โครงการเยาวชนรุ่นใหม่รู้เท่าทันบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า
ชื่อโครงการ | โครงการเยาวชนรุ่นใหม่รู้เท่าทันบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า |
รหัสโครงการ | 2568-L2518-2-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละ |
วันที่อนุมัติ | 19 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 30,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางพนารัตน์ บุญชูช่วย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
บุหรี่จัดเป็นสาเหตุสำคัญในการก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ มากมาย คนไทยจำนวนมากยังคงสูบบุหรี่ แม้ว่าจะทราบถึงพิษภัยจากการสูบบุหรี่เป็นอย่างดี องค์การอนามัยโลกพบว่าในปี 2542 ประชากรที่สูบบุหรี่ทั่วโลกประมาณ 1,100 ล้านคน ซึ่งคาดว่าในปี 2568 จำนวนผู้สูบบุหรี่จะเพิ่มเป็น 1,600 ล้านคน บุหรี่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งในปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณ 5 ล้านคนต่อปี สถานการณ์ในประเทศไทยแม้ว่าอัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยลดลงเหลือร้อยละ 17.4 ในปี พ.ศ. 2564 จากร้อยละ 32 ในปี พ.ศ. 2534 แต่ขณะเดียวกันรายงานการใช้บุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนไทย ระหว่าง พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2565 ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา ในกลุ่มนักเรียนอายุระหว่าง 13 ถึง 15 ปี จำนวน 6,752 คน จากโรงเรียน 87 โรงทุกภูมิภาค พบว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนเพิ่มเป็นร้อยละ 17.6 ใน พ.ศ. 2565 จากเดิมอยู่ที่ร้อยละ 3.3 ใน พ.ศ. 2558 เทียบเท่ากับเพิ่มขึ้น 5.3 เท่า จะเห็นได้ว่าจำนวนเยาวชนไทยมีการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้าหลายยี่ห้อได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองอย่างต่อเนื่อง ได้มีการทำการตลาดอยู่ตลอดเวลา เช่น การออกแบบเคสบุหรี่ไฟฟ้าเป็นรูปกล่องนม รูปขนม หรือทำเคสรูปการ์ตูนมีการเติมกลิ่นและรสชาติต่าง ๆ เช่น เมนทอล มอคค่า ช็อกโกแลต และสารแต่งกลิ่นอีกมากมายเพื่อจูงใจให้มีการสูบบุหรี่ไฟฟ้ามากขึ้นจนครู พ่อแม่ ผู้ปกครองไม่สามารถทราบได้ ส่งผลทำให้เกิดผลเสียหายต่อสุขภาพของเยาวชนจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าในตลาดมากกว่าร้อยละ 95 มีสารนิโคตินเป็นส่วนผสมอยู่ในน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าทำให้ติดสารนิโคตินได้ ละอองควันที่สูดเข้าปอดนอกจากมีสารนิโคตินแล้วยังพบสารเคมีจำนวนมากที่ใช้ในกระบวนการผลิตและปรุงแต่กลิ่นรส เช่นแอลดีไฮด์โพลีไซคลิค อะชิโตน และโครเมียม ซึ่งสารเคมีเหล่านั้นล้วนแต่เป็นอันตรายต่อร่างกาย รวมทั้งเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง พฤติกรรมการสูบยาสูบ บุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า มีการสูบทุกสถานที่ ไม่มีพื้นที่กำหนดเฉพาะ จึงมีโอกาสเสี่ยงที่ทำให้มี ผู้สูบบุหรี่รายใหม่เพิ่มขึ้น และผู้ที่สูบบุหรี่อยู่ก่อนแล้วมีโอกาสสูบติดต่อจำนวนหลายมวนด้วยความเคยชิน และประเด็นสำคัญคือทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างได้รับพิษควันบุหรี่ ซึ่งมีภาวะเสี่ยงทำให้เกิดโรคไม่แตกต่างจาก คนสูบบุหรี่หรืออาจจะมากกว่าคนสูบบุหรี่ ดังนั้น งานสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำการโครงการเยาวชนรุ่นใหม่รู้เท่าทันบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับความรู้เกี่ยวกับอันตรายและพิษภัยของบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า ตระหนักถึงโทษและผลเสียของการสูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้าต่อตัวผู้สูบและบุคคลรอบข้าง ร้อยละ 100 ของเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับอันตรายและพิษภัยของบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า ตระหนักถึงโทษและผลเสียของการสูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้าต่อตัวผู้สูบและบุคคลรอบข้าง |
100.00 | 100.00 |
2 | เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้ารายใหม่ในพื้นที่ตำบลกายูคละ สูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้ารายใหม่ในพื้นที่ตำบลกายูคละลดลง |
0.00 | |
3 | เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการรณรงค์ลด ละ เลิก บุหรี่ เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการรณรงค์ลด ละ เลิก บุหรี่เพิ่มขึ้น |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 30,000.00 | 0 | 0.00 | |
28 พ.ค. 68 | อบรมให้ความรู้ | 0 | 28,800.00 | - | ||
28 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | รณรงค์ ลด ละ เลิก บุหรี่ | 0 | 1,200.00 | - |
1.เด็กและเยาวชนมีความรู้เรื่องอันตรายและพิษภัยของบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้า ตระหนักถึงโทษและผลเสียของการสูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้าต่อตัวผู้สูบและบุคคลรอบข้าง 2.จำนวนผู้สูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้ารายใหม่ในพื้นที่ตำบลกายูคละลดลง 3.เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการรณรงค์ลด ละ เลิก บุหรี่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2567 00:00 น.