กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากกลุ่มผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 61-L2979-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ทุ่งพลา
วันที่อนุมัติ 11 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 31 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.ทุ่งพลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.641,101.152place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (23,300.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานผลการสำรวจ สภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555 พบว่ากลุ่มวัยสูงอายุ 60-74 ปีในเขตชนบทมีฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษาซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการสูญเสียฟันในอนาคต ร้อยละ 51ซึ่งสูงกว่าเขตเมืองและกรุงเทพมหานคร ตรงข้าม8 ผู้สูงอายุในชนบทมีฟันใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 20 ซี่จำนวนสูงกว่าผู้สูงอายุที่อยู่ในเมืองชัดเจน คือร้อยละ 63 และ 48 ตามลำดับ โดยเฉลี่ยทั้งประเทศผู้สูงอายุมีฟันใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 20 ซี่ ร้อยละ 57 นอกจากนี้ในผู้สูงอายุ80-89 ปีพบมีฟันแท้ใช้งานอย่างน้อย 20ซี่ ประมาณ 1 ใน 4 คือ ร้อยละ 24 คู่สบฟันหลังเป็นตัวชี้วัดสำคัญในการวัดประสิทธิภาพการบดเคี้ยว ซึ่งควรมีอย่างน้อย 4 คู่สบ จึงจะเพียงพอต่อการบดเคี้ยว พบว่ามีเพียง 3คู่/คนในกลุ่มผู้สูงอายุ 60-74 ปีและลดลงอีกจนเหลือเพียง 1 คู่/คนเมื่ออายุ 80 ปีนั่นหมายถึง เมื่ออายุเพิ่มขึ้นประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารของผู้สูงอายุไทยจะลดลง อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุ 60-74 ปีที่อยู่ในชนบทร้อยละ 48 ยังคงมีคู่สบฟันหลังอย่างน้อย 4 คู่ ซึ่งสูงกว่าผู้สูงอายุในเขตเมืองและกรุงเทพมหานคร ที่มีเพียง ร้อยละ 37และ 38 ตามลำดับสถานการณ์ที่สะท้อนปัญหาที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุมากที่สุด คือ การปราศจากฟันแท้ทั้งปาก ซึ่งพบร้อยละ 7.2
ดังนั้นการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีการจัดทำโครงการมีแนวคิดการดำเนินงาน คือ การสร้างความตระหนักการดูแลช่องปากด้วยตนเองของผู้สูงอายุและฝึกทักษะการแปรงฟัน 222 (แปรงฟัน 2 เวลา แปรงนาน 2 นาที งดอาหารหลังแปรง 2 ชั่วโมง) จัดบริการตรวจส่งเสริมป้องกันและรักษาช่องปากเบื้องต้น ค้นหาผู้ที่จำเป็นต้องได้ฟันเทียมและส่งต่อถ้าจำเป็น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ทักษะ และดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้

 

2 2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับบริการตรวจ ส่งเสริมป้องกันและรักษาช่องปากเบื้องต้นโดยทันตภิบาล

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

1จัดทำทะเบียนผู้สูงอายุและรับสมัครผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการ 2จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการดูแลช่องปากและฟัน ฝึกการแปรงฟันกลุ่มผู้สูงอายุ
3ตรวจช่องปากและฟันโดยเจ้าหน้าที่ทันตภิบาล หากจำเป็นต้องขูดหินน้ำลายอุดหรือถอน จะนัดไปรับการดูแลเบื้องต้นที่ รพ.สต หรือ รพ และส่งต่อพบทันตแพทย์หากจำเป็น 4 นัดตรวจช่องปากและฟันทุก 6 เดือน 5 ประเมินความจำเป็นต้องใส่ฟันเทียมพร้อมถามความสมัครใจ นัดหมายและส่งต่อไปพบทันตแพทย์ ที่โรงพยาบาล 6 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งพลา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ผู้สูงอายุสามารถดูแลช่องปากและฟันของตนเองได้ 2 ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2561 11:24 น.