กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหาสุขภาพและป้องกันโรคที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำท่วมพื้นที่ตำบลท่าธง ปี 2568
รหัสโครงการ 68-L4159-05-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ท่าธง
วันที่อนุมัติ 29 ตุลาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 ธันวาคม 2567 - 31 มกราคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 9 ธันวาคม 2567
งบประมาณ 45,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมุรนี มาโซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.568265,101.463118place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 ธ.ค. 2567 31 ม.ค. 2568 9 ธ.ค. 2567 31 ม.ค. 2568 45,000.00
รวมงบประมาณ 45,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สถานการณ์อุทกภัย
100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประกาศศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ฉบับที่ 1 (66/2567) เรื่องฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ได้คาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่ม ซึ่งจากสถานการณ์อุทกภัยดังกล่าว ส่งผลให้พื้นที่ตำบลท่าธงเกิดน้ำท่วมหนัก ส่งผลกระทบต่อประชาชนในหลายๆด้าน เป็นอย่างมาก และที่สำคัญอย่างยิ่งคือโรคที่มากับน้ำ ซึ่งเป็นตัวนำพาสิ่งสกปรกที่เคยถูกเก็บอย่างมิดชิดให้แพร่กระจายออกเป็นวงกว้าง อีกทั้งยังทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์ และแมลง จนทำให้ต้องออกมาอยู่ปะปนกับผู้คน โดยโรคที่พบบ่อยหลังน้ำลดมักจะได้แก่ โรคผิวหนัง โรคจากระบบทางเดินอาหาร โรคตาแดง ไข้หวัด ไข้เลือดออก และโรคฉี่หนู (เลปโตสไปโรซิส) เป็นต้น และตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563 ให้ออกประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและจัดการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 และตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ ข้อที่ 10 กำหนดลักษณะของกิจกรรมหรือโครงการที่จะของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนฯ 10(5) เพื่อให้กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ ตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้สอดคล้องกับแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง       ในการนี้เพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่าธง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการควบคุม ป้องกัน การระบาดของโรคต่างๆที่มากับอุทกภัยน้ำท่วม รวมทั้งการเผชิญสถานการณ์ที่ต้องตั้งรับเพื่อดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อสถานการณ์ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลท่าธง จึงได้จัดทำโครงการแก้ปัญหาสุขภาพและป้องกันโรคที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำท่วมพื้นที่ตำบลท่าธง ปี 2568 ขึ้นเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติในพื้นที่ มีการเจ็บป่วยจากการเกิดโรคและการระบาดของโรคที่เกิดจากภาวะน้ำท่วมน้อยลง

ประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติได้รับยาสามัญประจำบ้านที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาสุขภาพในสภาวะน้ำท่วม ร้อยละ100

100.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจสามารถดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวได้

ประชาชนทุกครัวเรือนได้รับคำแนะนำ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและป้องกันโรคที่เกิดจากน้ำท่วม ร้อยละ 100

100.00
3 3. เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาสุขภาพให้ทันต่อสถานการณ์ได้

ประชาชนในพื้นที่ตำบลท่าธงได้รับการดูแลด้านสุขภาพได้อย่างทั่วถึงและทันต่อสถานการณ์ ร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
9 ธ.ค. 67 - 31 ม.ค. 68 1. กิจกรรม ให้ความรู้การดูแลสุขภาพ และการป้องกันโรคติดต่อ และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันและรักษาโรคเบื้องต้น 500 45,000.00 -
รวม 500 45,000.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดการเจ็บป่วยจากการเกิดโรคและการระบาดของโรคที่เกิดจากภาวะน้ำท่วม
  2. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวได้
  3. สามารถแก้ปัญหาสุขภาพให้ทันต่อสถานการณ์ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2567 00:00 น.