โครงการจักรยานขาไถ (Balance Bike) ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียน
ชื่อโครงการ | โครงการจักรยานขาไถ (Balance Bike) ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยและเด็กวัยเรียน |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านลำช้าง |
วันที่อนุมัติ | 6 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 สิงหาคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 19,190.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายปิยะวัฒน์ รักราวี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลเขาไพร อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.96,99.661place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรงเรียนบ้านลำช้าง อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง มีวัตถุประสงค์โรงเรียนบ้านลำช้างเป็นสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการสอนระดับชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กตามความต้องการของเด็ก สอนให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ฝึกพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน เช่น พัฒนาการทางด้านร่างกาย พัฒนาการทางด้านสังคม พัฒนาการทางด้านอารมณ์ และพัฒนาการทางด้านจิตใจ เด็กจะเจริญเติบโตตั้งแต่อยู่ในครรภ์กระทั่งหลังคลอด ร่างกายและสมองจะเจริญเติบโตอย่างรอดเร็วในช่วง ๐-๖ ปีแรกของชีวิต ขบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือการเจริญเติบโตและพัฒนาการ จักรยานขาไถ หรือ จักรยานทรงตัว เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับความนิยมในกลุ่มเด็กเล็ก ซึ่งเป็นจักรยานที่ไม่มีบันได การเคลื่อนตัวไปข้างหน้า ทำโดยการใช้ขาไถดันรถไปข้างหน้า เด็กเล็กตั้งแต่ ๑ ขวบครึ่งไปจนถึง ๕ ขวบ (วัยฟันน้ำนม) สามารถเล่นได้ ประโยชน์ของการเล่น “จักรยานขาไถ”มี ทั้งการเรียนรู้เสริมทักษะการออกกำลังกาย ฝึกการทรงตัว ลดพฤติกรรมเสี่ยง การติดจอแก่เด็กเล็ก ซึ่งในปัจจุบันพัฒนาไปสู่การแข่งขัน เป็นเวทีที่เปิดกว้างให้เด็กได้แสดงความสามารถทางด้านกีฬาอย่างเต็มที่ โรงเรียนบ้านลำช้างจึงทำโครงการจักรยานขาไถ (Balance Bike) ส่งเสริมพัฒนาการเด็กและการปลูกฝังความมีน้ำใจนักกีฬา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๘ ขึ้น เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรง เติบโตสมวัย ส่งผลต่อพัฒนาการเรียนรู้ที่ดี และการเติบโตเป็นพลเมืองคุณภาพ เป็นกำลังในการพัฒนาประเทศชาติ โครงการ "จักรยานขาไถ" Balance Bike ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายที่แข็งแรง และอารมณ์-จิตใจมีความเบิกบาน มีความกล้าหาญ มีวินัย มีน้ำใจนักกีฬา รู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักอภัย เคารพกฎกติกา เด็กมีพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่แข็งแรง และยังเป็นการฝึกการทรงตัว รวมทั้งช่วยฝึกสายตา การแยกแยะสี การประเมินระยะทาง การใช้มือและแขนเพื่อบังคับทิศทาง และการใช้กล้ามเนื้อขาที่ออกแรงเดิน เพื่อให้เด็กปฐมวัยเติบโตตามวัย ดังนั้นโรงเรียนบ้านลำช้างได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดกิจกรรมตามโครงการนี้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กสู่วัยพร้อมเรียนต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้การทรงตัวจากกิจกรรมจักรยานขาไถได้
|
||
2 | เพื่อฝึกให้เด็กสามารถตัดสินใจและใช้ไหวพริบในการควบคุมทิศทางได้
|
||
3 | เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทางร่างกายในการสร้างกล้ามเนื้อแขนขาให้แข็งแรง
|
||
4 | เพื่อให้เด็กรู้จักสัญญาณไฟจราจร และความปลอดภัยในการเดินทาง
|
||
5 | เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความสุข สนุกสนานและมีสุขภาพจิตที่ดี
|
||
6 | เสริมสร้างพัฒนาการเพื่อการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น
|
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ส.ค. 68 | ก.ย. 68 |
---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมการรณรงค์และอบรมให้ความรู้(1 ส.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) | 0.00 | ||
2 | กิจกรรมการจัด หาอุปกรณ์พัฒนาการเด็ก (จักรยานขาไถ)(1 ส.ค. 2568-30 ก.ย. 2568) | 0.00 | ||
รวม | 0.00 |
1 กิจกรรมการรณรงค์และอบรมให้ความรู้ | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | |
2 กิจกรรมการจัด หาอุปกรณ์พัฒนาการเด็ก (จักรยานขาไถ) | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- เด็กสามรถเรียนรู้การทรงตัวซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญก่อนที่จะปั่นจักรยานเด็กสองล้อ
- เด็กได้รับฝึกการตัดสินใจและใช้ไหวพริบในการควบคุมทิศทาง
- เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายในการสร้างกล้ามเนื้อแขนขาที่แข็งแรง
- เด็กรู้จักสัญญาณไฟจราจร และความปลอดภัยในการเดินทาง
- เด็กมีความสุข สนุกสนาน และมีสุขภาพจิตที่ดี
- นักเรียนระดับอนุบาลมีพัฒนาการการเรียนรู้เพื่อรองรับการศึกษาที่สูงขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2567 16:39 น.