โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน Plus สู่ 2500 วัน
ชื่อโครงการ | โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน Plus สู่ 2500 วัน |
รหัสโครงการ | 68-L1473-01-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะบ้า |
วันที่อนุมัติ | 26 พฤศจิกายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 28,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายเสกสรรค์ เพ็งรัศมี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.49,99.714place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 329 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 35 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
“1,000 วันแรกของชีวิต” ถือเป็นต้นน้ำของการสร้างรากฐานการมีภาวะสุขภาพที่ดีตลอดช่วงชีวิตโดยเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนถึงอายุ 2 ปี ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสทองของการสร้างทุนมนุษย์ที่สำคัญและคุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาสูงสุด ทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงเซลล์สมองกับโครงข่ายเส้นใยประสาท ทำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้จดจำและมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายอย่างรวดเร็ว ส่วนสูงของเด็กที่อายุ 2 - 3 ปี ถือเป็น Proxy indicator ของสุขภาพผู้ใหญ่และเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญ ดังนั้น เพื่อเป็นเป็นการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะบ้า จึงดำเนินการขับเคลื่อนการดำเนินการส่งเสริมและสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัย ต่อเนื่องจนถึงเด็กอายุ 5 ปี โดยการขับเคลื่อน “ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน” ภายใต้โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน ซึ่งเป็นกลไกที่มุ่งหวังให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ พัฒนาการสมวัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมส่งต่อทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 4.1 เพื่อยกระดับบริการส่งเสริมสุขภาพตามเกณฑ์ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน 4.2 เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวัง และการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี 4.3 เพื่อส่งเสริมการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ 4.4 เพื่อสร้างความตระหนักให้พ่อ/แม่/ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยเห็นความสำคัญการกิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขอนามัยที่ดี 4.5 เพื่อสำรวจสถานการณ์ด้านโภชนาการและการเจริญเติบโตของเด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
5.1 จัดทำโครงการฯ เพื่อเสนอพิจารณาอนุมัติ
5.2 วางแผนการดำเนินงาน ประสารหน่วยงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5.3 ดำเนินกิจกรรมโครงการ ดังนี้
5.3.1 กิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้เรื่องการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ “ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย” ในคลินิก ANC รายใหม่ทุกวันจันทร์และรายเก่าทุกวันพุธของสัปดาห์
5.3.2 กิจกรรมสัปดาห์โรงเรียนพ่อแม่ ในอายุครรภ์ไตรมาสที่ 2.
5.3.3 กิจกรรมตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก ทุกวันศุกร์ของสัปดาห์
5.3.4 ติดตามเยี่ยมหญิงหลังคลอด และบุตร ทุกวันพฤหัสบดีของสัปดาห์
5.3.5 บันทึกข้อมูลในระบบ HOSxE PCU ของ รพ.สต.
4.4 สรุปผลการดำเนินโครงการฯ
10.1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะบ้ามีระบบการบริการส่งเสริมสุขภาพตามเกณฑ์ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน
10.2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะบ้ามีการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี
10.3 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะบ้ามีระบบมีการส่งเสริมการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ
10.4 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะบ้ามีการสร้างความตระหนักให้พ่อ/แม่/ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยเห็นความสำคัญการกิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขอนามัยที่ดี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2567 15:42 น.