โครงการเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมไข้เลือดออกโดยชุมชน/บ้านสัมพันธ์ เทศบาลโคกโพธิ์ ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมไข้เลือดออกโดยชุมชน/บ้านสัมพันธ์ เทศบาลโคกโพธิ์ ปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L8282-02-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข |
วันที่อนุมัติ | 6 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 7 พฤศจิกายน 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 42,700.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางฟาตีเม๊าะ เจ๊ะสะตำ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาที่สำคัญของการสาธารณสุขระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราการตายและการป่วยเป็นโรคไข้เลือด ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน และสังคมตามลำดับ แต่เดิมระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออก ในปัจจุบันสามารถพบได้ทุกกลุ่มอายุ ซึ่งการรณรงค์เฝ้าระวังป้องกันควบคุมไข้เลือดออกโดยบ้านและชุมชนดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันประกอบกับตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้ อปท.ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในรัดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ข้อ 7 กำหนดโครงการนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 7 (7.1,7.1.5) เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ โดยเน้นเรื่องการป้องกันโรคให้แก่ประชาชนทั่วไปอย่างไรก็ตามสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกยังคงมีการระบาดทุกปี สถานการณ์โรคไข้เลือดออกอำเภอโคกโพธิ์ปี 2565 จำนวน 8 ราย ปี 2566 จำนวน 22 ราย ปี 2567 จำนวน 20 ราย รวมผู้ป่วยไข้เลือดออกรวม 50 ราย อัตราป่วยคิดเป็น 426.00 ต่อแสนประชากร ซึ่งถ้าคิดเป็นอัตราป่วยแล้ว ถือว่ายังสูงกว่าเกณฑ์ของประเทศ (เกณฑ์ = ไม่เกิน 24.10 ต่อแสนประชากร) ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขในเขตเทศบาลตำบลโคกโพธิ์และเขตตำบลใกล้เคียงมีผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 1 ราย ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.โคกโพธิ์ (เขตเทศบาลตำบลโคกโพธิ์)ได้เล็งเห็นถึงอันตราย และความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ในเรื่องไข้เลือดออก และสามารถป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อที่นำโรคโดยแมลง ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมีความตระหนัก และร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออก |
70.00 | 80.00 |
2 | เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและมีความตระหรักร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยชุมชนช่วยกันควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ประชาชนในเขตเทศบาลบาลโคกโพธิ์ มีการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลายในชุมชน |
70.00 | 80.00 |
3 | เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลโคกโพธิ์ หรือไม่มีผู้ป่วย ไข้เลือดออกลดลง มีค่ามัธยฐานไม่เกิน 20 ต่อค่ามัธยฐานไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิดซำ้หรือมีเจนเนอร์เรชั่น 2 เกิดขึ้น |
70.00 | 80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 42,700.00 | 0 | 0.00 | |
7 พ.ย. 67 - 30 ก.ย. 68 | อบรมการป้องกันและควบคุมโรคที่นำโดยแมลงและไข้เลือดออก | 0 | 12,500.00 | - | ||
7 พ.ย. 67 - 30 ก.ย. 68 | รณรงค์และควบคุมโรคไข้เลือดออก | 0 | 30,200.00 | - |
1.ประชาชนในพื้นที่เทศบาลตำบลโคกโพธิ์มีความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคนำโดยแมลง 2.ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลโคกโพธิ์มีความตระหนัก และร่วมมือในการป้องกันโรคไข้เลือดออก 3.ประชาชนในเขตเทศบาลมีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน 4.จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่เทศบาลลดลง หรือไม่มีผู้ป่วย
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2567 00:00 น.