โครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย ขยับกาย สบายชีวา ตำบลปูยุด ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย ขยับกาย สบายชีวา ตำบลปูยุด ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L3017-02-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมฟุตบอลตำบลปูยุด |
วันที่อนุมัติ | 26 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 22 มกราคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 24 กุมภาพันธ์ 2568 |
งบประมาณ | 27,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายซาการียา ยามิน |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอิมรอน หะยีสามะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปุยด อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นตำบลปูยุด อำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัวและชุมชนเพื่อการมีสุขภาพที่ดี ตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติโดยมีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้ประชาชนไทยอยู่เย็นเป็นสุขทั้งกายใจสังคมปัญญาและจิตวิญญาณมีสัมมาอาชีพทำงานด้วยความสุขดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานความพอดีพอประมาณมีเหตุผลมีภูมิคุ้มภัยในตัวที่ดีภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวส่งผลให้ครอบครัวอบอุ่นมั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีสุขภาพแข็งแรงอายุยืนยาวและหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของมิติทางกายคือให้คนไทยออกกำลังกายสม่ำเสมอ ประชาชนรวมกลุ่มกันดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัวและชุมชนเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้แก่ออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์ อโรคยาอนามัยสิ่งแวดล้อมและอบายมุขโดยมีเป้าหมายให้ประชาชน ได้การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนปัจจุบันการออกกำลังกายเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายดังจะเห็นได้จากการมีชมรม กลุ่มออกกำลังกาย ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แอโรบิครำไม้พลอง โยคะ ฟุตบอล เซปัคตะกร้อ เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากการออกกำลังกายเป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมสุขภาพที่มีค่าใช้จ่ายในการนำไปสู่สุขภาพแข็งแรงสุขภาพจิตดีส่งผลให้คุณภาพชีวิตที่ดีปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บการส่งเสริมการออกกำลังกายในระดับชุมชนชนบท ชุมชนเมือง ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินแต่ให้ผลที่คุ้มค่าต่อสุขภาพอย่างยิ่ง ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเป็นการดูแลรักษาสุขภาพเป็นเบื้องต้นในการป้องกันโรคต่างๆ เป็นการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรงปลอดโรค ห่างไกลจากยาเสพติด ใช้เวลาช่วงเย็นเป็นการพบปะกันของคนในชุมชนเพื่อร่วมกิจกรรมสันทนาการการออกกำลังกายร่วมกัน และเพิ่มความเข้มแข็ง ความสามัคคีให้คนในชุมชนอีกทางหนึ่ง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาวะร่างกายของกลุ่มเยาวชน ร้อยละ 50 ของกลุ่มเยาวชน มีสุขภาพที่ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ |
0.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเยาวชนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย ร้อยละ 50 กลุ่มเยาวชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายด้วยการเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ |
0.00 | |
3 | เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในกลุ่มเยาวชน ร้อยละ 30 ของเยาวชน มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 45 นาทีต่อวัน) |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 27,000.00 | 0 | 0.00 | 27,000.00 | |
??/??/???? | 1.อบรมเชิงปฏิบัติการ | 0 | 18,900.00 | - | - | ||
??/??/???? | ฝึกทักษะการเล่นกีฬาฟุตบอล และมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน | 0 | 8,100.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 27,000.00 | 0 | 0.00 | 27,000.00 |
- ประชาชนได้รับการสร้างเสริมสุขภาวะร่างกาย
- ประชาชนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย
- ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2567 00:00 น.