โครงการคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนบ้านชายคลอง (อย.น้อย)
ชื่อโครงการ | โครงการคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนบ้านชายคลอง (อย.น้อย) |
รหัสโครงการ | 68 - L8020 - 01 - 04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลกำแพงเพชร |
วันที่อนุมัติ | 25 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 5,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวภูชรินทร์ หนุนอนันต์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.087,100.287place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มิ.ย. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 5,300.00 | |||
รวมงบประมาณ | 5,300.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กที่อยู่ในวัยเรียน ส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อ หรือกำลังอยู่ในช่วงของการโฆษณา ตามสื่อประเภทต่างๆ โดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์ อันตราย หรือความปลอดภัย วิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิมเป็นวิถีชีวิตแบบรีบเร่ง และเอาตัวรอดมากขึ้น มีสื่อประเภทต่างๆ เข้ามามีบทบาทในสังคมปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น ให้ผู้บริโภคอาจหลงเชื่อจนกระทั่งตัดสินใจเลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ปัจจุบันนอกจากนี้กลุ่มเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียนโดยเฉพาะผู้เรียน อายุระหว่าง 6-12 ปี ถือว่าเป็นกลุ่มผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญ หากกลุ่มเยาวชนดังกล่าวไม่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ ซึ่งผู้ผลิตได้ผลิตออกมาเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างหลากหลายมีทั้งผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด แต่ก็ยังคงมีผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตได้แอบอ้างสรรพคุณมีการโฆษณาชวนเชื่อเกินความเป็นจริง หรืออาจมีผลิตภัณฑ์ที่มีสารปนเปื้อนเป็นอันตราย ปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก พร้อมกันนี้ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร และการอ่านดูข้อมูลโภชนาการจากฉลากผลิตภัณฑ์ควบคู่ไปด้วย หากเยาวชนกลุ่มดังกล่าวมีความรู้และมีทักษะในการเลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ จะทำให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจนสามารถทำให้ปัญหาด้านสุขภาพหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ลดน้อยลงได้พร้อมทั้งให้ความรู้ให้คำปรึกษาแก่บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลทั่วไปได้อย่างมั่นใจ
จากการสำรวจภาวะโภชนาการในโรงเรียนบ้านชายคลองทั้งหมด 50 คน พบว่ามีเด็กนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษามีภาวะผอมจำนวน 2 คน และมีภาวะค่อนข้างผอมจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 10.86 น้ำหนักของนักเรียนทั้งหมด มีภาวะเตี้ยจำนวน 11 คน และมีภาวะค่อนข้างเตี้ยจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 36.95 ส่วนสูงของนักเรียนทั้งหมด และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการคิดเป็นร้อยละ 73.91 ดังนั้นทางศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลกำแพงเพชร เมื่อเล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคเรียนที่ 1 ของโรงเรียนบ้านชายคลองจึงได้จัดทำ “โครงการคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียนบ้านชายคลอง (อย.น้อย)” อย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาและป้องกันเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ และภัยอันตรายจากการบริโภคอาหาร ทำให้นักเรียนสามารถเลือกบริโภคอาหารได้อย่างถูกสุขอนามัย รวมทั้งการอ่านฉลากโภชนาการอาหารได้อย่างถูกต้องและรู้ถึงประโยชน์ของการอ่านฉลาก
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านชายคลองรวมทั้งบุคลากรในโรงเรียน เช่น นักเรียน คุณครู และผู้ประกอบอาหาร จำนวน 50 คน นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในโครงการคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน |
||
2 | เพื่อให้ อย.น้อย มีความรู้ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค และตระหนักในเรื่องการเลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัย อย.น้อยสามารถทำแบบทดสอบหลังเข้าร่วมการอบรมได้คะแนน ร้อยละ 80 |
||
3 | เพื่อให้อย.น้อยสามารถรู้เท่าทันสื่อโฆษณาก่อนจะเลือกบริโภคอาหาร และสามารถบริโภคอาหารในปริมาณที่เหมาะสม อย.สามารถอ่านฉลากโภชนาการได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ |
||
4 | อย.น้อยสามารถวิเคราะห์อาหารที่มีสารปนเปื้อนได้ อย.น้อยมีความสามารถในการสังเกตการปนเปื้อนของอาหารได้ |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ธ.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมประสานกับทางโรงเรียนเพื่อให้บุคลากรในเรียน เช่น นักเรียน คุณครู และผู้ประกอบอาหาร จำนวน 50 คน ได้รับการอบรมกับเจ้าหน้าที่ | 0 | 0.00 | - | ||
1 มิ.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 | กิจกรรมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้และแนวทางการปฏิบัติ งานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน ( อย. น้อย ) ให้แก่บุคลากร เช่น นักเรียน คุณครู และผู้ประกอบอาหาร | 0 | 5,300.00 | - | ||
รวม | 0 | 5,300.00 | 0 | 0.00 |
- ประสานงานให้ครูอนามัยโรงเรียน เพื่อชี้แจงกลุ่มเป้าหมายนักเรียนที่จะเข้าร่วมโครงการ
- ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้ และแนวทางการปฏิบัติ แก่นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการและครูอนามัยโรงเรียน
- ดำเนินกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ
- ทดสอบความรู้ก่อน/หลังการอบรม
- จัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้วิธีการอ่านฉลากที่ถูกต้อง
- ประเมินผลโครงการ และรายงานผลการดำเนินโครงการ
- นักเรียนได้รับความรู้ความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการบริโภค อาหารที่สะอาด ปลอดภัย
- นักเรียนมีความตระหนักในเรื่องการเลือกบริโภคอาหารที่สะอาด และปลอดภัย
- นักเรียนสามารถรู้เท่าทันสื่อโฆษณาก่อนจะเลือกบริโภคอาหาร และสามารถบริโภคอาหารในปริมาณที่เหมาะสม
- นักเรียนสามารถวิเคราะห์อาหารที่มีสารปนเปื้อนได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2567 14:54 น.