื่อนได้พูดคุยเล่าเรื่องต่างๆในครอบครัวตลอดจนความต้องการที่สามารถช่วยเหลือได้ จึงได้จัดทำโครงการลำดวนบานสานพลังขึ้นโดยให้ผู้สูงอายุที่สุขภาพแข็งแรงหรือเยาวชน มีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุที่อ่อนแอ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

70.00 78.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

60.00 78.00
3 เพิ่มพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

75.00 85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 72,300.00 2 72,300.00
??/??/???? ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและการออกกำลังกาย 0 0.00 32,000.00
??/??/???? ส่งเสริมการออกกำลังกายหลากหลายรูปแบบ 0 72,300.00 40,300.00

วิธีการดำเนินงาน 1. ประสานงานกับหน่วยงานและวิทยากรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 2 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสุขภาพทุกวันที่ 1 ของทุกเดือน 3 เยี่ยมและให้กำลังใจผู้สูงอายุเจ็บป่วยกลับจากโรงพยาบาลทุกเดือน       4.จัดกิจกรรมออกกำลังกายทุกสัปดาห์ๆละ 3 วัน จันทร์พุธ ศุกร์ วันละ 1 ชั่วโมง 5. ให้ความรู้กิจกรรมลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่แก่สมาชิกชมรมผู้สูงอายุ 6. เชิดชูและยกย่องสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่ลด ละ เลิก เหล้า บุหรี่ได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยการเล่นกีฬา 2ผู้สูงอายุมีการออกกำลังกายต่อเนื่องทำให้สุขภาพแข็งแรงล 3.ลดภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2561 10:07 น.