โครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเดินทรงตัว ประจำปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเดินทรงตัว ประจำปี 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5284-01-5 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลควนโดน |
วันที่อนุมัติ | 6 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 19 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 16,250.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางใดฮานา สาอีซา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.764,100.101place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเนื่องจากมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ โดยปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ คือ การเกิดอุบัติเหตุ เช่น การลื่นหกล้ม (ประเสริฐอัสสันตชัย, 2552) จากการสำรวจพบว่าผู้สูงอายุไทยร้อยละ 18.5 มีการรายงานการหกล้ม โดยเกิดภาวะหกล้มเฉลี่ยคนละ 2 ครั้ง สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะหกล้ม คือ การสูญเสียการทรงตัว โดยพบว่าผู้สูงอายุไทยเพศชายร้อยละ 32.1 และเพศหญิงร้อยละ 37 ความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุมีแนวโน้มลดลง เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสรีรวิทยาเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองลดลง ความเร็วในการส่งสัญญาณประสาท และการตอบสนองต่อปฏิกิริยาต่างๆ ลดลง ความไวในการรับรู้ข้อมูลจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมลดลง ความแข็งแรงและกำลังของกล้ามเนื้อลดลง โดยเฉพาะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและกล้ามเนื้อลำตัวที่ลดลง ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนไหวร่างกายลดลง(วิไลวรรณ ทองเจริญ, 2554) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นดังกล่าว จึงส่งผลให้ความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุลดลง ดังนั้นการพัฒนาความสามารถด้านการทรงตัวจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีการทรงตัวที่ดีและป้องกันภาวะหกล้ม (ลักขณา มาทอ และคณะ, 2555) การออกกำาลังกายจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถพัฒนาความสามารถด้านการทรงตัวและป้องกันภาวะหกล้มในผู้สูงอายุได้ จากข้อมูลผู้มารับบริการทางกายภาพบำบัด กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟูโรงพยาบาลควนโดน ปีงบประมาณ 2567 มีผู้ป่วยปวดหลัง คิดเป็นร้อยละ 10.43 และผู้ป่วยปวดเข่า คิดเป็นร้อยละ 9.95 ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดภาวะการเดินทรงตัวไม่สมดุล แผนกกายภาพบำบัดโรงพยาบาลควนโดนตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงอยากเผยแพร่ความรู้และจัดการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยสอนวิธีการออกกำลังกายและบริหารทางกายภาพบำบัดให้แก่ผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเดินทรงตัว ซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถช่วยลดภาวะความเจ็บป่วยและลดการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยผู้ป่วยสามารถทำได้ด้วยตนเอง เพื่อให้สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นและใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการการเดินทรงตัวได้
2.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำวิธีการต่างๆมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
3.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเผยแพร่ความรู้ และวิธีการต่างๆเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเดินทรงตัวได้
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.ขั้นตอนการวางแผนงาน
1.1 ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
1.2 แต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ
2. เสนอโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลควนสตอ
3. ขั้นตอนการดำเนินงาน
3.1 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาสัมพันธ์โครงการ แก่กลุ่มผู้สูงอายุที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการ
3.2 จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ สื่อความรู้ต่างๆ ได้แก่ เสื่อโยคะสำหรับใช้ในการออกกำลังกาย แผ่นพับ เป็นต้น
3.3 อบรมให้ความรู้เรื่องโครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเดินทรงตัว ประจำปี 2568
3.4 จัดกิจกรรมการภาคปฏิบัติโครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเดินทรงตัว ประจำปี 2568
3.5 ติดตามประเมินผลและรายงานผลโครงการ
-คู่มือการบันทึก “การออกกำลังกายส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเดินทรงตัว ประจำปี 2568”
4. ประเมินผลการดำเนินงานจาก
4.1 การฝึกปฏิบัติโครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเดินทรงตัว ประจำปี 2568
4.2 แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรม
5. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลควนสตอ
-คู่มือการบันทึก “การออกกำลังกายส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเดินทรงตัว ประจำปี 2568” หลังจากเข้าร่วมอบรมโครงการ 1 เดือน
1.ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการการเดินทรงตัวได้ 2.ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงสามารถออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเดินทรงตัวได้ 3.ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเผยแพร่ความรู้ และท่าทางการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเดินทรงตัวได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2567 14:13 น.