โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพนักเรียน
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพนักเรียน |
รหัสโครงการ | 68-L5284-01-2 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด |
วันที่อนุมัติ | 6 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ธันวาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 19 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 12,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวยานีลา บาหลัง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.764,100.101place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กเล็ก โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่วันเริ่มขึ้นในช่วงเกือบปีแรกและอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1 ถึง 3 ปี สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของบิดามารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธีและมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้ การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือฟันน้ำนมที่เสียถูกถอนหรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะที่บิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก หรือต้องมีการรักษาที่ยุ่งยากตามมาในอนาคต ในปัจจุบัน การดูแลสุขภาพช่องปาก จะเน้นการให้ความร่วมมือระหว่างเครือข่ายสหวิชาชีพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระแสสังคมและสร้างนวัตกรรมให้เกิดการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กปฐมวัยและประถมศึกษาตั้งแต่ช่วงอายุ 3-12 ปี ร่วมกับให้มีพื้นที่ต้นแบบนำร่องในเรื่องดังกล่าว ภายใต้นักเรียน โดยวิธี self care จากเหตุผลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลดซึ่งมีหน้าที่ในงานดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในช่องปากของกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงให้เกิดประสิทธิภาพที่ยั่งยืนเพื่อให้ สอดคล้องกับสภาพปัญหาในพื้นที่การสร้างเสริมทันตสุขภาพในระดับชุมชนเป็นมาตรการที่สามารถพัฒนาสุขภาพช่องปากของประชาชนที่ยั่งยืนที่สุดแต่ต้องอาศัยระยะเวลาและกระบวนการในการผลักดันและขับเคลื่อนสร้างให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมด้านทันตสุขภาพอันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพช่องปากของคนในชุมชนและสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีอย่างยั่งยืนจึงได้จัดโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพนักเรียน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้นักเรียนในศูนย์เด็กเล็กทั้ง 2 แห่งได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช 2.เพื่อให้ผู้ปกครองได้แปรงฟันและดูแลสุขภาพช่องปากให้ลูกได้โดย วิถี self care 3.นักเรียนในโรเรียนบ้านกุบังปะโหลด แปรงฟันได้อย่างมีคุณภาพ
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1 ขั้นวางแผนและเตรียมงาน
- จัดประชุมคณะทำงาน
- เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ
๒. ขั้นดำเนินงาน
กิจกรรมกลุ่มที่ ๑ (กลุ่มผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 2 แห่ง คือ ศพด.บ้านกุบังปะโหลด/ศพด.บ้านกลาง)
วันที่ ๑
๑. ตรวจฟันเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 2 ศูนย์
๒. จัดเสวนา เรื่องทันตสุขภาพ แก่ผู้ปกครองนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 2 ศูนย์
๓. ฝึกย้อมสีฟันแก่นักเรียน
๔. ฝึกภาคปฏิบัติ ทักษะการแปรงฟันให้แก่ลูก
๕. ให้บริการทันตกรรมทาฟลูออไรด์วานิชนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 2 ศูนย์
วันที่ 2
๑.ตรวจช่องปากนักเรียนตั้งแต่ชั้น อนุบาล – ประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนบ้านกุบังปะโหลด
๒.ให้ทันตสุขศึกษานักเรียน
๓.ฝึกภาคปฏิบัติทักษะการแปรงฟันคุณภาพในโรงเรียน
๔.ตรวจและบันทึกผลค่า Plaque Index
1.เด็กนักเรียนในศูนย์เด็กเล็กบ้านกุบังปะโหลดและศูนย์เด็กเล็กบ้านกลางได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชร้อยละ 100
๒. ผู้ปกครองได้แปรงฟันและดูแลสุขภาพช่องปากให้ลูกอย่างถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 100
3. นักเรียนในโรงเรียนบ้านกุบังปะโหลด แปรงฟันได้อย่างมีคุณภาพ คิดเป็นค่า Plaque Index
ไม่เกินร้อย ละ 5.0
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2567 13:18 น.