กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L5284-01-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 19 กันยายน 2568
งบประมาณ 14,840.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางถนอมสิน หิรัญสถิตย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.764,100.101place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 37 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันพบว่า คนไทยป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มากขึ้น โดยส่วนใหญ่ร้อยละ ๙๐ เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ อาทิ ขาดการออกกำลังกาย น้ำหนักตัวเกิน สูบบุหรี่  กินอาหารไม่เหมาะสม เช่นกินอาหารหวาน มัน เค็ม โซเดียมเกิน และกินผักน้อยลง กินมากกว่าการใช้พลังงาน คนที่เป็นโรคเบาหวานหาก ปล่อยตัวภายใน ๑๐ปี จะเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น หลอดเลือดเสื่อม ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้  เส้นเลือดสมองเสื่อม ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเสื่อมทำให้เป็นเส้นเลือดหัวใจตีบได้ และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตาเสื่อม ทำให้จอประสาทตาเสื่อมนำไปสู่การตาบอดได้ ส่วนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีภาวะแทรกซ้อนเกิดได้ ๒ กรณีคือ จากความดันโลหิตสูงโดยตรง ได้แก่ ภาวะหัวใจวายและหลอดเลือด ในสมองแตกและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจาก หลอดเลือดแดงตีบและตันทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆไม่พอทำให้เกิดผลกระทบ ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อน ทางหัวใจ หัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ทางไต คือไตเสื่อมนำไปสู่ไตวายเรื้อรัง ทางสมอง ทำให้สมองตาย เส้นเลือดตีบนำไปสู่ อัมพฤกษ์ อัมพาต ในที่สุด     จากข้อมูลของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด ปีงบประมาณ 2567 พบว่า หมู่ที่1-4 ตำบลควนสตอ ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง เป้าหมาย 719 คน คัดกรองได้ 637 คน คิดเป็นร้อยละ 88.60 พบกลุ่มปกติ 537 คน คิดเป็นร้อยละ 84.30 กลุ่มเสี่ยงความดัน 114 คน เป็นร้อยละ 15.69 กลุ่มป่วย 17 คน คิดเป็นร้อยละ 2.66 กลุ่มป่วยส่งพบแพทย์ ได้รับการวินิจฉัย จำนวน 17 คน ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน เป้าหมาย 907 คน คัดกรองได้ 821 คน คิดเป็นร้อยละ 90.52 พบกลุ่มปกติ 637 คน คิดเป็นร้อยละ 75.25 กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 183 คน เป็นร้อยละ 22.28 กลุ่มสงสัยป่วย 15 คน ส่งพบแพทย์ได้รับการวินิจฉัย จำนวน 8 คน กลุ่มเสี่ยงทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 134 คน ซึ่งประชากรกลุ่มเสี่ยงกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่ต้องได้รับความรู้ในการดูแลตนเอง สุขภาพของตนเอง ตามแนวคิดความรอบรู้สุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (2561) ซึ่งได้จำแนกองค์ประกอบ 6 ด้านได้แก่ 1.การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ 2. ความรู้ ความเข้าใจ 3. ทักษะการสื่อสาร 4. ทักษะการจัดการตนเอง 5. ทักษะการตัดสินใจ 6. การรู้เท่าทันสื่อ โดยการใช้แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (2561) จะสามารถก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด ได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประมาณ 2568 ในกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มป่วยรายใหม่ โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 37 คน ภายใต้รูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ 3 อ.2ส. เพื่อการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ โดยเป้าหมายสูงสุด คือประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะป่วย มีความรอบรู้ ความสามารถดูแลสุขภาพ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติสุขภาพ ไม่ให้กลายเป็นผู้ป่วย ลดผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง หรือเมื่อป่วย ลดเกิดการแทรกซ้อนจากโรคของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายสาธารณสุขที่เน้นระบบสุขภาพเชิงรุก และการสร้างเสริมสุขภาพ ประชาชนป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการรักษาพยาบาล จึงได้จัดทำโครงการเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณโครงการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลควนสตอ เพื่อดำเนินโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์โครงการต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้ผู้เข้าอบรมในเรื่อง 3อ2ส.เพิ่มขึ้น ร้อยละ80 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส.ที่พึงประสงค์ของคนไทย โดยใช้แนวคิดความรอบรู้สุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ร้อยละ 100 3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามความดันโลหิตและเจาะน้ำตาลครอบคลุมร้อยละ 80 4. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ลดลงไม่เกินร้อยละ 5 5. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงไม่เกินร้อยละ 5 6. กลุ่มเสี่ยงที่เป็นกลุ่มป่วยได้รับการติดตามและการส่งต่อ 100 เปอร์เซ็นต์

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมสร้างความตระหนัก ๑. ขั้นตอนการวางแผน - ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงแผนงานโครงการ เพื่อร่วมวางแผนการดำเนินการงานตามโครงการ กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน
๒. ขั้นตอนการเตรียมการดำเนินงาน - ส่งโครงการเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนโครงการ ๓. ขั้นตอนดำเนินงาน 3.1 วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)     1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการ
2. กำหนดการจัดกิจกรรมตามแผนงานโครงการ 3. จัดหาวิทยากรที่เหมาะกับโครงการ 4. การดำเนินการตามขั้นตอนของกิจกรรม     4.1 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้
          - อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคร่วมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 37 คน อบรมครั้งที่ 1 การรู้ตนว่าความเสี่ยงอยู่ระดับไหน การแปรผลสุขภาพตนเอง การฝึกปฏิบัติวัดความดันโลหิตที่บ้าน การฝึกเจาะน้ำตาล เพื่อการติดตาม ผลสุขภาพ ระดับความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือด หลังอบรม 1 เดือน
- อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคร่วมครั้งที่ 2 จำนวน 37 คน เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ2ส. เข้มข้น     - อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงโรคร่วมครั้งที่ 3 จำนวน 37 คน การออกกำลังกาย 5. การติดตามและประเมินผลน้ำหนัก รอบเอว ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลปลายนิ้วโดย อสม. 6. ประเมินแบบสอบถามความรู้ ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม 7. การรายงานผลและ สรุปผลการประเมินแบบสอบถามความรู้ ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม
8. สรุปผลการประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม 9. ประเมินผลการดำเนินงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ 10. การจัดทำรูปเล่ม สรุปรายงานผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการดูแล สุขภาพ หลากหลายช่องทาง สามารถประเมินผลสุขภาพตัวเองว่าอยู่ที่ไหน เรียนรู้การลดระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาล เรียนรู้การวัดความดันโลหิตที่บ้านและเรียนรู้การเจาะน้ำตาลด้วยตนเองในช่วงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับคู่มือดูแลและติดตามสุขภาพสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ครอบคลุม 100 เปอร์เซ็นต์ 3.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง หลังมีความรู้และนัดติดตามต่อเนื่อง 1 เดือน คาดว่าค่าระดับความดันโลหิตและค่าน้ำตาลปลายนิ้ว ลดลง 4.กลุ่มเสี่ยงสูงที่เป็นกลุ่มป่วยได้รับการส่งต่อ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2567 10:29 น.