กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและคัดกรองภาวะโลหิตจางในกลุ่มเด็กวัยเรียน
รหัสโครงการ 68-L8020-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลกำแพงเพชร
วันที่อนุมัติ 25 พฤศจิกายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 พฤศจิกายน 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวภูชรินทร์ หนุนอนันต์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.087,100.287place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 พ.ย. 2567 30 ก.ย. 2568 15,500.00
รวมงบประมาณ 15,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คือ ภาวะที่ร่างกายมีการขาดหรือพร่องธาตุเหล็กซึ่งทำให้มีปริมาณธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ที่จะนำไปสร้างเม็ดเลือดแดงได้เป็นผลให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงหรือความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเลือดต่ำกว่าปกติ จะพบว่ามีอาการซีดของเล็บและเปลือกตาด้านในด้วยภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัจจัยด้านพฤติกรรมสุขภาพหนึ่งที่ส่งผลต่อความแข็งแรง และความฉลาดในเด็กวัยเรียน เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสาเหตุของภาวะโลหิตจางที่พบมากที่สุดได้แก่การขาดธาตุเหล็กซึ่งธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำงาน เด็กที่ขาดธาตุเหล็กจนถึงระดับที่ทำให้มีภาวะโลหิตจางจะเหนื่อยง่ายต่อการทำกิจกรรมได้เชื่องช้ากว่าเด็กปกติ จากการสำรวจภาวะโภชนาการของเด็กไทย พ.ศ.2553-2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey (SENUTS) พบว่าภาวะโลหิตจางในเด็กวัยเรียนอายุ 6-8 ปี สูงถึงร้อยละ 46.7 และพบมากกว่ากลุ่มอายุ 9-11 ปี (25.4%) และอายุ 12-14 ปี(15.7%) ตามลำดับ พบอัตราความชุกของภาวะการขาดธาตุเหล็กในเพศหญิงเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้ความสำคัญต่อการครบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กอย่างจริงจัง มีการใช้มาตรการ การเสริมธาตุเหล็กในอาหาร การใช้โภชนาศึกษา และการใช้ยาเม็ดเพื่อเสริมธาตุเหล็กแก่เด็กนักเรียน อายุ 6-12 ปี และหญิงวัยเจริญพันธ์

    จากการปฏิบัติหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสุขภาพนักเรียนที่ผ่านมาพบว่าการตรวจภาวะโลหิตจางนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้รับบริการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางทั้งหมด 79 ราย ผิดปกติ 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.85 และมีความเสี่ยงต่อการเกิดความคลาดเคลื่อนของความเข้มข้นในเลือด จึงทำให้การตรวจสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ผ่านมามีความผิดปกติความเข้มข้นในเลือดค่อนข้างสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการ ด้านการเรียนและอาจเสี่ยงต่อโรคภัยอื่นๆ ได้ ดังนั้นศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลกำแพงเพชรจัดทำโครงการป้องกันและคัดกรองภาวะโลหิตจางในกลุ่มเด็กวัยเรียน ซึ่งช่วยกระตุ้นการป้องกันและตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางของเด็กนักเรียนให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพี่อให้เด็กวัยเรียนได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางได้อย่างครอบคลุม

นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาหาร เข้าร่วมในโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กนักเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาหาร ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพ สามารถทำแบบทดสอบหลังเข้าร่วมการอบรมได้คะแนนร้อยละ 80

2 เพื่อให้เด็กวัยเรียนได้รับยาเสริมธาตุเหล็กตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขในช่วงอายุ 8-12 ปี จำนวน 22 ราย และอายุ 7 ปี จำนวน 74 ราย

ลดจำนวนเด็กนักเรียนที่ปฏิบัติตัวไม่ถูกสุขอนามัย จากการลงตรวจอนามัยโรงเรียนครั้งถัดไป

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,500.00 0 0.00 15,500.00
25 พ.ย. 67 - 30 ก.ย. 68 2. กิจกรรม - ตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางในเด็กนักเรียน 0 3,500.00 - -
1 ธ.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 1. กิจกรรม ประสานกับทางโรงเรียนเพื่อจัดอบรบให้แก่ผู้ปกคลองโรงเรียนเจริญรัตน์ศึกษา วัฒนา จำนวน 50 คน เพื่อเข้ารับการอบรมในโครงการส่งเสริมสุขภาพ 0 0.00 - -
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 จัดอบรมเชิงให้ความรู้เรื่องการป้องกันภาวะโลหิตจางในเด็กวัยเรียน สำหรับผู้ปกคลองที่มีนักเรียน มีความผิดปกติ ภาวะโลหิตจาง 0 12,000.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 15,500.00 0 0.00 15,500.00
  1. ประสานงานให้ครูอนามัยโรงเรียน เพื่อคัดเลือกนักเรียน ผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาหารที่จะเข้าร่วมโครงการ
  2. ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาหารก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม
  3. ทดสอบความรู้ก่อน/หลังการอบรม
  4. ดำเนินการจัดกิจกรรมตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางให้กับเด็กนักเรียน
  5. ติดตามค่าความเข้มข้นของเลือดครั้งที่ 3 หลังจากปรับปริมาณยาเสริมธาตุเหล็ก ( กรณีค่าความเข้มข้นของเลือดไม่ผ่านเกณฑ์ครั้งที่ 2 )
  6. ส่งต่อนักเรียนที่ตรวจพบค่าความเข้มข้นของเลือดไม่ผ่านเกณฑ์เมื่อตรวจซ้ำรอบที่ 3
  7. ประเมินผลโครงการ และรายงานผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนได้รับบริการการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางได้อย่างครอบคลุม
  2. นักเรียนได้รับยาเสริมธาตุเหล็กตามที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำการจ่ายยา ในช่วงอายุ 6 – 12 ปี
  3. นักเรียนได้รับความรู้การปฏิบัติตนเรื่องการบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2567 14:30 น.