กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพจิตดี คนรุ่นใหม่ไม่บูลลี่(Bully) ใคร
รหัสโครงการ 68-L1473-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะบ้า
วันที่อนุมัติ 26 พฤศจิกายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 14,840.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเสกสรรค์ เพ็งรัศมี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.49,99.714place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บูลลี่ คือ พฤติกรรมรุนแรง กลั่นแกล้ง รังแกผู้อื่นทั้งทางวาจาและร่างกาย หากเกิดในชีวิตจริงมักเป็นการล้อเลียนรูปร่างหน้าตา สถานะทางสังคม รวมถึงการทำร้ายร่างกาย ส่วนโลกออนไลน์ส่วนใหญ่เกิดจากการประจานกันทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งหลายครั้งการบูลลี่สร้างผลกระทบทางด้านความรู้สึกมากมายจนอาจเกิดเป็นแผลทางใจฝังลึกจนยากเยียวยา หรืออาจลุกลามไปจนเกิดการปะทะและสร้างบาดแผลทางกายได้
กรมสุขภาพจิต (2563) ที่พบว่า การใช้ความรุนแรง การกลั่นแกล้งหรือการบูลลี่ในประเทศไทยติด อันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหมายความว่า การบูลลี่ในไทย มีระดับความถี่ที่รุนแรง นอกจากนี้ยังพบว่า อายุเด็กที่ถูกบูลลี่จะน้อยลงไปเรื่อย ๆ จากงานวิจัยยังพบอีกว่า เด็กที่รังแกคนอื่น มีพื้นฐานการเลี้ยงดูเชิงลบ รวมถึงพันธุกรรมทางสมอง จนนำไปสู่การรังแก กลั่นแกล้งคนอื่นในวัยที่โตขึ้น ซึ่งพฤติกรรมนี้จะเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นความเคยชิน ส่วนเด็กที่ถูกบูลลี่จะมีอาการซึมเศร้า ไม่อยากไปโรงเรียน ในบางราย อาจถึงขั้น “คิดสั้น” จากผลการวิจัยการถูกกลั่นแกล้งกับภาวะซึมเศร้าในนักเรียนไทยมุสลิม มัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า มีภาวะซึมเศร้าในนักเรียนถึงร้อยละ 21.1 (อัฐสิมา มาศโอสถและคณะ, 2562) การถูกกลั่นแกล้งส่งผลต่อความรู้สึกโดดเดี่ยว มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการนอนหลับ การรับประทานอาหาร และการสูญเสียความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดลง และมีแนวโน้มที่จะออกจากโรงเรียนกลางคันมากขึ้น ภาวะซึมเศร้านี้อาจส่งผลไปถึงวัยผู้ใหญ่ จะมีพฤติกรรมที่มีความระแวดระวังตัว อ่อนไหวง่าย เงียบไม่พูด แยกตัวออกจากสังคม มีความวิตก กังวล สูญเสียความมั่นใจ ไปจนถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย เพราะทนความกดดันของการถูกรังแกไม่ไหว บางรายมีการฆ่าตัวตายสำเร็จ จนอาจกระทำความรุนแรงต่อตนเองและผู้อื่น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 4.1 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางใจแก่นักเรียนและลดการเกิดปัญหาสุขภาพจิต 4.2 เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้อันตรายที่เกิดจากการบูลลี่ (Bully) 4.3 เพื่อให้นักเรียนรู้แนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดจากการบูลลี่ (Bully)

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

5.1 จัดทำโครงการฯ เพื่อเสนอพิจารณาอนุมัติ 5.2 วางแผนการดำเนินงาน ประสารหน่วยงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5.3 ดำเนินกิจกรรมโครงการ จัดอบรมให้ความรู้เรื่อง ดังนี้
5.3.1 นิยามและประเภทของการบูลลี่ 5.3.2 ผลกระทบและวิธีการรับมือจากการถูกบูลลี่ 5.3.3 วิธีการรับมือเมื่อถูกบูลลี่และสาธิตย้อนกลับ 5.3.4 ตัวอย่างการจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนเข้าใจถึงความแตกต่าง 5.3.5 กิจกรรมกลุ่ม ให้นักเรียน แสดงเหตุการณ์ การบลูลี่ที่เกิดขึ้น และการแก้ปัญหาที่ถูกต้องแก่นักเรียน
4.4 สรุปผลการดำเนินโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

10.1 นักเรียนที่เข้าร่วมอบรมมีความเข้มแข็งทางใจและมีสุขภาพจิตที่ดี 10.2 นักเรียนที่เข้าร่วมอบรม มีแนวคิดและพฤติกรรมที่ดีไม่บูลลี่ (Bully) คนอื่นและกล้าที่จะตอบโต้ไปในทางที่ดีเมื่อเป็นฝ่ายถูกกระทำ 10.3 นักเรียนที่เข้าร่วมอบรม มีความรู้และแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดจากการบูลลี่ (Bully)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2567 15:16 น.