กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน ปี 2568
รหัสโครงการ ุ68-L2480-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก
วันที่อนุมัติ 24 กันยายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2568 - 31 กรกฎาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 12,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุสมาน อาแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ปัจจุบันสถานการณ์โรคติดต่อและการพยากรณ์โรคติดต่อที่มีแนวโน้มเกิดการระบาดได้ในปี ๒๕๖๗ ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโตได้รวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว นับเป็นปัญหาสาธารณสุขทั้งในระดับเขตระดับชาติ และนานาชาติ ประกอบกับสถานะทางสุขภาพของมนุษย์มีความซับซ้อน ส่งผลกระทบสูงต่อการเปลี่ยนแปลงสถานะสุขภาพ ของประชาชนทำให้มีความเสี่ยงจากโรคและภัยสุขภาพที่สำคัญ อาทิ โรคติดต่อทางระบบหายใจ (ไข้หวัดใหญ่) โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ(ไข้เลือดออก) โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ(อุจจาระร่วง,โรคตาแดง) และโรคติดต่ออื่นๆ (โรคมือ เท้า ปาก,โรคฉี่หนู)
โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จะต้องรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่นและภาคประชาชน วางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในพื้นที่ โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาปัญหา จึงจะสามารถแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรค ประชาชนจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบท และสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพพื้นที่ของตนเองหน่วยงานเกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ เข้ากับบริบทของพื้นที่ จึงจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชนปี ๒๕๖8 เพื่อส่งเสริมแกนนำสุขภาพประจำบ้านและผู้สนใจสามารถป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและการสอบสวนโรค พร้อมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.ส่งเสริมให้แกนนำสุขภาพประจำบ้านมีความรู้ มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและป้องกันตนเองอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
  1. ร้อยละ 100 แกนนำสุขภาพประจำบ้านมีความรู้ มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและป้องกันตนเองอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
3.00 1.00
2 2.เพื่อ พัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรค

2.ร้อยละ100 แกนนำสุขภาพประจำบ้าน มีการพัฒนาศักยภาพ มีทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรค

2.00 1.00
3 3. ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น

3.ร้อยละ 80  ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น

3.00 1.00
4 4.เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับแกนนำสุขภาพประจำบ้านและชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชนได้

4.ร้อยละ 100 แกนนำสุขภาพประจำบ้านและชุมชนมีความเข้มแข็ง และมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชนได้

2.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 เม.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 กิจกรรมที่ 1 เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขดำเนินการสำรวจและจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคระบาดในชุมชน 0 0.00 -
1 เม.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 กิจกรรมที่ ๓ เจ้าหน้าที่และอสม มีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อเพื่อแจ้งข่าวสารการระบาดของโรคติดต่อ ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อเตือนภัยกรณีมีการเกิดโรคในพื้นที่ 0 12,950.00 -
1 เม.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้ 0 0.00 -
รวม 0 12,950.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มแกนนำสุขภาพประจำบ้านมีความรู้ มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและป้องกันตนเองอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ ร้อยละ๑๐0
  2. เพื่อพัฒนาศักยภาพ ทักษะส่วนบุคคลและชุมชนให้เกิดความพร้อมในการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรค
    ร้อยละ100
  3. เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้นร้อยละ ๘๐
    ๔. เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับแกนนำสุขภาพประจำบ้านและชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชนได้ร้อยละ 100
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2567 00:00 น.