กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ


“ โครงการคัดกรองและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปี 2560 ”

ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ

ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปี 2560

ที่อยู่ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 60-L2536-1-10 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการคัดกรองและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปี 2560 จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการคัดกรองและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปี 2560



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการคัดกรองและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปี 2560 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ 60-L2536-1-10 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ธันวาคม 2559 - 30 กันยายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 63,305.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัญหาโรคไม่ติดต่อ เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบันซึ่งทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้นเนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลกปีพ.ศ. 2556ขององค์การอนามัยโลก พบว่า1ใน10ของประชาชนในวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและ1ใน3มีภาวะความดันโลหิตสูงนอกจากนี้พบว่าประมาณร้อยละ63ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลกเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำหรับประเทศไทยรายงานจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่4พ.ศ.2551 – 2553พบความชุกของโรคเบาหวานในประชากรไทยอายุ15ปีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ6.9ทั้งนี้พบว่าหนึ่งในสามของผู้ที่เป็นเบาหวานไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานมาก่อนและมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานแต่ไม่ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่องคิดเป็นร้อยละ3.3 ทั้งนี้สถิติจากประเทศต่างๆพบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้มีประมาณร้อยละ20-70สำหรับความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากรไทยอายุ15ปีขึ้นไปพบร้อยละ21.4โดยพบว่าร้อยละ60ในชายและร้อยละ40ในหญิงไม่เคยได้รับได้รับการวินิจฉัยมาก่อนและร้อยละ8-9ได้รับการวินิจฉัยแต่ไม่ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง (เอกสารข้อมูลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (fact sheet) _สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์) การที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุขพบว่าในปีพ.ศ. 2556อัตราการเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541 – 2555โดยพบว่าโรคความดันโลหิตสูงมีอัตราเพิ่มขึ้นจาก169.6เป็น760.5ต่อแสนประชากรและโรคเบาหวานมีอัตราเพิ่มขึ้นจาก175.7เป็น675.7ต่อแสนประชากรในพ.ศ. 2551และมีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานในปีพ.ศ. 2552ประมาณ 7,019คนหรือประมาณวันละ19 คน โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องต่อเนื่องก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในหลายระบบของร่างกายทั้งภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังก่อให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควรส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตภาวะเศรษฐกิจของผู้ป่วยและครอบครัวรวมทั้งประเทศชาติภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า เป็นต้น ตำบลปูโยะเป็นตำบลเก่าแก่ของอำเภอสุไหงโก-ลก เดิมขึ้นกับอำเภอสุไหงปาดี แบ่งการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน คือบ้านลาแล บ้านปูโยะ บ้านโต๊ะเวาะ บ้านกูแบอีแก บ้านโต๊ะแดงและบ้านโคกสือแด มีประชากร 6,350คน 1,128หลังคาเรือน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 95 และพบว่าปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเมื่อลำดับความสำคัญของปัญหาในตำบล พบว่าโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัญหาที่สำคัญของตำบล โดยพบว่าสถานการณ์จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 1.33และจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 219 คน คิดเป็นร้อยละ 5.80 และพบว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานจำนวน 2 คน และมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 8 คน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดในกลุ่มป่วยที่ขาดการรับประทานยาที่ต่อเนื่อง อีกทั้งจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมทั้งประชาชนอย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วันๆละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สด วันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไปหรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง และลดอาหารไขมัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดได้ร้อยละ 30

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นผู้ป่วยขาดการดูแลที่ต่อเนื่องและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น คปสอ.สุไหงโก-ลก ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะและภาคีเครือข่าย จึงได้จัดทำโครงการ ควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมครอบครัว ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพแบบยั่งยืนและมุ่งหวังในการที่จะเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. กิจกรรมการรณรงค์คัดกรองโรค ความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวาน / โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง รายใหม่
  2. 2. กิจกรรมอบรมผู้ดูแลกลุ่มป่วย (Care giver management)
  3. 3. กิจกรรมให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพกลุ่มป่วยด้านอาหาร
  4. 4. กิจกรรมอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพ 3 อ 2 ส ในกลุ่มเสี่ยง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,213
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
    2. กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการคัดกรองHT/DMต้องเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามเกณฑ์คุณภาพคลินิกDPAC(3อ.2ส.) อย่างน้อยร้อยละ5 3. มี care giver ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มป่วยด้านอาหาร (ในคลีนิกโรคเรื้อรังเดือนละครั้ง)

    วันที่ 1 มกราคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้นร้อยละ 13

     

    320 32

    2. รณรงค์คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจในกลุ่มประชาชนอายุ35 ปีขึ้นไป

    วันที่ 17 มกราคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลการคัดกรอง -คัดกรองHT กลุ่มสงสัยใหม่ 264 คน -คัดกรองDM กลุ่มสงสัยใหม่ 20 คน   

     

    1,878 1,878

    3. อบรมผู้ดูแลกลุ่มป่วย

    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้มีการให้ความรู้กับผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 65 คน เช่นการดูแลผู้ป่วยที่บ้านเรื่องการรับประทานอาหาร รับประทานยา มาตามแพทย์นัด เข้าฐานการเรียนรู้

     

    68 65

    4. อบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ 2 ส ในกลุ่มเสี่ยง

    วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

     

    50 50

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. กิจกรรมการรณรงค์คัดกรองโรค ความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวาน / โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง รายใหม่
    ตัวชี้วัด : - เพื่อให้ประชาชนอายุ ๓๕ ปี ได้รับ การคัดกรอง HT/DM ๑ ครั้ง/ปี ร้อยละ ๙๐ - เพื่อค้นหาผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง และผู้ป่วยรายใหม่ - เพื่อให้ประชาชนอายุ ๓๕ ปี ได้รับ การคัดกรอง CVDrisk ๑ ครั้ง/ปี ร้อยละ ๙๐

     

    2 2. กิจกรรมอบรมผู้ดูแลกลุ่มป่วย (Care giver management)
    ตัวชี้วัด : - เพื่อให้กลุ่มป่วยและผู้ดูแลมีความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพที่ถูกต้องร้อยละ80

     

    3 3. กิจกรรมให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพกลุ่มป่วยด้านอาหาร
    ตัวชี้วัด : - เพื่อให้กลุ่มป่วยเบาหวานสามารถ ควบคุมระดับน้ำตาลได้ร้อยละ40 - เพื่อให้กลุ่มป่วยความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับความดันได้ ร้อยละ 50 - เพื่อให้กลุ่มป่วยได้รับการคัดกรอง ภาวะแทรกซ้อนตาไตเท้าตาม เกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้ยละ60

     

    4 4. กิจกรรมอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพ 3 อ 2 ส ในกลุ่มเสี่ยง
    ตัวชี้วัด : - เพื่อให้มีชมรมCMอย่างน้อย 1ชมรม

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 2213
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,213
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. กิจกรรมการรณรงค์คัดกรองโรค
    ความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวาน / โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง รายใหม่ (2) 2. กิจกรรมอบรมผู้ดูแลกลุ่มป่วย (Care giver management) (3) 3. กิจกรรมให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพกลุ่มป่วยด้านอาหาร (4) 4. กิจกรรมอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพ 3 อ 2 ส ในกลุ่มเสี่ยง

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการคัดกรองและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปี 2560 จังหวัด นราธิวาส

    รหัสโครงการ 60-L2536-1-10

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด