กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา ประจำปี 2568
รหัสโครงการ L3363-2568-4001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา
วันที่อนุมัติ 14 สิงหาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 101,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมนพพร เขมะวนิช
พี่เลี้ยงโครงการ นายเนติกรณ์ ชูเจริญ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละเงินคงเหลือสะสมของกองทุนสุขภาพตำบล(เงินคงเหลือเทียบกับรายรับปีล่าสุด)
20.55
2 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)
24.00
3 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)
30.00
4 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)
15.00
5 ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในปีงบประมาณ
93.30
6 จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ (ปีที่ผ่านมา)
9.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในท้องถิ่นหรือระดับพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทย มุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลากหลายภาคส่วนในสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน ประสานงานกับองค์กรและภาคีเครือข่าย ร่วมกันค้นหาปัญหาสุขภาพและความต้องการของประชาชน ซึ่งประชาชนมีส่วนร่วมวางแผนการส่งเสริมสุขภาพและการดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ สามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ประกอบกับปัจจุบัน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้แจ้งแนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถจัดระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care) ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2563 ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานกองทุนฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามอำนาจหน้าที่คณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ประจำกองทุนฯ ควรได้รับการพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการกองทุน ให้มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ สามารถปฏิบัติงาน พิจารณาอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ได้อย่างถูกต้อง จึงมีความจำเป็นที่จัดโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน

กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 %

20.55 95.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

30.00 30.00
3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน)

15.00 15.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่ดีและมีรายงานผลการดำเนินงานดี

จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

24.00 28.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการ ที่มีการส่งผลงานและส่งรายงาน ตรงตามเวลา

ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในกำหนด เพิ่มขึ้น

93.30 95.00
6 เพื่อให้มีประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

9.00 9.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 ประชุมพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม 0 0.00 -
26 พ.ย. 67 ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 1/2568 9 3,015.00 2,715.00
17 ธ.ค. 67 ประชุมคณะกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 1/2568 19 8,265.00 6,665.00
14 ก.พ. 68 ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 2/2568 9 3,015.00 2,715.00
7 มี.ค. 68 ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC ครั้งที่ 1/2568 10 3,350.00 3,350.00
18 มี.ค. 68 ประชุมคณะกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 2/2568 19 8,265.00 -
15 พ.ค. 68 ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 3/2568 9 3,015.00 -
10 มิ.ย. 68 ประชุมคณะกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 3/2568 19 8,265.00 -
1 ส.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง 0 49,780.00 -
7 ส.ค. 68 ประชุมคณะอนุกรรมการ LTC ครั้งที่ 2/2568 10 3,350.00 -
25 ส.ค. 68 ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 4/2568 9 3,015.00 -
4 - 5 ก.ย. 68 ฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง 30 49,780.00 -
12 ก.ย. 68 ประชุมคณะกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนฯ ครั้งที่ 4/2568 19 8,265.00 -
รวม 162 151,380.00 4 15,445.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ประจำกองทุนฯ มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการบริหารจัดการงานกองทุนฯ เพิ่มมากขึ้น
  2. กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา สามารถบริหารจัดการกองทุนฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2567 11:18 น.