โครงการ Menanam "sayur-sayuran"
ชื่อโครงการ | โครงการ Menanam "sayur-sayuran" |
รหัสโครงการ | 68-L8302-2-7 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อสม.นักจัดการสุขภาพเพื่อ สปสช.มะรือโบตก |
วันที่อนุมัติ | 16 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 กุมภาพันธ์ 2568 - 31 พฤษภาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 23,750.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมูหมัด อีอาซา นางสาวโนรา เจ๊ะหะมะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด | 40.00 | ||
2 | ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม | 40.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
พืชผักสวนครัวเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกลือแร่
และวิตามิน ความสำคัญในด้านคุณค่าทางอาหาร เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์ ให้สิ่งต่างๆที่จำเป็นต่อร่างกายซึ่งอาหารชนิดอื่นๆมีไม่เพียงพอหรือไม่มี ผักสวนครัวมีคุณสมบัติช่วยให้ระบบย่อยอาหารของร่างกายลดสภาพความเป็นกรดโดย สาเหตุจากย่อยอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เนย และอื่นๆ เยื่อใยของพืชผักสวนครัว ช่วยระบบขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติ ลดการเป็นโรคลำไส้ และมะเร็งในลำไส้ ลดปริมาณคอเลสเตอรอล ลดความอ้วน ผักสวนครัวอุดมไปด้วยธาตุแคลเซียมและธาตุเหล็ก ผักสีเขียวและเหลืองให้ วิตามินเอ ซี สำหรับถั่วต่างๆจะให้โปรตีน ประเภทหัว เช่น มันฝรั่ง มันเทศ ให้คาร์โบไฮเดรต
แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการรณรงค์ส่งเสริมในเรื่องการลด ละ เลี่ยง เลิกการใช้สารพิษในการเกษตร แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงชินกับรูปแบบเดิม โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยทางด้านสุขภาพของผู้บริโภค และการปลูกพืช ผักสวนครัวที่ไร้สารพิษตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ผู้บริโภคมีสุขภาพร่างกายที่ดี สมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันใช้เป็นอาหารในครัวเรือน ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนพึ่งพาตนเองและสามารถดำเนินชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ลดความเสี่ยงจากสารเคมีสะสมในร่างกาย เพื่อให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง จากการได้รับประทานผักปลอดสารพิษ ในปริมาณที่เพียงพอ
ดังนั้น อสม.นักจัดการสุขภาพเพื่อ สปสช.มะรือโบตก จึงได้จัดทำโครงการ Menanang "sayur-sayuran"
ทำให้เพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ ผู้บริโภคมีสุขภาพร่างกายที่ดี สมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกัน ผู้ป่วยติดเตียงสามารถบริโภคอาหารที่หลากหลาย ได้รับสารอาหารที่เพียงพอและเหมาะสม ให้มีพืชผักเพียงพอ ต่อการบริโภคในครัวเรือน และช่วยลดภาวะค่าครองชีพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด |
40.00 | 80.00 |
2 | เพื่อเพิ่มคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม |
40.00 | 80.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
16 ม.ค. 68 - 28 ก.พ. 68 | กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในเรื่อง การบริโภคอาหารปลอดภัยและโทษของสารเคมี | 0 | 11,420.00 | - | ||
16 ม.ค. 68 - 31 มี.ค. 68 | กิจกรรมการปลูกพืชผัก ปลอดสารพิษ | 0 | 5,000.00 | - | ||
1 เม.ย. 68 - 31 พ.ค. 68 | เยี่ยมบ้านผู้ป่วย ติดเตียงด้วยผักหลากสี ปลอดสารพิษ | 0 | 3,960.00 | - | ||
1 เม.ย. 68 - 31 พ.ค. 68 | เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Menanang "sayur-sayuran" | 0 | 3,370.00 | - | ||
รวม | 0 | 23,750.00 | 0 | 0.00 |
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1 ขั้นเตรียมการ
1.1 ศึกษาข้อมูลปัญหาสุขภาวะของประชาชนเขตเทศบาลตำบลมะรือโบตก จัดหาหลักสูตร จัดหาวิทยากร เครื่องมือต่างๆ ในการจัดทำโครงการ
1.2 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
2 วางแผนและดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ดังนี้
2.1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในเรื่อง การบริโภคอาหารปลอดภัย และโทษของสารเคมี จำนวน 50 คน
2.2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการปลูกพืชผัก ปลอดสารพิษ
2.3 กิจกรรมที่ 3 แหล่งเรียนรู้ Menanang "sayur-sayuran" (การปลูกพืชผัก ปลอดสารพิษ)
2.4 กิจกรรมที่ 4 เยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงด้วยผักหลากสี
3 ขั้นประเมินผล
3.1 สรุปผลโครงการตามตัวชี้วัด
3.2 จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
3.3 เสนอรายงานผลการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการให้คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
6. นำเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลมะรือโบตก
1.มีพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์
2.ประชาชนในชุมชน มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารปลอดภัย และโทษของสารเคมี
3.ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอและเหมาะสม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2567 15:17 น.