โครงการเหาหาย สบายหัว
ชื่อโครงการ | โครงการเหาหาย สบายหัว |
รหัสโครงการ | 68-L8020-02-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านชายคลอง สพป.สข 2 |
วันที่อนุมัติ | 25 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 5,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายนนทกร แก้วจำรัส |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.087,100.287place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มิ.ย. 2568 | 31 ก.ค. 2568 | 5,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 5,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคเหาเป็นโรคที่พบกันบ่อยมากใน กลุ่มนักเรียนตั้งแต่ชั้นปฐมวัยจนถึงประถมศึกษาโดยพบว่ามีนักเรียนติดเหาประมาณ 80-90 % ซึ่งโรคเหานับเป็นโรคที่น่ารังเกียจ สำหรับคนทั่วไป นอกจากก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็นเหาจากการมีอาการคันศีรษะแล้วยังทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ และยังเป็นพาหะนำไปติดผู้อื่นต่อไป วิธีการรักษาเหา จะต้องทำการรักษาผู้ที่เป็นเหาและผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควบคู่กันไป โดยต้องทำการควบคุมไม่ให้เหาแพร่กระจาย และป้องกันไม่ให้เกิดการติดเหาซ้ำโดย ใช้ยาเพื่อฆ่าเหาซึ่งยามีทั้งในแบบยาสระ หรือโลชั่น ซึ่งวิธีการรักษาเหาในรูปแบบดังกล่าวเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย และเห็นผลชัดเจน ดังนั้น โรงเรียนบ้านชายคลอง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียนที่เป็นโรคเหา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อกำจัดเหาให้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนบ้านชายคลอง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดร่างกายและศีรษะ และรู้จักการป้องกันการกำจัดเหา ร้อยละ 100 นักเรียนได้รับ ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพสุขลักษณะที่ถูกต้อง และโดยเฉพาะการเป็น เหา ในเด็กวัยเรียนของโรงเรียนบ้านชายคลอง |
||
2 | เพื่อลดอัตราการเป็นเหาและ ส่งผลให้เด็กในวัยเรียนมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น ร้อยละ 100 เด็กในวัยเรียนมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 5,000.00 | 0 | 0.00 | 5,000.00 | |
1 มิ.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 | กิจกรรมการอบรมให้ความรู้เรื่องเหาของเด็กนักเรียนในวัยเรียน พร้อมตอบข้อซักถาม แก่เด็ก ครูและผู้ที่เกี่ยวข้อง เเละกิจกรรมการสาธิต การสระผม การหมักยากำจัดเหา นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง | 0 | 5,000.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 5,000.00 | 0 | 0.00 | 5,000.00 |
เตรียมความพร้อมของผู้ดำเนินงาน
1.1 จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
1.2 เขียนโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลกำแพงเพชร
ขั้นเตรียมการ
2.1 จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
2.2 เขียนโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลกำแพงเพชร
2.3 เตรียมข้อมูล เอกสาร วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่
ขั้นดำเนินการ
3.1 จัดประชุมครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
3.2 จัดเตรียมสถานที่สำหรับดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
3.3 จัดหาวัสดุอุปกรณ์และสิ่งสนับสนุนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมโครงการและชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ ประกอบด้วยกิจกรรมดังนี้
1) จัดการอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านชายคลอง เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยให้ถูกสุขลักษณะ การดูแลและป้องกันการเป็นเหา พร้อมตอบข้อซักถาม
2) สาธิตการสระผมหมักยากำจัดเหา
4.ขั้นสรุปผลการดำเนินงาน
4.1 สรุปผลการดำเนินโครงการ
4.2 รายงานผลการดำเนินโครงการ
- นักเรียนโรงเรียนบ้านชายคลอง มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดร่างกายและศีรษะ และรู้จักการ ป้องกันการกำจัดเหา
- นักเรียนมีสมาธิในการเรียนเพิ่มขึ้น
- นักเรียนมีบุคลิกภาพดีขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2567 10:38 น.