โครงการชุมชนบ้านกุบังปะโหลด ร่วมใจพัฒนาสิ่งแวดล้อม กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย ประจำปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการชุมชนบ้านกุบังปะโหลด ร่วมใจพัฒนาสิ่งแวดล้อม กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย ประจำปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5284-01-1 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด |
วันที่อนุมัติ | 6 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 19 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 15,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวมารียา สุขสง่า |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.764,100.101place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 500 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา พบว่าส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง บางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหะของโรคคือยุงลาย ลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัยในสวน ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด จึงต้องมีการเฝ้าระวังการระบาดในช่วงฤดูฝน ซึ่งในพื้นที่ จังหวัดสตูล ยังมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ตลอดทั้งปี ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ งานควบคุมโรคติดต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลดจึงตระหนัก และเห็นความสำคัญของปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาร่วมกันของคนในชุมชน พร้อมทั้งร่วมกันค้นหา วิธีแก้ไขปัญหา ซึ่งปัญหาโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นวิธีการดำเนินงานป้องกันภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนภาคีเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเน้นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการต่อเนื่องในทุกๆเดือน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในมัสยิดและชุมชน 2.เพื่อให้ประชาชนและภาคีเครือข่ายเกิดพฤติกรรมในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
กิจกรรมเราทำดีด้วยหัวใจพัฒนาสิ่งแวดล้อม กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย - จำนวน 10 ครั้ง ในชุมชน มัสยิด และพื้นที่สาธารณะ
1.จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือกออกลดลงจากปีที่ผ่านมา
๒. เกิดความร่วมมือกันทุกภาคีเครือข่ายในชุมชน ในการป้องกันโรคติดต่อในชุมชน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2567 10:27 น.