โครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้พิการและผู้ดูแลผู้พิการ ตำบลกายูคละ
ชื่อโครงการ | โครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้พิการและผู้ดูแลผู้พิการ ตำบลกายูคละ |
รหัสโครงการ | 2568-L2518-2-10 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละ |
วันที่อนุมัติ | 19 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 22,820.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวฟัสลินดา เจ๊ะดาโอ๊ะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | 100.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพนั้นจำเป็นต้องมีการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชากรทุกเพศทุกวัยมิใช่มุ่งแต่เฉพาะวัยเด็กและวัยรุ่นเท่านั้นควรมีการพัฒนาวัยผู้สูงอายุและกลุ่มคนพิการด้วย และปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเหล่านี้ คือผู้ดูแลต้องมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกัน ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 มาตรา 4 ได้ให้ความหมายของ “คนพิการ” หมายความว่า เป็นคนที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางร่างกาย ทางสติปัญญาหรือทางจิตใจตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้พิการในที่นี้รวมทั้งผู้พิการที่เกิดจากโรคเรื้อรัง(หลอดเลือดสมอง) และการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการหมายความว่าการเสริมสร้างสมรรถภาพ หรือการเสริมสร้างความสามารถของคนพิการให้มีสภาพที่ดีขึ้น “ผู้สูงอายุ”หมายความว่าบุคคลซึ่งอายุเกินกว่าหกสิบปีบบริบูรณ์ขึ้นไป“ผู้สูงอายุติดบ้าน” หมายความว่า ผู้สูงอายุที่ดูแลตนเองได้บ้าง ช่วยเหลือตนเองได้บ้างในกิจวัตรประจำวัน “ผู้สูงอายุติดเตียง” หมายความว่า ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้เลย มีความพิการที่ต้องการคนช่วยดูแล ผู้ที่อยู่ในระยะจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ หมายความว่า บุคคลที่ยังไม่ถูกประเมินเป็นผู้พิการแต่มีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็นการได้ยินการเคลื่อนไหวการสื่อสารจิตใจอารมณ์ พฤติกรรมสติปัญญาการเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด จากภาวะสุขภาพอนามัย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูหรือช่วยเหลือให้มีสมรรถภาพด้านสุขภาพ เพื่อให้ข้อจำกัดดังกล่าวลดลง หรือหมดไป เนื่องด้วยในภาวะสังคมปัจจุบันนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งจากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอีกทั้งความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ที่สามารถควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อต่างๆ ทำให้อัตราการตายลดลงตลอดจนการวางแผนครอบครัวที่มีประสิทธิภาพสามารถลดอัตราการเกิดของประชากรสิ่งเหล่านี้มีส่วนในการเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุ และจากการเปลี่ยนของสังคมก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในครอบครัว พบว่าครอบครัวในสังคมปัจจุบันแยกมาเป็นครอบครัวเดี่ยวมากยิ่งขึ้น จึงทำให้กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มคนพิการไม่ได้รับการดูแลจากคนรอบข้างอย่างใกล้ชิด จากการสำรวจพบว่าประชาชนในเขตตำบลกายูคละ มีคนพิการทุกประเภท 206 คน คิดเป็นร้อยละ 2.45 ของประชาชนทั้งหมด มีผู้สูงอายุทั้งหมด 935 คน คิดเป็นร้อยละ 11.13 ของประชากรทั้งหมด 8,397 คน ทั้งนี้ กองสวัสดิการสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลกายูคละ ได้เล็งเห็นปัญหาที่ไม่มีผู้ดูแลและประสิทธิภาพของผู้ดูแล การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพร่างกาย และจิตใจกับคนในกลุ่มผู้พิการ และผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้ผู้พิการและผู้ดูแลคนพิการตำบลกายูคละ ประจำปี 2568 เพื่อเปิดโอกาส ให้ผู้ดูแลผู้พิการและผู้สูงอายุติด้านติดเตียง และผู้พิการ ได้พัฒนาศักยภาพของตนเองในการดูแลคนกลุ่มนี้ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้พิการและผู้ดูแลมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพ การฟื้นฟูสมรรถภาพที่ถูกต้องเหมาะสม ร้อยละ 90 ของผู้พิการและผู้ดูแลผู้พิการที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพ การฟื้นฟูสมรรถภาพที่ถูกต้องเหมาะสม |
60.00 | 60.00 |
2 | เพื่อฝึกทักษะการทำกายภาพบำบัดเบื้องต้น การปฐมพยาบาล และการสันทนาการ แก่ผู้พิการและผู้ดูแล ผู้ดูแลคนพิการมีทักษะในการดูแลผู้ป่วยที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้จากที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงกลับมาเป็นผู้ป่วยติดบ้านแทน |
60.00 | 60.00 |
3 | เพื่อให้ผู้พิการสามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างมีความสุข ผู้พิการสามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างมีความสุขมากขึ้น |
60.00 | 60.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 22,820.00 | 0 | 0.00 | |
26 ก.พ. 68 | อบรมให้ความรู้ | 0 | 19,800.00 | - | ||
26 ก.พ. 68 | ฝึกปฏิบัติ | 0 | 3,020.00 | - |
- ผู้พิการและผู้ดูแลผู้พิการมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพ การฟื้นฟูสมรรถภาพได้ถูกต้องเหมาะสม
- ผู้พิการและผู้ดูแลผู้พิการมีทักษะในการทำกายภาพบำบัดเบื้องต้น เบื้องต้น การปฐมพยาบาล และการสันทนาการ
- ผู้พิการสามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี อยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างมีความสุข
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2567 00:00 น.