กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังภาวะโรคโลหิตจางในเด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี ตำบลควนสตอ ปี 2568
รหัสโครงการ 68-L5284-01-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 19 กันยายน 2568
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาซีกีน ถิ่นสตูล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.764,100.101place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางในเด็กปฐมวัยในระดับประเทศ ยังคงเป็นปัญหา ที่ต้องได้รับการแก้ไข เนื่องจากเด็กปฐมวัยที่มีภาวะโลหิตจางจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยในเด็ก ในปัจจุบันพบว่า มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรมที่เด็ก ได้รับสืบทอดมาจากพ่อแม่มีความสัมพันธ์กับระดับเชาวน์ปัญญาร้อยละ 50 ภาวะโภชนาการของแม่ระหว่าง ตั้งครรภ์และระหว่างการเติบโตช่วงปฐมวัย ที่พบว่าสารไอโอดีนและธาตุเหล็กเป็นสารอาหารที่มี ความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและการพัฒนาของระบบประสาท การขาดธาตุเหล็กก่อให้เกิด ภาวะโลหิตจาง ที่องค์การอนามัยโลกระบุว่าเป็นปัญหาทุพโภชนาการที่พบมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะ ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กปฐมวัยสูงเป็นอันดับ 2 (ร้อยละ 65.5) รองจากประเทศในทวีปแอฟริกา (ร้อยละ 67.6) และพบได้ในทุกกลุ่มอายุโดยเฉพาะเด็ก ต่ำกว่า 2 ปี พบภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กมากที่สุด (ร้อยละ 47.4) ซึ่งปัจจัยการขาดธาตุเหล็ก ที่กล่าวมาสอดคล้องกับการศึกษาสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทยปี 2557 และ 2560 พบว่า เด็กปฐมวัย (0-5 ปี) มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าถึงร้อยละ 27.2 และ 32.5 ตามลำดับ โดยเด็กที่สงสัยพัฒนาการ ล่าช้าไม่ได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กร้อยละ 81.5 และ 70.3 ตามลำดับ ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญ ของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงธาตุเหล็กมีมากในสมองและมีส่วนสำคัญในการป้องกันเชื้อโรค ดังนั้น การขาดธาตุเหล็กจึงส่งผลเสียต่อการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการเจ็บป่วย และพัฒนาการของสมองโดยเฉพาะ ในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปีอีกทั้งยังส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร การเกิดภาวะโลหิตจางในเด็กปฐมวัยมีสาเหตุหลักมาจาก การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ และ จากการเสียเลือดเฉียบพลัน จากการสำรวจภาวะโภชนาการเด็กไทยภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey พ.ศ. 2553-2555 พบเด็กอายุ 6 เดือน–3 ปี ในชนบทมีความชุกโลหิตจางสูงถึง ร้อยละ 41.7 และในเขตเมือง ร้อยละ 26 ซึ่งสัมพันธ์กับการศึกษาสถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ปี 2557 และปี 2560 ที่พบว่าเด็กได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กและกินเป็นประจำเพียงร้อยละ 11.5 และ 16.8 ตามลำดับ แนวทางการแก้ปัญหาซีดจากการขาดธาตุเหล็ก องค์การอนามัยโลก (WHO) และกระทรวง สาธารณสุข โดยกรมอนามัย มีนโยบายให้เด็กได้กินนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน (Exclusive breast feeding) และการให้ยาเสริมธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และให้ยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี ร่วมกับการกำหนดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแบ่งตามกลุ่มวัย ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในการให้ยาเสริมธาตุเหล็ก รวมทั้งกำหนดให้เจาะเลือด เพื่อหาภาวะซีดในเด็กอายุ 9-12 เดือน และ 3-5 ปี อย่างไรก็ตามยังพบปัญหาการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ส่งผลให้ภาวะโลหิตจางยังเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในเด็กปฐมวัยไทยที่ต้องการมาตรการเชิงรุก ในการป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ ดังนั้นเพื่อลดภาวะซีด จากการขาดธาตุเหล็กในเด็กปฐมวัยไทยต้องมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย จากตัวพ่อแม่เอง เครือญาติ ผู้ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งการมีนโยบายที่สนับสนุนแนวทางการปฏิบัติ การบริหาร จัดการ การเฝ้าระวัง การคัดกรอง การเข้าถึงบริการ และการกำกับติดตามที่ชัดเจน จากสถานการณ์ของโรงพยาบาลควนโดน ในปีที่ผ่านมาพบว่า เด็กได้รับการตรวจภาวะโลหิตจางอายุเด็กอายุ 9-12 เดือน จำนวน 42 คน ร้อยละ 97.83 พบโลหิตจาง จำนวน 16 คน ร้อยละ ๓8.1 ซึ่งยังเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ ไม่เกินร้อยละ 20 เด็กได้รับการตรวจภาวะโลหิตจางอายุเด็กอายุ 3-5 ปีจำนวน 33 คน ร้อยละ 44.59 พบโลหิตจาง จำนวน 5 คน ร้อยละ 15.15 จ่ายยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก ๑ เดือน และติดตามผลการตรวจความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้น ดังนั้น โรงพยาบาลควนโดน จึงได้เล็งเห็นปัญหาทางด้านสุขภาพ จึงจัดทำโครงการเฝ้าระวังภาวะโรคโลหิตจางในเด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี ตำบลควนสตอ ปี 2568 ขึ้นมา เพื่อค้นหา และป้องกันการเกิดภาวะซีด/โลหิตจางที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กและหามาตรการเพื่อการดูแลและแก้ไขปัญหาภาวะซีดในเด็กตั้งแต่เริ่มต้น อย่างเป็นระบบป้องกันและดูแลให้มีพัฒนาการสมวัย เติบโตเป็นประชากรของประเทศอย่างมีคุณภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 9 เดือน – 5 ปี 2.เด็กที่ตรวจพบภาวะซีดต้องได้รับการรักษาและส่งต่อทันที 3. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กอายุ 9 เดือน – 5 ปี เกี่ยวกับการเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็ก

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมสร้างความตระหนัก ๑. ขั้นตอนการวางแผน - ร่วมกันประชุมวางแผน แนวทางการดำเนินงานโครงการ กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน
๒. ขั้นตอนการเตรียมการดำเนินงาน - ส่งโครงการเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนโครงการ
๓. ขั้นตอนดำเนินงาน - ประสานชี้แจงการดำเนินงานตามโครงการฯ - ชี้แจงรายละเอียดโครงการ/ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเขตรับผิดชอบ - จัดเตรียมการประชุมตามวาระที่กำหนด จัดเตรียมเอกสารเนื้อหาการอบรมหลักสูตรที่จะใช้ในการอบรมตามกลุ่มเป้าหมาย - แจ้งกลุ่มเป้าหมายในการจัดกิจกรรม/การอบรม / กำหนด สถานที่ วัน เดือน ปี - จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางในเด็กแก่เด็ก ผู้ปกครองและผู้เลี้ยงดูเด็ก จำนวน 60 คน
- คัดกรองเจาะเลือดปลายนิ้วในเด็กอายุ 9 เดือนถึง 5 ปีเพื่อประเมินภาวะซีดและให้ยาเสริมธาตุเหล็กในเด็กที่มีภาวะโลหิตจางทุกคน - ติดตามเฝ้าระวังเด็ก จัดทำทะเบียนติดตาม เดือนละ 1 ครั้ง โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในรายที่พบภาวะซีด - ตรวจติดตามเจาะเลือดซ้ำ ในรายที่มีความเข้มข้นเลือดผิดปกติ ครั้งที่ 1 หลังจากได้รับยาบำรุงโลหิต เพื่อประเมิน และติดตามภาวะซีด ใน 1 เดือน - ประเมินผลการดำเนินงาน - สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานโครงการเสนอต่อผู้บริหาร/องค์การบริหารส่วนตำบลควนสตอ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางและได้รับยาน้ำเสริมธาตุเหล็กเสริม
  2. เด็กที่ตรวจพบภาวะซีดได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง. 3.เด็กในกลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพดีสมวัย ไม่มีอาการเจ็บป่วยเนื่องจากภาวะซีด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2567 13:31 น.