กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ปัญหาภาวะอุทุกภัยพื้นที่ อบต.บาเจาะ ประจำปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L4127-05-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 11 ธันวาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 พฤศจิกายน 2567 - 20 ธันวาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2567
งบประมาณ 60,440.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสูรียา อาแว
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนาซีเราะ ปุโรง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม
65.00
2 ร้อยละเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด
65.00
3 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
75.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดภัยพิบัติอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดยะลา ตั้งแต่ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนหลายพื้นที่ในจังหวัดยะลา ทั้งนี้พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ เกิดน้ำท่วมขัง ในวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2567 เป็นเวลา 2 วัน มีประชาชนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน ทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหาย ไม่สะดวกต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนพื้นที่ตำบลบาเจาะ เป็นพื้นที่ประสบภัยดังกล่าว จึงสามารถให้มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำท่วม ตลอดจนถึงการป้องกันและแก้ปัญหาโรคหรือสุขภาพที่เกิดขึ้นภายหลังจากน้ำลดแล้ว จากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ข้อ10(5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ปัญหาสาธารณสุขได้ ตามความจำเป็น เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ได้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ ในพื้นที่ตำบลบาเจาะมีความตระหนักในปัญหาสุขภาพที่จะตามมาจากน้ำท่วมครั้งนี้ คือ โรคทางเดินอาหารจากการดื่มน้ำ/รับประทานอาหารที่ปนเปื้อนหรือแหล่งน้ำ/บ่อน้ำบริโภคถูกน้ำท่วม ส่งผลต่อการขาดแคลนน้ำดื่มโรคผิวหนัง เช่น น้ำกัดเท้าการระบาดของโรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก ปัญหาสุขภาพจิต มีภาวะซึมเศร้าจากการสูญเสียญาติพี่น้องหรือทรัพย์สินจากปัญหาสุขภาพดังกล่าวจึงจำเป็นต้องดำเนินการบรรเทาและป้องกันผลกระทบจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความรวดเร็วทันต่อสถานการณ์ สำหรับในพื้นที่ตำบลบาเจาะ มีความตระหนักในปัญหาสุขภาพที่จะตามมาจากน้ำท่วมครั้งนี้ คือ โรคน้ำกัดเท้า หรือ บ่อน้ำบริโภคถูกน้ำท่วมส่งผลต่อการขาดแคลนน้ำดื่ม ตลอดจนการระบาดของโรคฉี่หนู หรือ โรคไข้เลือดออกจำเป็นต้องดำเนินโครงการเผชิญและบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติรวมทั้งมีผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยไต ที่ไม่สามารถเดินทางไปรับบริการ ณ หน่วยบริการ ตามปัญหาสุขภาพและความจำเป็นได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

สามารถลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม(ร้อยละ)

65.00 50.00
2 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด

การแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด(ร้อยละ)

65.00 55.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

75.00 50.00
4 เพื่อให้ลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม ร้อยละ 85

ลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม ร้อยละ 85

85.00
5 เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัยได้รับการดูแล/แก้ปัญหาสุขภาพตามความจำเป็น

ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัยได้รับการดูแล/แก้ปัญหาสุขภาพตามความจำเป็น ร้อยละ 75

75.00
6 เพื่อให้ประชาชนได้รับการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดขึ้นหลังอุทกภัย

ประชาชนได้รับการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดขึ้นหลังอุทกภัย ร้อยละ 75

75.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ย. 67ธ.ค. 67
1 การเตรียม/วางแผน(P)(25 พ.ย. 2567-11 ธ.ค. 2567) 0.00    
2 การดำเนินงานตามแผน (D)(25 พ.ย. 2567-30 ธ.ค. 2567) 60,440.00    
3 การประเมิน / รายงานผล (A)(25 พ.ย. 2567-30 ธ.ค. 2567) 0.00    
รวม 60,440.00
1 การเตรียม/วางแผน(P) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0 0
2 การดำเนินงานตามแผน (D) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 430 60,440.00 0 0.00 60,440.00
25 พ.ย. 67 - 30 ธ.ค. 67 การดำเนินงานตามแผน (D) 430 60,440.00 - -
3 การประเมิน / รายงานผล (A) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0 0
รวมทั้งสิ้น 430 60,440.00 0 0.00 60,440.00
  1. วิธีดำเนินการ การเตรียม/วางแผน(P)
    1. จัดประชุมคณะทำงานเตรียมความพร้อมในการเสนอโครงการ
    2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบาเจาะ
    3. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานวิทยากร จัดเตรียมสถานที่ และจัดเตรียมอุปกรณ์ในการฝึกอบรม การดำเนินงานตามแผน (D)
    4. จัดทีมเยี่ยมสำรวจปัญหาสุขภาพประชาชนในพื้นที่ (เน้นกลุ่มยากไร้ มีโรคเรื้อรัง พิการ ผู้สูงอายุ)
    5. รายงานข้อมูลสภาพปัญหาสุขภาพให้ อปท.พื้นที่และจัดทำแผนดูแล/ช่วยเหลือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ฯลฯ ช่วงอุทกภัย
    6. เยี่ยมผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลด้านสุขภาพช่วงอุทกภัย
    7. จัดหายา/เวชภัณฑ์เพื่อจัดบริการในชุมชนช่วงอุทกภัย ได้แก่ สามัญประจำบ้านครัวเรือนละ 1 ชุดยาที่ จำเป็นเพื่อการรักษา/ป้องกันโรค เช่นยาทารักษาโรคน้ำกัดเท้า ชุดทำแผลแบบใช้ครั้งเดียวผ้ายืดพันแผล ฯลฯ
    8. จัดทีมคัดกรองภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเสี่ยงหลังน้ำท่วม
    9. ลงพื้นที่ให้คำแนะนำการจัดระบบสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมหลังอุทกภัย การประเมิน / รายงานผล (A)
    10. สรุปและประเมินผลกิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ปชช.ไม่เกิดโรคจากน้ำท่วม
    1. ปชช.ได้รับการดูแลเบื้องต้นทางสุขภาพภายหลังจากน้ำท่วม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ