กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รหัสโครงการ 68-L1473-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสะบ้า
วันที่อนุมัติ 26 พฤศจิกายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 52,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเสกสรรค์ เพ็งรัศมี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.49,99.714place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 1974 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานานแล้ว โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี สถานการณ์โรคไข้เลือดออก (ข้อมูล 1 มกราคม – 14 ตุลาคม 2567) ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกสะสมรวม จำนวน 81,052 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 124.86 ต่อแสนประชาชน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 63 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.09 ต่อแสนประชากร อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.07 จังหวัดตรังมีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกสะสมรวม จำนวน 975 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 153.21 ต่อแสนประชาชน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต และอำเภอนาโยงมีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกสะสมรวม จำนวน 100 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 222.01 ต่อแสนประชาชน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตและจากสถานการณ์ของอำเภอนาโยงพบว่าผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (เพศหญิง 57 ราย เพศชาย 43 ราย อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชายเท่ากับ 1.34 : 1 ) กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 15 - 24 ปี ( จำนวน 23 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 51.42 ต่อแสนประชากร ) และพบผู้ป่วยสูงสุดในเดือนมิถุนายน และสิงหาคม 2567 ( จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 19 ราย) จำแนกรายหน่วยบริการ พบว่ามีอัตราป่วยสูงสุดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านมาบบอน คิดเป็นอัตราป่วย 305.59 ต่อแสนประชากร รองลงมา รพ.สต.นาข้าวเสีย คิดเป็นอัตราป่วย 272.11 ต่อแสนประชากร และ รพ.สต.โคกสะบ้า คิดเป็นอัตราป่วย 241.94 ต่อแสนประชากร จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.โคกสะบ้า ที่รายงานทางระบาดวิทยา อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ข้างต้น ทาง รพ.สต.โคกสะบ้า จึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหา ได้จัดทำโครงการโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหากลุ่มป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน เสริมสร้างภาคีเครือข่ายด้านการป้องกัน เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชนและลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกที่สามารถป้องกันได้ในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 4.1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหากลุ่มป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน 4.2 เพื่อเสริมสร้างภาคีเครือข่ายด้านการป้องกัน และเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน 4.3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกที่สามารถป้องกันได้ในชุมชน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

5.1 จัดทำโครงการฯ เพื่อเสนอพิจารณาอนุมัติ 5.2 วางแผนการดำเนินงาน ประสารหน่วยงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5.3 ดำเนินกิจกรรมโครงการ ดังนี้
5.3.1 กิจกรรมสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 5.3.2 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและใส่ทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำยุงลาย 5.3.3 ประเมินสถานการณ์เสี่ยง 4.4 สรุปผลการดำเนินโครงการฯ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2567 15:56 น.