โครงการสร้างเสริมพลังแกนนำสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างเสริมพลังแกนนำสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 68 - L8020 - 01 - 02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลกำแพงเพชร |
วันที่อนุมัติ | 25 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 42,500.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวภูชรินทร์ หนุนอนันต์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.087,100.287place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 42,500.00 | |||
รวมงบประมาณ | 42,500.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 92 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ โดยข้อมูลจากกรมควบคุมโรคสถานการณ์โรคติดต่อนำโดยยุงลายในปี พ.ศ. 2566 ข้อมูลจากรายงาน 506 กองระบาดวิทยา โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย พบผู้ป่วยสะสม 153,734 ราย อัตราป่วย 232.47 ต่อแสนประชากร ผู้ป่วยเสียชีวิต 168 ราย โรคไข้ปวดข้อยุงลาย พบผู้ป่วยสะสม 1,373 ราย อัตราป่วย 2.07 ต่อแสนประชากร และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา พบผู้ป่วยสะสม 742 ราย อัตราป่วย 1.12 ต่อแสนประชากร มีแนวโน้มที่จะเกิดการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง อาชีพที่พบมากที่สุด ได้แก่ นักเรียน รองลงมา รับจ้าง ไม่ทราบ เกษตรกรรม และอื่นๆ ตามลำดับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่สำคัญ ได้แก่ ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า รวมถึงมีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณที่พักอาศัย โดยภูมิภาคที่พบอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน สูงสุดคือ ภาคเหนือ รองลงมาคือ ภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ
จากรายงานการส่งต่อข้อมูลจากงานระบาดวิทยาสาธารณสุขอำเภอรัตภูมิ ในปีงบประมาณ 2567 ภายในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชร พบผู้ป่วยที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะนำโรค โรคไข้เลือดออก จำนวน 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.83 ของประชากรทั้งหมด ในเขตเทศบาล จากการสำรวจลูกน้ำยุงลายในชุมชนเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชร มีค่า HI เท่ากับ 0.12 และค่า Cl เท่ากับ 0.06
ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลกำแพงเพชร โดยศูนย์บริการสาธารณสุขฯ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมพลังแกนนำสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในปีงบประมาณ 2568 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้แกนนำสุขภาพและประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชรมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย แกนนำสุขภาพและประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชรมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และชุมชนต้องมีค่า HI น้อยกว่า 10 |
||
2 | เพื่อให้สถานศึกษาในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชรไม่เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างรุนแรง สถานศึกษาภายในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชร ไม่เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก อย่างรุนแรง และต้องมีค่า CI น้อยกว่า 0 |
||
3 | เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชร ไม่เกิดการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชร |
||
4 | เพื่อลดอัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชร อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกลดลงและไม่มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาล |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 42,500.00 | 0 | 0.00 | 42,500.00 | |
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรม จัดเตรียมวัสดุกำจัดลูกน้ำยุงลาย สเปรย์พ่นยุง ครีมทากันยุง สารเคมีกำจัดยุงลาย และทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย เพื่อควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้พร้อมและเพียงพอต่อกลุ่มเป้าหมายในเขตเทศบาล | 0 | 19,300.00 | - | - | ||
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรม จ้างเหมาพ่นหมอกควันในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชร | 0 | 20,500.00 | - | - | ||
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรม ประสานแกนนำสุขภาพในพื้นที่รับผิดชอบ หลังได้รับแจ้งผู้ป่วยไข้เลือดออกจากโรงพยาบาล เพื่อลงพื้นที่ควบคุมโรค ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนทราบ และออกพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย | 0 | 0.00 | - | - | ||
1 พ.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรม จัดกิจกรรมเดินรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก | 0 | 2,700.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 42,500.00 | 0 | 0.00 | 42,500.00 |
- แบ่งทีมแกนนำสุขภาพ ในการออกสำรวจลูกน้ำยุงลายในสถานที่ราชการทุกเดือน เดือนละ 2-3 ครั้ง ได้แก่ ที่ว่าการอำเภอ เกษตรอำเภอ กศน. วัด สถานีตำรวจภูธร ศูนย์บริการฯ เป็นต้น
- จัดเตรียมวัสดุกำจัดลูกน้ำยุงลาย เช่น สเปรย์พ่นยุง สารเคมีกำจัดยุง ครีมทากันยุง และแผ่นพับให้ความรู้เรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้พร้อมและเพียงพอต่อกลุ่มเป้าหมายในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชร
- จัดกิจกรรมเดินรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
- ประสานแกนนำสุขภาพในเขตพื้นที่รับผิดชอบเมื่อได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลว่าพบผู้ป่วยไข้เลือดออก ลงพื้นที่สำรวจโรคร่วมกับแกนนำสุขภาพ ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนทราบ และออกพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายบ้านผู้ป่วยและบ้านในรัศมี 100 เมตร
- จ้างเหมาพ่นหมอกควันตามครัวเรือนภายในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชร เมื่อเกิดโรคไข้เลือดออก (บ้านผู้ป่วยและบ้านข้างเคียงในรัศมี 100 เมตร) และจ้างเหมาพ่นหมอกควันในโรงเรียนก่อนเปิดเทอม (จำนวน 3 โรงเรียน = 3 ครั้ง) รวมทั้งพ่นหมอกควันเมื่อเกิดโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน (กรณีเด็กนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเป็นไข้เลือดออก)
- แกนนำสุขภาพมีความรู้ สามารถถ่ายทอดให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบทราบถึงอันตรายจากโรคไข้เลือดออก พร้อมทั้งรู้จักวิธีการป้องกันโรคไข้เลือดออก
- ประชาชนทุกครัวเรือน วัด โรงเรียน และภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงลายปรับสภาพแวดล้อม ในอาคาร บ้านเรือน ที่พักอาศัย สถานที่ทำงานและชุมชน
- ไม่เกิดการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาล
- ไม่มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลตำบลกำแพงเพชร
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2567 13:22 น.